
สถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ผู้ติดเชื้อ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงจากการเป็นผู้สัมผัสร่วมชุมชน สัมผัสร่วมกิจกรรม สัมผัสร่วมบ้าน และสัมผัสร่วมสถานที่ทำงาน ในขณะที่พื้นที่ อ.เมืองยะลา (ชุมชนตลาดเก่า) อ.บันนังสตา อ.ยะหา และ อ.รามัน ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ต้องจับตามองตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ 3 ก.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เผยว่า ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่เร่งดำเนินการให้พี่น้องประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคมคมที่ผ่านมา มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดจำนวนกว่า 200 คนต่อวัน และหลังจากที่ทางจังหวัดยะลา ได้มีการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ก็ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลง ซึ่งพบว่าที่ผ่านมานั้นเป็นการแพร่ระบาดในสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ)
ในส่วนของการคาดการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยอ้างอิงสถิติการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อจาก ศบค.กลาง ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา พบว่าในช่วงที่ผ่านมา มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย)

สำหรับโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ อีกทั้งยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป โควิดสายพันธุ์เดลต้ายังเป็นที่จับตามองต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งในพื้นที่ของ จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา เพิ่มมากขึ้นถึงจำนวน 300 รายต่อวัน หากพี่น้องประชาชนในพื้นที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครอบคลุมร้อยละ 70 ทางจังหวัดยะลา อาจจะต้องรองรับเตียงผู้ป่วยถึง 3,000 เตียง และจะมีช่วงยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดในเดือนตุลาคม แต่ถ้าพี่น้องประชาชนได้รับวัคซีน สร้างผู้คุ้มกันหมู่แล้วก็มียอดผู้ติดเชื้อที่ไม่น่ากังวล ทั้งนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันประมาณ 5 สัปดาห์
Discussion about this post