
วันที่ 5 กันยายน 2564 สวนลำไยบ้านกู่แดง หมู่ 7 ต.หนองแฝก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ นายประสิทธิ์ บุญสูง อายุ 64 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านกู่แดงซึ่งเป็นเจ้าของสวนลำไยกว่า 10 ไร่ เผยว่า ได้ปลูกลำไยกว่า 30 ปีแล้วสาเหตุที่ตัดต้นลำไยทิ้ง เนื่องจากฤดูกาลผลิตลำไย แต่ละปีขายได้ไม่คุ้มทุนตั้งแต่ค่าจ้างคนงาน ตัดแต่งกิ่ง ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าสารเร่ง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เฉลี่ยฤดูกาลผลิตละ 120,000-150,000 บาท โดยเฉพาะค่าแรงงานขึ้น และเก็บลำไย วันละ 500-700 บาท/คน ค่าแรงคนงานรูดร่วงหรือใส่ตะกร้า วันละ 250 -300 บาท/คน เมื่อนำไปขายราคา เกรด AA ก.ก.ละ 12 บาท เกรด A ก.ก.ละ 3 บาท เกรด B ก.ก. ละ 2 บาท ส่วนเกรด Cไม่รับซื้อ ล่าสุดนำลำไยไปขายได้ราคาเพียง 1,200 บาท หักค่าแรงงาน1,000 บาท เหลือเงินเข้าบ้าน 200 บาทเท่านั้น จึงตัดสินใจโค่นต้นลำไย
ทิ้งทั้งหมด เพื่อทำฟืนขายเป็นรายได้ทดแทน และลดต้นทุนการผลิตฤดูกาลหน้า
“ระหว่างโค่นลำไยดังกล่าว ทำให้ภรรยาของตนทำใจไม่ได้ ไม่ออกมาดูการตัดโค่นลำไยทิ้งเลย หลังตัดลำไยทิ้งหมดแล้ว ได้ปรับพื้นที่เพื่อปลูกไม้ยืน
ต้น อาทิ มะพร้าว มะนาว พืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ หรือพัฒนาเป็นเกษตรผสมผสานแทน เพื่อเป็นทางเลือก และเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง แต่
ชาวสวนบางรายได้ประกาศขายสวนลำไยให้นายทุนเพื่อสร้างบ้านจัดสรรขายหลังละ 1.7-2.0 ล้านบาท หรือแบ่งขายที่ดิน แปลงละ 50-100 ตารางวา รา
คา 4,500-6,000 บาท/ตารางวา ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง และการคมนาคมด้วย”นายประสิทธิ์ กล่าว

ด้านนางผ่องพรรณ กันทะวงศ์ สมาชิกเทศบาล (ส.ท.) ตำบลหนองแฝกกล่าวว่า วันนี้ทางหมู่บ้านได้เปิดให้เกษตรกรชาวสวนลำไยมาลงทะเบียน
กรอกข้อมูลลงในเอกสารสวนลำไยว่ามีพื้นที่กี่ไร่ มีลำไยกี่ต้น ขายได้เท่าไรเพื่อส่งไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) อ.สารภี เพื่อขอ
รัฐบาลช่วยเหลือ และเยียวยาเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ได้รับผลกระทบจากราคาตกต่ำในรอบ 30 ปีด้วย
/////////////////////////
Discussion about this post