วันที่ 23 พ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล กำลังได้รับความเดือดร้อนจาก โรคใบร่วง ชนิดใหม่ในยางพารา ใบของยางพาราจะเป็นกลมๆเล็กๆขาวๆ เต็มใบ เหมือนใบยางด่าง และร่วงลงมาจากต้น ทำให้ต้นยางพารา เหมือนจะพลัดใบ แต่!!ความจริงแล้วยังไม่ถึงฤดูการผลัดใบยาง แต่เป็นการติดเชื้อแพร่ระบาดโรคใบร่วง ชนิดใหม่ในยางพารา

ด้านนางสาวซอลีฮะ นุ้ยดำ อายุ 37 ปี มีสวนยางพารา 16 ไร่ กล่าวว่า ตอนนี้สวนยางพาราของตนเองกำลังได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ประสบปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ทำให้สวนตนเอง ซึ่งมียางพาราโดนโรคตั้งแต่ยางที่มีอายุ 4 ปี ยางอายุ 15 ปี และ ยางอายุ 25 ปี โดนโรคนี้ติดใบร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดิน ชาวบ้านเลยเรียกว่า โควิดในยาง
โดยเกิดจากเชื้อรา แพร่ระบาดโดยการฟุ้งกระจายในอากาศอาการของโรคปรากฏบนใบยางได้แก่ ลักษณะเป็นแผลกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางส่วนใหญ่มากกว่า 0.5 เซนติเมตร ช่วงเริ่มแรกบนผิวใบเป็นรอยสีเหลืองค่อนข้างกลม (chlorosis) และต่อมาเนื้อเยื่อรอยสีเหลืองจะตายแห้ง (necrosis) เป็นแผลกลมสีสนิมซีด อาจพบอาการจุดแผลต่อใบยางมากกว่า 1 แผล ต่อมาใบจะร่วง และน้ำยางพาราจะไม่ค่อยออก ส่งผลกระทบการทำมาหากินในขณะนี้

นายสมพล ศรีถกล ผู้อำนวยการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า แต่วันนี้พบว่าจังหวัดสตูล เองก็มีการแพร่ระบาดหนัก ตอนนี้ได้สำรวจแล้ว สวนยางพาราโดนโรคระบาดนี้กว่า 20,000 ไร่ (ในภาพรวมทั้งจังหวัด 7 อำเภอ ) เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันคือร้อนชื้นและฝนตกชุก อนึงเป็นไปได้ว่า เกิดโรคใบร่วงชนิดนี้เป็นเชื้อ Colletotrichum sp. จากนั้นต้นยางพาราเข้าสู่การผลัดใบตามฤดูกาล โรคจึงคลี่คลายไปกับใบที่ร่วงหล่น และมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้
ต้นยางพาราจะไม่ตาย แต่!!ทำให้ส่งผลกระทบด้านน้ำยางพาราไม่ค่อยออกผลผลิตเมื่อเกิดใบร่วงหล่น เมื่อออกใบใหม่ก็จะร่วงอีก ในส่วนของ กยท. ได้เร่งออกคำแนะนำ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เพื่อสร้างความเข้าใจและแนะแนวทางการป้องกันและกำจัดโรค การเก็บใบที่ร่วงทำลาย สาธิตและสนับสนุนปัจจัยในการป้องกันกำจัดโรคในพื้นที่ การบำรุงรักษาสวนยาง และการใช้ยาป้องกันกำจัดโรค เพื่อจัดหาอุปกรณ์และสารเคมีในการฉีด พ่นสาร เพื่อยับยั้งเชื้อโรค.
Discussion about this post