
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีต ผบ.ตร. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สนง.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และคณะได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์มาตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยมี นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง/ส.ส.นครพนมเขต 1 พรรคภูมิใจไทย นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนมเขต 3 พรรคเพื่อไทย พล.ต.สถาพร บุญชู ผู้บัญชา การมณฑลทหารบกที่ 210 พล.ต.ต.ธนชาติ รอดคลองตัน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม นางสาวศุภพานี โพธิ์สุ นายก อบจ. นครพนม นางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วย รมว.ยุติธรรม ตลอดจนข้าราชการ ประชาชน ให้การต้อนรับ ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ (ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต) ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นคร พนม เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์น้ำและแนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์น้ำช่วงฤดูแล้งปี 2564-65 และติดตามการขับเคลื่อนแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง พร้อมทั้งพบปะประชาในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อรับทราบข้อมูล ชีวิตความเป็นอยู่ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันให้เกิดประสิทธิผลและยั่งยืน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นเวทีหลังจาก นายชาธิป รุจนเสรี ผวจ.นครพนม กล่าวรายงานเบื้องต้นให้ทราบแล้ว โดยกล่าวว่าราว 60 ปีที่ผ่านมาตนเคยอยู่จังหวัดนครพนมมาก่อน ตั้งแต่สมัยยังมียศ ร.ต. เท่านั้น ในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่มีแต่ป่ารกครึ้มถนนหนทางไม่สะดวกเท่าไหร่ แต่จังหวัดนครพนมไม่น่าเป็นห่วงเรื่องภัยแล้งเพรา นอกจากจะมีแม่น้ำโขงเป็นสายหลักแล้ว ยังมีแม่น้ำอีกหลายสายเป็นลำน้ำสาขา ห่วงที่สุดคือปัญหาน้ำท่วมเพราะมักจะเกิดแทบทุกปี ทำให้มีพื้นที่การเกษตรเสียหายจำนวนมาก รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ ต้องหาแนวทางป้องกันให้สำเร็จจงได้ ก่อนจะทิ้งท้ายว่าพรรคพลังประชารัฐใจถึงพึ่งได้เสมอ
จากนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเดินลงจากเวทีกล่าวทักทายพี่น้องประชาชนและข้าราชการที่มาต้อนรับ เพื่อเดินทางไปกราบนมัสการองค์พระธาตุพนม ระหว่างที่จะเดินขึ้นรถยนต์ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นวันวาเลนไทน์วันแห่งความรักอยากจะบอกอะไรถึงคนไทยบ้าง พล.อ.ประวิตรตอบ “ขอให้คนไทยต้องรักกันไว้ ถ้ารักกันไว้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองแน่” ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ภาคอีสานในวันเดียวกันรวม 4 จังหวัด ได้แก่ 1.สกล นคร 2.นครพนม 3.กาฬสินธุ์ 4.ร้อยเอ็ด ตามลำดับ
อนึ่ง ในจังหวัดนครพนม มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 376,000 ไร่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800 มิลลิ เมตร/ปี ปริมาณน้ำท่าประมาณ 7,700 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี แต่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียง 195 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยลำน้ำก่ำเป็นลุ่มน้ำย่อยของกลุ่มน้ำโขง มีแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญ โดยมีจุดเริ่มต้นจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร ไหลลงแม่น้ำโขง ณ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นคร พนม รวมความยาวประมาณ 123 กิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 3,440 ตารางกิโลเมตร ซึ่งบริเวณสองฝั่งของลำน้ำก่ำส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีราษฎรตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตามเนินตลอดสองฝั่งลำน้ำ วิถีชีวิตของราษฎรต้องประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งสลับกันเป็นประจำทุกปี โดยในช่วงฤดูฝนน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูง พื้นที่เพาะปลูกก็จะถูกน้ำท่วม แต่ครั้นในช่วงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับต่ำ น้ำในลำน้ำก่ำก็จะไหลลงแม่น้ำโขงเกือบหมด ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตร
ต่อมาเมื่อความทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้กรม ชลประทานพิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม อย่างต่อเนื่องหลายครั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2535 เริ่มจากทรงร่างรูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำ ปรากฏเป็นภาพลายพระหัตถ์เรียกว่า “ตัวยึกยือ” ประกอบด้วย ส่วนหัวอันหมายถึงหนองหานซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ต้นกำเนิดของลำน้ำก่ำ

ส่วนกระดูกสันหลังหมายถึงลำน้ำก่ำ ข้อที่เป็นปล้องๆหมายถึง อาคารบังคับน้ำ ขอบลำตัวเปรียบเสมือนคลองระบายน้ำ ที่คาขนานไปกับลำน้ำก่ำ และส่วนหางคือแม่น้ำโขง แนวพระราชดำรินี้ จะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งให้แก่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำก่ำ ที่มีน้ำให้ใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัย ในฤดูน้ำหลากอีกด้วย
จากนั้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพิ่มเติม ให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินงานก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำ ในลำน้ำก่ำตอนล่างเพียงระดับต่ำ เพื่อให้เก็บกักน้ำในพื้นที่เพียงเล็กน้อยก่อน เนื่องจากขณะนั้นยังมีปัญหาที่ดินที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งราษฎรเรียกร้องค่าตอบแทนสูงมาก กระทั่งเมื่อสามารถเจรจาปัญหาที่ดินที่ถูกน้ำท่วมกับราษฎรได้ในราคาที่เหมาะสมแล้ว กรมชลประทานจึงได้พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ประเภทประตูระบายน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้ราษฎรทั้งสองฝั่งลำน้ำสูบน้ำจากลำน้ำก่ำตอนล่าง ไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพได้อย่างสมบูรณ์ ภายหลังการก่อ สร้างประตูระบายน้ำน้ำก่ำตอนล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้แล้วเสร็จ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำว่า ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต ซึ่งมีความหมายว่า ประตูระบายน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริสร้างขึ้น
ด้านการบริหารจัดการน้ำ กรมชลประ ทานได้จัดตั้งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่โครงการทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวพระราชดำริ และเป็นการเพิ่มศักยภาพพื้นที่ชลประทานตามเป้าหมายของกรมชลประทาน.
Discussion about this post