
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 นายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีเป็นประธานเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ณ ห้องประชุมนายทองแสงใหญ่ ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี โดยนางรัชนี วชิรภูชัย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี ร่วมกับทีม One Home จังหวัดสิงห์บุรี ได้แก่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดสิงห์บุรี และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสิงห์บุรี จัดทำ APPLICATION/LINE OFFICAL ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล เพื่อบริการและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึงรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ One Home จังหวัดสิงห์บุรี กับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น Admin เพื่อบริการพร้อมอำนวยความสะดวกในการขอรับความช่วยเหลือ และได้ประชุมทีม One Home จังหวัดสิงห์บุรี และจัดทำคู่มือศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลฉบับย่อ จัดทำ APPLICATION/LINE OFFICAL ศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับจังหวัด อำเภอ และตำบลทุกตำบล แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลประจำจังหวัด จัดอบรมเสริมทักษะบุคลากรให้กับทีมOne Homeจังหวัดสิงห์บุรี.ในการใช้ APPLICATION/LINE OFFICALผ่านการใช้สมาร์ทโฟน จัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมอบป้ายศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลจำนวน ๔๑ แห่งจัดอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการใช้APPLICATION/LINE OFFICALผ่านการใช้สมาร์ทโฟน พร้อมมอบป้ายศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล

ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี จึงจัดพิธีเปิดป้ายศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยพร้อมเพรียงกันจำนวน ๔๑ แห่งผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อเป็นแนวทางที่มุ่งพัฒนาคนทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกช่วงวัย โดยการเชื่อมโยงทรัพยากรภายในและภาย นอกชุมชน รวมถึงการบูรณาการการช่วยเหลือรูปแบบที่หลากหลายเข้าด้วยกันในลักษณะ (One Stop Service)เพื่อลดความซ้ำซ้อน และมีความทันสมัยสะดวกรวดเร็ว ประชาชนเข้าถึงง่าย เพื่อให้การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลทุกแห่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนานำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการบริการคนทุกช่วงวัยในระดับตำบลให้สามารถพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและเกิดการพัฒนาคุณ ภาพชีวิตที่ยั่งยืน สร้างภาพลักษณ์ใหม่ในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อน และสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เพื่อเชื่อมประสานกับส่วนราชการอื่นๆทั้งด้านรายได้ความเป็นอยู่การศึกษาสุขภาพและการเข้าถึงบริการภาครัฐโดยมีหน่วยงานเชื่อมประสานบูรณาการเชื่อมร้อยการทำงานร่วมกัน เช่น สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนัก งานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทีมพม. จังหวัด (One Home) เป็นต้น.
Discussion about this post