
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ห้องประชุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเครือข่ายดำเนินงานลดการบริโภคเกลือและโซเดียมจังหวัดนครพนม ของ 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม สำนักงานสาธารณ สุขจังหวัดนครพนม โรงพยาบาลนคร พนม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม สำนักงานแรงงานจังหวัดนครพนม เทศบาลเมืองนครพนม สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครพนม สำนักงานประชา สัมพันธ์จังหวัดนครพนม และสำนัก งานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครพนม ที่จะบูรณาการร่วมกับเขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี เพื่อร่วมกันสร้างความเข้าใจ กระตุ้นเตือนและปลูกจิตสำนึกในการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย และร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครพนม ซึ่งจากการสำรวจในปี 2563 พบว่ามีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารเค็มสูงเกินความต้อง การถึงร้อยละ 56 ของประชากรทั้งหมด และสูงที่สุดในเขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี ส่งผลให้ปัจจุบันจังหวัดนครพนมมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสูงถึง 9,057 ราย เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้อง จำนวน 896 ราย และรอการผ่าตัดปลูกถ่ายไตอีก จำนวน 9 ราย ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็น 1 ใน 5 ของจังหวัดนำร่องการลดเกลือ โซเดียมของทั่วประเทศที่กรมควบคุมโรค โดยกองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขกำลังขับเคลื่อนอยู่ ซึ่งจะเริ่มจากการลงพื้นที่ทั้งจังหวัดเพื่อสุ่มเก็บข้อมูลจากการตรวจโซเดียมในปัสสาวะจากประชาชนที่สมัครใจแบบ 24 ชั่วโมง จำนวน 420 ตัวอย่าง และเก็บข้อมูลโซเดียมในอาหารจากสถานที่ต่าง ๆ ที่ให้บริการนักเรียน นักศึกษาและประชาชน อีกจำนวน 5,000 ตัวอย่าง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อหาสถานที่ที่มีความเสี่ยงมากสุด น้อยสุดเพื่อจัดลำดับ ก่อนที่จะมีการลงพื้นที่ถ่าย ทอดความรู้ กระตุ้นเตือนและปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนได้เข้าใจจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้ทุกคนมีสุขภาพร่างก่ายที่แข็งแรง ไม่เสี่ยงกับการป่วยเป็นโรคที่เกิดจาการกินเค็ม ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ที่ปัจจุบันคนไทยมากกว่า 20,000 คนต้องเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้ต่อปี และอีก 22 ล้านคนต้องป่วยจากพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ปฏิบัติอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ว่าความเป็นจริงแล้วร่างกายคนเราต้องการโซเดียมในแต่ละวันเพียง 2,000 มิลลิกรัม หรือเกลือแกงไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และอาหารยอดนิยมที่บริโภคในชีวิตประจำวันมีความเค็มสูง แต่ทุกคนก็ยังมีการปรุงอาหารเพิ่มเติมรสชาติเข้าไปอีก จึงทำให้มีปริมาณโซเดียมหรือเกลือเกินความจำเป็น เช่น ราดหน้าที่มีโซเดียมสูงถึง 1,815 มิลลิ กรัม ส้มตำปูปลาร้ามีโซเดียมสูง 1,800 มิลลิกรัม ก๋วยเตี๋ยวมีโซเดียมสูง 1,500 มิลลิกรัม ขณะที่ขนมจีนน้ำยามีโซเดียมสูง 1,700 มิลลิกรัม ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาหารต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความเค็มอยู่แล้ว.
Discussion about this post