
วันที่ 24 มี.ค.65 นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วย นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟ ฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำพิธียกเสาเอกอาคารศูนย์การเรียนรู้โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ( กฟผ.แม่ ฮ่องสอน) บ้านผาบ่อง ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ตามแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โครงการสมาร์ทกริด จังหวัดแม่ฮ่อง สอน นอกจากจะช่วยเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ยังเป็นต้นแบบของการนำเอาสมองกลที่ชาญฉลาด มาช่วยในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าทั้งในภาคการผลิตและการใช้ไฟฟ้า พร้อมทั้งยังสนับสนุนการก้าวไปสู่นโยบาย EGAT Carbon Neutrality ที่ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน นำเทคโน โลยีที่ทันสมัยและพลังงานทางเลือกที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า โครงการสมาร์ทกริด เป็นโครงการที่จัดสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาไฟตกไฟดับของ จ.แม่ฮ่องสอน ที่มุ่งหวังแก้ปัญหาด้านไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอนให้ทันสมัย เป็นแหล่งเรียนรู้พลังงานของเยาวชนและประช าชนด้านการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทย
กฟผ. เตรียมพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่แม่ฮ่องสอน โดยดำ เนินการตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประ เทศไทย ซึ่งแบ่งยุทธศาสตร์การดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและระบบกักเก็บพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart Energy) 2. ยุทธศาสตร์การจัดการพลังงานโครงข่ายอย่างชาญฉลาด (Smart System) 3. ยุทธศาสตร์การตระหนักรู้และใช้พลังงานอย่าง ชาญฉลาด (Smart City) 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Smart Learning) เป็นการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวต่อไปว่า พลังงานโครงข่ายอย่างชาญฉลาด หรือที่เรียกว่า “SMART SYSTEM” เป็นระบบการควบคุมสั่งการโครงข่ายไฟฟ้าที่จะช่วยเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้ระบบคอมพิว เตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าควบคุมระบบบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้า และเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าขนาด 115 kV. ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และโรงไฟฟ้าในจังหวัดแม่ ฮ่องสอนทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่สะงา เขื่อนผาบ่อง โรงไฟฟ้าดีเซลผาบ่อง และโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แม่ฮ่องสอน เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงการเชื่อมต่อกับโซล่าร์ฟาร์ม (Solar Farm) และระบบเก็บกักพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาโครงการสมาร์ทกริดเพิ่มเข้าไปอีกด้วย
กรณีที่สายส่งไฟฟ้า 115 kV. ของ กฟภ. เกิดมีปัญหา ระบบ “SMART SYSTEM” สามารถสั่งการโรงไฟฟ้าเดิมทั้ง 4 แห่งของเมืองแม่ฮ่องสอน และ โซล่าร์ฟาร์มแห่งใหม่ให้ทำงานพร้อมกันได้ทันที แต่ในความเป็นจริงแล้ว โซล่าร์ฟาร์มที่มาพร้อมกับระบบเก็บกักพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ จะสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทันที ขณะที่โรงไฟฟ้า ที่เหลือต้องใช้เวลาสักระยะ จึงจะจ่ายไฟฟ้าเข้ารระบบได้ ดังนั้น ปริมาณกำลังไฟฟ้าจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองแม่ฮ่องสอนได้ ระบบสมาร์ทกริดจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาไฟตกไฟดับให้แก่โรงพยาบาล และสถานที่สำคัญทางราชการเป็นลำดับแรก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรงพยาบาล ลดความเสียหายจากไฟตกไฟดับและการให้บริการประชาชนยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้.
Discussion about this post