
วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ณ จุดชมวิว กลอเซโล หมู่ 6 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กนักเรียนบ้านบุญเหลอ บ้านกลอเซโล และ ราษฏรในพื้นที่ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้าแฝกบน 7 ม่อนดอยสถานกที่ท่องเที่ยวชมทะเลยหมอก ขุนเขากลอเซโล ภายหลังจากที่ทาง โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ(สวพส.) และ อบต. แม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่อง สอน จัดกิจกรรมโครงการปลูกป้าต้นน้ำและหญ้าแฝกในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ผืนป่า ฟื้นฟูระบบนิเวศให้กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ สร้างแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ให้มีความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาดังเดิม ได้รับเกียรติจาก นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดินทางมาเป็นประธานในพิธี พร้อม ดร.เมธี พยอมยงค์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สวพส. นายบุญมั่น ฉัตรเท ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ ดินแม่ฮ่องสอน นายคีตวุฒิ นับแสง สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดร.ศิริพงส์ หังสพฤกษ์ ที่ปรึกษาด้านการวางแผนและพัฒนาการเกษตร สวพส. ดร.เมธี พยอมยงค์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สวพส. โดย นายธนดล สถาวรเวทย์ ปลัดอำเภอสบเมย นำข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น เกษตรกร ชุมชน โรง เรียน ร่วมกิจกรรม พร้อม ปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด จำนวน 5,000 ต้น และ ปลูกหญ้าแฝก จำนวน 100,000 กล้า ณ บริเวณแปลงปรับระบบบ้านกลอเซโล และ จุดชมวิวกลอเซโล ทั้งหมด 7 หม่อน

“บ้านกลอเซโล” ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่อง สอน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ ประชากรที่นี่ประกอบด้วยชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตร หมู่บ้านกลอเซโล โด่งดังในโซเชียลกับบรรยา
กาศจุดชมวิว “กลอเซโลทะเลหมอกสองแผ่นดิน” ที่ตั้งอยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านไปประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นยอดเขาที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม หมู่บ้านโอบล้อมด้วยขุนเขาและทะเลหมอก วันนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สายลุยหมอก วิว 360 องศา มีจุดกางเต็นท์บนหม่อนดอยกลอเซโล ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ แต่ชาวบ้านได้สร้างน้องน้ำไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว นอกจากจะเป็นหมู่บ้านที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามจนมีนักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นจำนวนมากแล้ว หมู่บ้านกลอเซโลยังเป็นหนึ่งในชุมชนบนพื้นที่สูงที่อยู่ในพื้นที่ดูแลของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ มีวีถีชีวิต การทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการถ่ายทอดของเจ้าหน้าที่นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงมาปรับใช้ในพื้นที่สูงให้เข้ากับบริบทของชุมชนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าการสร้างงานสร้างรายได้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การปรับสมดุลชีวิตประชาชนให้เข้ากับป่าในการดำรงชีพ มุ่งเน้นความมั่นคงและยั่งยืนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับราษฏรบนพื้นที่สูง.
Discussion about this post