
วันที่ 5 กันยายน 2565 ที่บ้านหนองหอยเก่า หมู่ 7 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรม่อนแจ่ม กว่า 500 คน นำโดยนายเอกรินทร์ นทีไพรวัลย์ แกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้รวมตัวชุมนุม เพื่อคัดค้านกรมป่าไม้รื้อถอนรีสอร์ต และสิ่งปลูกสร้าง โดยเคลื่อนขบวนเดินเท้าออกตากบ้านหนองหอยเก่า ไปยังโครงการหลวงหนองหอย ระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร พร้อมชูป้ายคัดค้าน และขอให้ชะลอการรื้อถอนรีสอร์ท 5แห่ง จากรีสอร์ทที่ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกแผ้วถางและซื้อขายเปลี่ยนมือ (นอมินี) 36 ราย ตามพระราชบัญญัติ (พรบ.) ป่าไม้ ม. 25 (23) ก่อนนายเอกรินทร์ ปราศัยกับผู้ชุมนุม โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง
ต่อมาเวลา 09.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ขึ้นรถกระบะ
กว่า 50 คัน เคลื่อนออกจากโครงการหลวงหนอง
หอย มุ่งหน้าสู่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะ
ทางกว่า 30 กิโลเมตร เพื่อไปติดตามเรื่องดังกล่าว
ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ก่อนยื่นหนังสือทวงถามกับ
นายประจญ ปรัชญสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่แต่มีนายประสงค์ หล้าอ่อน ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ รับเรื่องดังกล่าวแทน โดยระบุว่า จะนำเสนอนายประจญพิจารณา ก่อนส่งเรื่องดังกล่าวไปให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาสั่งการตามขั้นตอนกฎหมาย
กระทั่งเวลา 12.30 น. นายเอกรินทร์ พร้อมนาย
วิทยา เมธาอนันต์กุล ประธานวิสาหกิจชุมชนท่อง
เที่ยวการเกษตรม่อนแจ่ม ได้อ่านแถลงการณ์ พร้อม
เรียกร้องให้กรมป่าไม้ จัดทำแผนแม่บทการพัฒนา
ม่อนแจ่มแบบมีส่วนร่วม พิสูจน์สิทธิการครอบครอง
ที่ทำกิน และทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ
มิถุนายน 2542 โดยชะลอการรื้อถอนและจับกุมผู้
ครอบครองที่ดินบนม่อนแจ่ม จนกว่ามีการพิสูจน์
สิทธิดังกล่าว

นายเอกรินทร์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด
เชียงใหม่ ในฐานะประธานแก้ปัญหาบุกรุกม่อนแจ่มลงวันที่ 31 สิงหาคม หรือ 5 วันที่ผ่านมา ขอให้ชะลอรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดๆ ในเขตป่าสงวน
แห่งชาติป่าแม่ริม เพื่อป้องกันละเมิดสิทธิมนุษยชนและความขัดแย้ง ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
กรณีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวหาชาวบ้านว่า บุกรุกทำลายป่า เปลี่ยนมือซื้อขายที่ดินให้นายทุน หรือนอมินีนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะชาวบ้านอยู่และทำกินมาก่อนมติ ครม.ปี 2541 ซึ่งชุมชนได้ตั้งรกรากมากว่า 100 ปีแล้ว สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา บิดานายวราวุธ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเกิดปัญหาดังกล่าว จนกระทั่งนายวราวุธ เป็นรัฐมนตรี ก็มีปัญหาและสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านตลอด ดังนั้นอยากให้นายวราวุธ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพูดดุยกับชาวบ้าน ไม่ใช่ฟังรายงานจากเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบเท่านั้น อยากให้ตั้งโต๊ะเจรจา เพื่อหาทางออกอย่างสันติวิธี ไม่นำไปสู่ความรุนแรงใดๆ
นายเอกรินทร์ กล่าวอีกว่า ช่วงเย็น จะนำตัวแทนผู้ชุมนุม 50 คน เดินทางไปนังพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ เพื่อถวายฏีกาเรื่องดังกล่าว ในวันที่ 6
กันยายนนี้ด้วย
///////////
Discussion about this post