
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ที่ ศาลาเอนกประสงค์ วัดนทีคมเขต ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ ธานี บริษัทที่ปรึกษาฯ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อผลการศึกษาและร่างมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือบริษัท เพียว ไบรท์ จำกัด โดยพื้นที่ศึกษารัศมี 5 กม. จากพื้นที่ตั้งท่าเทียบเรือ ครอบคลุมในพื้นที่ 2 อำเภอ 11 ตำบล 11 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของ อ.เมือง และ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยการประชุมครั้งที่ 2 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนผู้มีส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับทราบรายละเอียดโครงการที่เปิดดำเนินการมาแล้ว และรับทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งขอบเขตการศึกษา อีกทั้งยังเป็นการเปิดรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชา ชนผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อโครงการ โดยมี นายเกรียงศักดิ์ มากมี ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาเป็นประธาน
นายสุเทพ นพรัตน์ ผู้จัดการท่าเรือฯ กล่าวรายงาน โครงการท่าเทียบเรือ บริษัท เพียว ไบรท์ จำกัด เป็นท่าเทียบเรือก่อสร้างใหม่เพื่อขนถ่ายสินค้าประเภทแร่ยิปซั่มผ่านเรือบรรทุกสินค้าที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 500 ตันกรอส ดังนั้นโครงการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องทำศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อนำมาประกอบขออนุ ญาตกระทำสิ่งล่วงล้ำลำแม่น้ำต่อกรมเจ้าท่า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสาระสำคัญ ความเป็นมา รายละเอียดโครงการ และขอบเขตแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครง การ ให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการรับรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อกังวลใจ และข้อเสนอแนะทีมีต่อโครงการ เพื่อรวบรวมแนวคิด ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโครงการที่เหมาะสม มีแนวทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป
ทั้งนี้ ทางกรมเจ้าท่าได้ออก”ระ เบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์หรือประเภทการใช้ท่าเทียบเรือ ขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอสได้ พ.ศ.2563” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเภทการใช้ท่าเทียบเรือที่ต้องการเปลี่ยน แปลงวัตถุประสงค์หรือประเภทการใช้ท่าเทียบเรือได้รับอนุญาตแล้วและไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมจากใบอนุญาตเดิมได้ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประ เมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นได้สอด คล้องกับ “ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อน ไขในการจำทำรายงานการประ เมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ” ซึ่งกำหนดให้โครง การประเภทท่าเทียบเรือที่รองรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากเหตุผลข้างต้น ส่งผลให้ท่าเทียบเรือหลายแห่งในจังหวัดสุราษฎร์ ธานี ที่เปิดดำเนินการมาแล้ว จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว จึงได้หมายให้บริษัท สิ่งแวดล้อมสยาม จำกัด ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA).
////รัตติยา พูลศิริ/สุราษฎร์ฯ////
Discussion about this post