
ตามที่ภาคีเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจัง หวัดสตูลได้กำหนดจัดงานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูลครั้งที่ 3 ฐานสมรรถนะเท่ากับฐานชีวิต ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล เพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมในจัดการศึกษาสร้างการรับรู้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลในปีที่ผ่านมาร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลพร้อมทั้งเยี่ยมชมนวัตกรรมการศึกษาคนสตูลและนิทรรศการการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาจังหวัดสตูล
นายสมพงศ์ พละไชย ศึกษาธิ การจังหวัดสตูล กล่าวว่า การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในภาพรวมมีการบูรณาการกันตั้งแต่ปี 2561 ก่อนที่จะมีพรบ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในปี 2562 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทางคณะกรรมการขับเคลื่อนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีท่านเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา และขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดกระบวนการแนว คิดแนวทางด้านนวัตกรรมการศึกษา ถ้าในเรื่องของการบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านโครงงานฐานวิจัย ครูสามเส้า ผลลัพธ์ที่ได้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน เยาวชนกล้าคิดกล้าแสดงออกเห็นได้จากนักเรียนที่จบออกไปแต่ละรุ่น สามารถเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย มีงานทำ เป็นครูบาอาจารย์ กลับมาสอนในพื้นที่จังหวัดสตูล ฉะนั้นสิ่งที่ขับเคลื่อนมาน่าจะสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วมและโอกาสสังคมภายนอกได้รับทราบว่าเป็นแนวทางของการปฏิรูปการศึกษามุ่งเน้นกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษา ให้กับจังหวัดในการขับเคลื่อน จนเป็นที่มาของงานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 3 อยากจะให้เยาวชนพ่อแม่พี่น้องและคุณครูได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำและร่วมเสวนา

นายยงยุทธ ยืนยง ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสตูล กล่าวว่าในวันงานที่ 22 กันยายน 2565 ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลกล่าวต้อนรับ พร้อมประธานพิธีเปิด ดร.ชูศรี วรเดช ศึกษาธิ การภาค 6 กล่าวรายงานโดยศึกษาธิการจังหวัดสตูล พร้อมกับฟังบรรยายพิเศษในหัวข้อทิศทางพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาปัจจุบันอนาคตโดยดร.พิทักษ์ โสตถยาคม ผู้อำนวยการสำนัก งานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพฐ.ฟังการนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดสตูลการแสดงของนักเรียนโรง เรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กิจกรรมห้องย่อยเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 ห้องย่อยได้แก่ 1.ห้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ระดับปฐมวัย 2.ห้องการจัดการเรียนรู้สาระพื้นฐาน(ภาษาไทย, คณิต,วิทย์,อังกฤษ,ภาษาจีน) 3.ห้องจัดการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย4.ห้องจัดการเรียนรู้กิจกรรมเพิ่มเติม 5.ห้องพ่อแม่แกนนำ ชุม ชน กรรมการสถานศึกษา 6.ห้องการวัดแลประเมินผลบนฐานสมรรถนะ และ 7.ห้องการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล พร้อมการแสดงของนักเรียนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในวันศุกร์ที่ 23 กันยายนมีการนำเสนอคุณค่าความหมายโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากแต่ละห้องย่อย และเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติจริงกับฐานสมรรถนะ การประกาศยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลปี 2565 ถึง 2568
นายสมพงศ์ หลีเคราะห์ นายกสมาคมวัฒนพลเมือง กล่าวว่า สตูลได้เริ่มต้นจากการมีโครงงานฐานวิจัยนอกหลักสูตร ถูกหยิบไปใช้ในโรงเรียนเป็นวิชาเพิ่มเติม ความสามารถเริ่มออกแบบได้มากขึ้นและเข้าไปอยู่ในหลักสูตรเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าเด็กที่อยู่ในโรง เรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จะมีสมรรถนะแม้จะไม่ใช่ตามหลักวิชาการแต่เป็นสิ่งที่อยู่ในตัวของเด็ก หมายความว่าการหาความรู้ด้วยตนเอง การซักถามการเป็นนักค้นหา สามารถหยิบประเด็นมาขยายความและตีประเด็นได้ มีสมรรถนะของการเป็นคนทำงานมากขึ้น จะเห็นได้ว่าในวิธีการศึกษาที่ผ่านมาหลักสูตรมาตรฐานจะสอนเพียงแค่ความรู้ เด็กก็ไปสอบความรู้แต่เมื่อนอกเหนือความรู้เด็กจะไปไม่ถูก แต่เด็กเหล่านี้ถูกพบว่าแค่มีการตั้งคำถามและไปหาข้อมูล เขาสามารถที่จะรู้ได้ว่าแหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน จะจัดการอย่างไรโดยทางโรงเรียนได้สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ พวกเขาได้เติบโตเป็นคนมีคุณภาพ
เห็นว่าโลกสมัยใหม่ไม่ได้ต้องการคนที่จำความรู้ได้อย่างเดียว แต่โลกสมัยใหม่ต้องการคนที่ทำงานเป็น อยู่กับสังคมได้ เด็กสตูลจะต้องมีสมรรถนะที่หลายๆด้าน ไม่ใช่แค่ความรู้ บางส่วนมันเกิดพลวัตความรู้ในปีนี้อีก 10 ปีข้างหน้ามันอาจไม่ใช่เพราะมีความรู้ใหม่เข้ามาแทนที่ ฉะนั้นเห็นได้ว่าพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสตูลจึงมีการออกแบบการศึกษาจากคนข้างล่าง ในช่วงโควิดที่ผ่านมาทำให้เห็นสถานการณ์ถดถอยทางการเรียนรู้ จากช่วงโควิด 2 ปีที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน ครูก็พยา ยามหานวัตกรรม เห็นข้อจำกัด เช่น ครูที่โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูกเห็นเด็กเล่นเกมเยอะ จึงมีการสร้างเกมเพื่อการเรียนรู้ ไปเจอชุดความรู้ทางสังคมทางคณิตศาสตร์ เห็นได้ว่ามีนวัตกรรมสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากคุณครูที่คิดขึ้นมาเอง โดยภายในงานสมัชชาการศึกษานี้อยากจะเชิญไปชมภายในงานเนื่องจากมีคุณครูสร้างนวัตกรรมมากมายคิดมาพัฒนาผลลัพธ์ทางการเรียนรู้เพื่อเด็กสตูลได้
ณ ปัจจุบันโรงเรียนนำร่องของเรามีวิชาหลักแค่ 4 วิชา ที่เหลือคือบูรณาการซึ่งไม่ได้หายไปไหน แต่เอาฐานชีวิตจริงมาเป็นตัวเชื่อมโยง โลกอนาคตสอนให้เรากลับมาเรียนรู้ฐานทรัพยากร เรียนรู้เรื่องสุขภาพ และอะไรที่เป็นอยู่รอบตัวเรา ซึ่งทั้งหมดนี้มันคือวิชาการ แต่ที่ผ่านมามันเป็นวิชาการที่อยู่ในตำราและถูกกำหนดกรอบว่ามันคือแค่นั้น แต่ ความรู้ของโลกสมัยใหม่อยู่ในอินเทอร์เน็ตเขียนและสามารถสร้างความรู้ได้ทุกวัน เด็กของเราก็สามารถที่จะสร้างความรู้และส่งขึ้นไปให้เพื่อนอ่านได้ ไม่จำเป็นต้องรออ่านของเพื่อน นี่คือโลกสมัยใหม่ที่เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ ความรู้ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนอย่างเดียว เราจึงมองว่าโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ระบบการศึกษาควรอยู่ที่ครอบ ครัวชุมชน ทุกคนที่เข้ามาทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ เราก็เลยเสนอแนวคิด 8760 (8,670 ชั่วโมง) คือ learning space ของเด็กทั้งหมด.
Discussion about this post