
วันที่ 4 มีนาคม 2566 สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) สสส. ร่วมกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาวัฒนธรรมจังหวัดฯ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน และภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนจังหวัดแม่ฮ่องสอนจัดเวทีแลกเปลี่ยนนโยบายสาธารณะชาติ พันธุ์ ด้านงานบุญประเพณี เทศ กาลและการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดย นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่อง สอน เป็นประธาน มีผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน จาก 20 ชาติพันธุ์ 27 กลุ่มพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนการดำเนินงานงดเหล้าและส่งเสริมสุขภาวะในกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีบริบท มีการออกแบบกิจกรรมและความสำเร็จที่แตกต่างกัน ภายในงานมีกิจ กรรมเสวนาการขับเคลื่อนสุขภาวะของกลุ่มชาติพันธ์ผ่านกลไกของ สภาชาติพันธุ์ และการขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเหล้าของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในกิจกรรมครั้งนี้ ณ โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราช การจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดใหญ่อันดับ 8 ของประเทศไทย แต่มีประชากรเบาบาง มีกลุ่มชาติ พันธุ์มากถึง 9 ชาติพันธุ์ 13 กลุ่ม โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอนแม้ว่าเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธ์มากที่สุด การที่สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการผลักดันประเด็น การสร้างคุณค่าในงานประเพณีวัฒนธรรม ปลอดเครื่องดื่มแอลกอออล์ ซึ่งทางจังหวัดมีความยินดีและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับเต็มที่ ซึ่งจะเกิดเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน เนื่องจากงานประเพณีต่าง ๆ แทบจะทุกชาติพันธุ์ งานรื่นเริงต่าง ๆ มักจะมีสุราเข้ามาเกี่ยวข้อง การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะลด เลิก เหล้าในกิจ กรรมสำคัญต่าง ๆ แต่ก็ต้องแยกส่วนกันระหว่างงานรื่นเริง กับเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีถ้าสามารถงดเหล้าในงานวัฒนธรรมประเพณีได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี จะมีผลดีต่อสุขภาพ และอุบัติภัยทางถนนซึ่งมักจะเกิดจากงานประ เพณีที่มีเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งกลุ่มตัวแทนชาติพันธุ์ก็จะนำไปขยายผลในพื้นที่ชุมชนต่อไป
นายประเสริฐ ประดิษฐ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า งานรื่นเริงวัฒนธรรมประ เพณีโดยเฉพาะงานประเพณีปอยส่างลอง บางพื้นที่บางคนดื่มเหล้าแล้วเอาส่างลองมาขี่คอฟ้อนรำซึ่งเป็นภาพที่ไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นอันรายต่อส่างลองหรือเด็ก ๆ บางชนเผ่าเวลามีงานประเพณีมีการเลี้ยงเหล้าต้องเสียค่าใช้จ่ายกันเป็นหมื่นเป็นแสน ซึ่งเราก็เริ่มรณ รงค์ตั้งแต่ในเขตเทศบาลและขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ทั้งชุมชนเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ หากมีงานปอยส่างลองหรืองานประ เพณีต่าง ๆ ไม่ควรจะมีเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้อง อเราก็ได้รับความร่วมมือจากหลายชุมชน หลายชนเผ่า และกลายเป็นต้นแบบของประ เทศไทย การจัดเวทีครั้งนี้น่าจะเป็นการรวมของพี่น้องชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดจากเครือข่ายทั่วประ เทศถึง 27 กลุ่ม ได้แก่ กะเหรี่ยงแดงกะยันกะยอ ไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลีซู ลาหู่ ลเวือะ ปะโอ ไทใหญ่ ม้ง ปกาเกอญอ ปกาเกอญอ โผล่ง กะเหรี่ยงโปว์ ไทยญวน ไทยวนไทเบิ้ง ลาวแง้ว/ลาวหลวง ไทพวน ผู้ไทกุดหว้า ไทยทรงดำ ไทย-รามัญ มอญ ลาวเวียง ไทย-กระเหรี่ยง ไทย-ยวน กูย เขมร ลาว และภูไท ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียง ใหม่ แม่สอด จ.ตาก ลพบุรี กาฬ สินธุ์ ราชบุรี เพื่อขายผลไปสู่จังหวัดต่าง ๆ ของประเทศ
เราเตรียมสถานที่ดูงานต้อนรับท่าน 3 แห่ง สามประสบการณ์เรียนรู้ แห่งแรกคือบ้านห้วยขานซึ่งโดดเด่นเรื่องการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีลห้าและการเป็นหมู่บ้านเครือข่ายงานบุญประเพณีปลอดเหล้า แห่งที่สองเป็นการดูงานบ้านผาบ่อง(ผาบ่องโมเดล) ของท่านนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งโดดเด่นเรื่องการขับเคลื่อนงานบุญประเพณีปลอดเหล้าในระดับตำบล หมู่บ้านนวัตวิถี ไทใหญ่ทาวส์ และชุมชนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สถานที่สุดท้ายเป็นการดูการจัดงานสังคมเมือง จากชุมชนป๊อกกาดเก่า ส่วนชุมชนต้นแบบการขับเคลื่อนงานปอยส่างลองปลอดเหล้า และงานบุญประเพณีปลอดเหล้าทั้งหมดของตำบลจองคำ โดยขับเคลื่อนในนาม สภาองค์กรชุมชนตำบลบจองคำ รวมถึงการขับเคลื่อนประ เด็นสุขภาวะต่างๆ เช่นกองทุนสวัสดิการวันละ 1 บาท และอีกหลายๆโครงการ
นายสังคม คัดเชียงแสน นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จะมีชนเผ่าทั้งหมด 13 ชนเผ่า เราจะเข้าไปรณรงค์และขอความร่วมมือไปแต่ละชนเผ่า หากมีงานประ เพณีขอไม่ให้มีเหล้าเข้ามาเกี่ยว ข้อง ซึ่งจะเป็นงานประเพณีที่ทุกคนอย่างจะเห็น แม้แต่นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เขาก็อยากจะดูอยากจะเห็นเพราะเป็นประเพณีที่ปลอดเหล้า เพราะประเพณีแต่ละชนเผ่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ก็จะขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ให้งดเหล้าในงานศพ ที่ผ่านมาเราก็ได้รับความร่วมมือจากหลายชุมชน เราก็พยายามขยายผลไปชุมชนอื่น ๆ อีกด้วย
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงาน สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า เมื่อปี 2554 จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอัตราการดื่ม ติด 10 อันดับแรงของประเทศ ทำให้ สคล.เข้าดำเนินงานรณรงค์งดเหล้าในชุมชน,งานบุญประเพณีและเทศกาลต่างๆ เมื่อปี 2560 อยู่ในอันดับที่ 37 และปี 2564 อยู่ในอันดับที่ 39 ซึ่งลดลงตามลำดับ ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีการรณรงค์ของภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ช่วยกันขับเคลื่อนงาน ทั้งนี้ทำให้มีพื้นที่ต้น แบบหลายพื้นที่ อาทิ งานปอยสางลอง(ปลอดเหล้า) อ.ปางมะผ้า ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่กฎระเบียบในชุมชน เช่น เจ้าภาพห้ามเลี้ยงเหล้าในงาน ถ้าเจ้าภาพเลี้ยงเหล้าชาวบ้านจะไม่ไปช่วยงาน ห้ามดื่มและนำสุราเข้าไปในสถานที่สำคัญทางศาสนา ห้ามนำสุราเข้าไปในงานศพและงานบุญ รวมถึงงานบุญ ประเพณีห้ามเลี้ยงสุรา เป็น ต้น
ความสำเร็จของพื้นที่ต่างๆ ในการลดการดื่มของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นต้นแบบที่ดีที่จะขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ การจัด “เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนงานบุญประเพณีและค่านิยมในการลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมสุขภาวะในพี่น้องชาติพันธุ์” ซึ่งจะมีพี่น้องชาติพันธุ์จาก 20 ชาติพันธุ์ 27 กลุ่ม จากพื้นที่ทั่วประเทศ มาแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบ การณ์การทำงานรณรงค์งดเหล้า ซึ่งจะได้นำบทเรียนที่ได้มายกระดับและพัฒนาการทำงานรณรงค์ โดยร่วมกันค้นหาแนวทางและข้อเสนอในการขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งในภาพรวมและในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกลุ่มชาติ พันธุ์มากที่สุด จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะให้เกิดการพัฒนาการดำเนินงานในพื้นที่ต้นแบบ รวมถึงเป็นการขยายเรื่องเล่ากระบวนการดำเนินงานและความสำเร็จที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต้นแบบไปสู่กลุ่มชาติพื้นอื่นๆ ในที่ต่างๆ อีกด้วย.
Discussion about this post