
ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ MOU กับอมก๋อยโมเดล ซื้อทุเรียน”หมอนพระร่วง” ระหว่างบริษัท กสิรุ่งเรือง จำกัด และกลุ่มแปลงใหญ่ 4 กลุ่ม ประ กอบรวมสมาชิก 300 คน พื้นที่ปลูกเกือบ 2,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 3,000 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท เมื่อปีที่แล้ว 2565
โดยการลงนามด้งกล่าวได้รับการผลักดัน ร่วมกันระหว่างบริษัทและนายรวม ล้นเหลือ ฝ่ายการตลาดของกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลบ้านตึก ภายใต้คอนเซ็ปท์ Big brother โดยขับเคลื่อนต่อยอดกับภาคเอกชนต่อ สร้างศูนย์รับซื้อทุเรียนในพื้นที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จนมาสำเร็จและพร้อมที่จะรับซื้อแล้วนั้น
ดังนั้น ปีนี้ 2566 บริษัทไดัเปิดล้งเพิ่มอีก 2 แห่งที่ จ.สุโขทัย เพื่อส่งออกทุเรียนไปตลาดเจียงหนาน มณฑลกว่างโจว ประเทศจีน ภายใต้แบรนด์ของบริษัท เพื่อทำตลาดพรีเมี่ยม มีผลผลิตจากกลุ่มแปลงใหญ่ 4 แปลงประมาณ 2,000 ตัน หรือวันละประมาณ 40-50 ตัน
ซึ่ง บริษัทได้แสดงถึงความจริงใจและสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มเกษตรกรว่ามีตลาดรับซื้อในพื้นที่แน่นอน และสร้างความมั่นใจกับลูกค้าชาวจีนว่าสินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น และไม่มีทุเรียนอ่อน โดยบริษัทกำหนดให้เกษตรกรต้องตัดทุเรียนแก่เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้ง 35 % เท่านั้น”
ทุเรียนหมอนพระร่วง เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ มีเนื้อทุเรียนแห้ง ไม่แฉะ เนื้อหนา ละเอียด รสชาติหวานมัน เข้มข้น ทั้งนี้ สุโขทัยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 20,000 ไร่ มีปลูกกันมากที่ศรีสัชนาลัย เป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้จังหวัดสุโขทัย ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ในปัจจุบันหน่วยงานราชการได้เข้ามาส่งเสริมการผลิต ให้ได้คุณภาพมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด แต่ทุเรียนสุโขทัยยังไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ จึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เพื่อเป็นการพัฒนาสินค้าทุเรียนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีเรื่องราวแหล่งกำเนิดสินค้า (story) มีความแตกต่างจากสินค้าแหล่งอื่นๆ และเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรชาว สวนทุเรียน ซึ่งปีที่แล้ว ได้มีการประกวดตั้งชื่อ ได้ชื่อว่า “หมอนพระร่วง”
จากการที่คณะทำงานขับเคลื่อนส่งเสริมการผลิตและการตลาดทุเรียนหมอนพระร่วง สุโขทัย ภานใต้นโยบายของ นายสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย มอบหมายให้นางสาวพัชรอร วงศ์กำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยเป็นประธาน
ปีที่แล้ว 2565 ภายใต้นโยบายของ นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราช การจังหวัดสุโขทัย มอบหมายให้ นางสาวพัชรอร วงศ์กำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธาน ซึ่ง นายไชยพจน์ กัณหา สถิติจังหวัดสุโขทัย ร่วมเป็นคณะทำงาน และปีที่แล้วได้เป็นแกนหลักใน #คณะทำงานจัดตั้งชื่อทุเรียนสุโขทัย แล้วนั้น วันนี้ประ สบผลสำเร็จ เป็นอัตลักษณ์ สร้างแบรนด์ที่เป็นทางการตลาดและเป็นชื่อที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาดต่างประเทศ.
ธนกฤต ท้าวบุญยืน/สุโขทัย
Discussion about this post