เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรม การ กลุ่มบริษัท บีทีเอส และ บริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี จัดพิธีส่งมอบ “โรงงานกระดาษไทยกาญจน บุรี” ณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี คณะผู้บริหาร กลุ่มบริษัท บีทีเอส และบริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) อาทิเช่น นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ,นายคง ชิ เคือง , นายชัยวัฒน์ อัศวินทรางกูร น.ส. สรญา เสถียรโกเศศ และคณะผู้บริหารจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี อาทิ นายอรรถวิท รักจำรูญ นายพิสิษฐ์ กาญจนภิญพงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี นายจรันต์ ยิ่งภิญโญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และนายอนันท์ ดิษฐศิริ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมเป้นเกียรติในงานนี้
ซึ่งโครงการนี้บริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) ในเครือกลุ่มบริษัท บีทีเอส ได้ดำเนินการเข้าซื้อโรงงานกระดาษกาญจนบุรี และต้องการที่จะมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีใช้เป็นสาธารณประโยชน์ และพิพิธ ภัณฑ์เพื่อประชาชน รวมถึงเป็นอาคารอนุรักษ์เพื่อสังคมของจังหวัดก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม สำหรับการดำเนินงานในครั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มบริษัทบีทีเอส ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าทางประวัติ ศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม จึงต้องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม อาคารโบราณสถานต่างๆไว้เพื่อสืบสานและส่งต่อเป็นมรดกวัฒน ธรรมของชาติไปยังคนรุ่นหลัง
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทบีทีเอสและบริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผมไม่ได้ผลักดันโครงการเหล่านี้เพื่อสร้างภาพ ผมไม่ได้ต้องการแบบนั้น ตั้งแต่อายุ 60 ปี ก็เริ่มสนับสนุนเรื่องการกุศลหลายอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฏคีรีวันเขาใหญ่ การสร้างโรงพยาบาลมกุฏคีรีวัน อำเภอปากช่อง จังหวัดนคร ราชสีมา และการจัดตั้งมูลนิธิฟ้าสั่ง และศูนย์ไตเทียมฟ้าสั่ง เพราะรู้สึกว่าเราผ่านอะไรมาเยอะแล้ว จึงบอกตัวเองว่า ต่อจากนี้เราต้องทำทุกอย่างเพื่อตอบแทนคืนสังคม แต่สไตล์ของผมไม่ชอบบริจาคเงินแล้วจบกัน อยากไปสร้างด้วยมือตัวเอง เพราะกลัวว่าจะไปไม่ถึงคนที่เราอยากให้ได้รับประโยชน์จริงๆ เลยเลือกที่จะทำเอง แล้วค่อยส่งมอบให้ โครงการเหล่านี้ใช้คำว่า “คีรีและเพื่อน”คือ เพื่อนๆพอรู้ว่าเราทำก็อยากจะช่วยทำบุญทำกุศลด้วย ถ้าปล่อยตัวเองให้แก่จนอายุ 70-80 ปี คงไม่มีแรงทำอะไรเพื่อสังคมแล้ว จึงต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้”
ที่สำคัญการจัดงานในครั้งนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐ กิจ Paper Mill Night Market ชิคแอนด์ชิลเที่ยวกาญจน์เอง”ที่ต้อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวโรงงานกระดาษไทยกาญจนบุรีให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดกาญจนบุรี ด้วยการนำเสนอมุมมองที่แปลกใหม่ ทันสมัย ตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดกาญจนบุรี โดยโรงงานกระดาษเป็นสถาปัตยกรรมสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2481 โดยวิศวกรและนายช่างจากประเทศเยอรมนี และเป้นสถาปัตยกรรมขนาดมหึมา ท่ามกลางโบราณสถานกำแพงเมืองเก่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 คณะราษฎรต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรอุตสาหกรรม จึงสร้างโรง งานกระดาษนี้ขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ต่อเนื่องจากที่สามเสนใน กรุงเทพ มหานคร แต่เป็นแห่งแรกที่มี การผลิตครบวงจร และใหญ่ที่สุดในเอเชีย ณ ขณะนั้น
นอกจากนี้ยังเป้นสถานที่ซึ่งมีคุณ ค่าทางประวัติศาสตร์ โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรปโบราณที่หาชมได้ยาก ที่ใครต่างขนานนามให้เป็น “มิวเซียมอุตสาห กรรมแห่งแรกของไทย และเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนสังคมจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมของกาญจนบุรี ”เป็นแหล่งชุมชนที่มีเรื่องราว และอิทธิพลต่อสังคมในเมืองกาญจนบุรี ณ สมัยนั้น ซึ่งปัจจุบันสภาพทุกอย่างของโรง งานยังคงเหมือนเดิม ทั้งตัวโครง สร้าง ปล่องควัน เครื่องกำเนินดไฟฟ้า และเครื่องจักรผลิตกระ ดาษ ซึ่งเหลือเป็นชิ้นสุดท้ายของโลกที่ประเทศไทยอีกด้วย.
Discussion about this post