ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home ประชาสัมพันธ์

ม.นครพนม ร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยสุขภาพ เตรียมนำร่องทดสอบระบบ Innovation Sandbox รับ มือภาวะโรคเบาหวาน

2 ปี ago
in ประชาสัมพันธ์
Reading Time: 1 min read
12
A A
0
7
SHARES
28
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผสานพลังเครือข่ายด้านสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนคร พนม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และโรงพยาบาลนครพนม เตรียมนำร่องใช้นวัต กรรมบริการเสริมสุขภาพกับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้มีภาวะเสี่ยงเป็นแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้พื้นที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ดำเนินงาน ภายใต้โครงการ “ทดสอบระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพเขตเมือง : กรณีควบคุมโรคเบาหวานด้วยชีวิตวิถีใหม่และการแพทย์วิถีใหม่ในสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดฉุกเฉินที่กำลังผันเป็นโรคประจำถิ่น” โดยมีนายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ ร่วมหารือแลกเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ณ ห้องประ ชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ชั้น 3 สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนคร พนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ผศ.ดร.เบญจยามาศ พิลายนต์ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ในฐานะประธานผู้เอื้อการเรียนรู้เสริมหนุนการจัดการร่วมข่ายงานจังหวัดนครพนม กล่าวว่า “โครงการดังกล่าวเป็นการทดสอบการใช้ระบบ ซึ่งระบบนี้ถูกใช้ทดสอบมาแล้วในเขตเมือง กทม. แต่พื้นที่ภาคอีสานยังไม่มีการทดสอบใช้ เราถือว่านี่เป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกของภาคอีสานที่มีการทดสอบก่อนเป็นที่แรก หรือที่เรียกว่า Innovation Sandbox หากเราทดสอบใช้แล้วมันได้ผล เราสามารถที่จะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นได้ในบริบทที่คล้ายกัน โดยระบบตัวนี้จะช่วยควบคุมป้องกันบุคคลที่มีภาวะที่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน หรือคนที่เป็นเบาหวานแล้ว ซึ่งมีเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่เป็นพันธุกรรมบวกกับการเจ็บป่วยในเรื่องโควิด19 ซึ่งระบบนี้จะช่วยเพิ่มการดูแลตัวเองไม่ให้เป็นเบาหวาน หรือภาวะเบาหวาน กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีเหตุปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่เป็นพรีเบาหวาน (ก่อนเป็นเบาหวาน) คือ มีน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์เป็นเบาหวาน กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่เป็นเบาหวานแล้วแต่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน และ กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่เป็นเบาหวานและเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน ในทั้ง 5 กลุ่มนี้ หากเราใช้ระบบเข้าไปทำงาน เราจะสามารถจำแนกทั้ง 5 ลักษณะกลุ่มประชากรได้ ซึ่งจะมีข้อมูลระดับบุคคลละเอียดกว่าที่หน่วยบริการระบบสุขภาพเคยทำมา” ผศ.ดร. เบญจยามาศ กล่าว.

การทำงานของระบบ เบื้องต้นผู้ใช้บริการที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปต้องกรอกข้อมูลประวัติส่วนตัว พฤติ กรรมความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดปัจจัยของเบาหวาน หรือคนที่เป็นแล้วมีการดูแลตัวเองอย่างไร มีความรู้ในการดูแลตัวเองมากขนาดไหน และเมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ในระบบเรียบร้อย จากนั้นระบบจะทำการรันข้อมูลออกมาว่า ผู้ใช้บริการหรือผู้ประเมินอยู่ในกลุ่มไหน จากนั้นจะเข้าสู่การจัดบริการที่เป็นแผนการดูแลใน 3 ระดับต่อไป คือ ระดับบุคคลครอบครัว ระดับชุมชน และระดับหน่วยงานท้องถิ่น ที่จะเข้ามาสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพให้กับประชาชน 100 คน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนคร พนม กล่าวว่า “ขณะนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนมที่ดูแลรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลอันเกิดจากการถ่ายโอนทั้งหมด 15 แห่ง เป็นหน่วยปฐมภูมิดูแลควบคุมอยู่แล้วโดยเฉพาะเรื่องของโรคเบาหวาน ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดนคร พนมพร้อมสนับสนุนงานวิจัยที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากโครงการประสบความสำเร็จก็จะเกิดผลประโยชน์กับพี่น้องประชา ชนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ให้สามารถควบคุมและลดน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งก็จะทำให้ภาระของโรงพยาบาลลดน้อยลงตามไปด้วย ผู้ป่วยลดการทานยาลง ส่วนคนที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานก็จะสามารถรู้จักการดูแลและควบคุมตนเองได้ด้วยเช่นกัน” นายจิรวัฒน์ กล่าว

นายสมชาย แสนลัง ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนค รพนม กล่าวว่า “สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานของจังหวัดนครพนมแนวโน้มสูงขึ้น มีผู้ป่วยลงทะเบียนรักษากับหน่วยบริการสาธารณสุขกว่า 3,000 คน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ถือเป็นสถาน การณ์ที่น่าเป็นห่วง เนื่อง จากคนที่เป็นโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่คนในนครพนมจะต้องดำเนินการคือเรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดัน เนื่องจากประชาชนยังขาดความรอบรู้เรื่องสุขภาพของตน เอง หากโครงการนี้เข้ามาจะเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 ส่วน คือ 1. คนที่เป็นผู้ป่วยจะได้รับรู้เรื่องโรคเบาหวานที่ควรจะต้องปฏิบัติตัว 2. ชุมชนจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือในด้านการจัดการกับโรคเบาหวาน และ 3. จะส่งผลต่อระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่จะสามารถเชื่อมต่อและรับบริการทางด้านสาธารณสุข หากโครงการนำร่องประสบความสำเร็จ อยากจะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนมที่ดูแลและรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ขยายผลต่อไปอีกทั้ง 15 แห่ง เพื่อให้ชาวบ้านมีการจัดการโรคเบาหวานได้ด้วยตนเอง ซึ่งนั่นก็จะสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในด้านสุขภาพ” นายสมชาย กล่าว.

ด้าน นายแพทย์ขวัญชัย ประเสริฐยิ่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลนครพนม เปิดเผยว่า “ปัจจุบันเบาหวานไม่ได้มองว่าเป็น “โรค” มันคือ “ภาวะ” ที่เป็นแล้วสามารถหายได้ ไม่ใช่เป็นแล้วเป็นตลอดไป อย่างไรก็แล้วแต่เบาหวานไม่ควรหยุดทานยาเอง ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้ติดตามผลเลือดและหยุดยาให้ เพราะประ ชาชนหลายคนอาจจะยังไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งเราต้องเริ่มให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนก่อนว่า เบาหวานมีความรุนแรงหรือน่ากลัวอย่างไรที่จะให้ทุกคนตระหนัก หากมีการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนก็จะง่ายกับการเข้าถึงข้อมูล หากมองลึก ๆ แล้ว โครงการนี้จะสร้างประโยชน์หลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความตระหนัก โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาร่วมในการทำงาน ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ได้ดีขึ้น ตั้งแต่เรื่องของการป้องกันให้ความรู้ ว่าจะทำอย่างไรจึงจะลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวาน หรือแม้กระทั้งกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้ารับการคัดกรอง” นายแพทย์ขวัญชัย กล่าว.

สอดคล้องกับ นางธิสาชล ธันยาวราธร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอาจสามารถ ที่กล่าวว่า “ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 100 คน จากประชากรทั้งหมด 3,399 คน ซึ่งเหตุปัจจัยมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วย เพราะประเทศ ไทยมีช่วงฤดูกาลผลไม้ค่อนข้างเยอะ เช่น มะม่วง ลำไย สับปะรด ลิ้นจี่ ทำให้ประชาชนในพื้นที่รับประทานอาหารประเภทหวานมากขึ้น ซึ่งปกติจะทาน 1-2 ชิ้น ก็อาจจะเพิ่มเป็น 2-3 ลูก หรือครึ่งกิโล กรัม จึงทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดเบาหวานเพิ่มตามมาด้วย ปัจจุบันการคัดกรองของโรงพยาบาล โดยเฉพาะระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานที่ดูแลก็จะให้บริการเรื่องการจัดคลินิกเบาหวานในพื้นที่ของ มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในเบื้องต้นก่อน และที่สำคัญจะมีทีมสหวิชาชีพที่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (โรงพยาบาลนครพนม) เข้ามาดูแล จะมีแพทย์ร่วมตรวจรักษาและทีมเภสัชกรที่เข้ามาร่วมในการปรับและลดยากับผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ หากมีนวัตกรรมจากระบบตัวนี้เข้ามา น่าจะตอบโจทย์ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีในด้านการส่งเสริมสุขภาพ พฤติ กรรมของผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงการป้องกันเบื้องต้น เพราะทุกคนต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันเบาหวาน” นางธิสาชล กล่าว.

Previous Post

แม่ทัพภาคที่ 4 เปิดโครงการ “แว่น ตาเพื่อพี่น้อง 3 จว.ชาย แดนภาคใต้” ตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นใหม่ 500 อัน ให้ชาว จ.ยะลา

Next Post

เกษตรจังหวัดนครพนม ถ่ายทอดความรู้ และส่งเสริมการประชาสัม พันธ์สินค้าเกษตร สู่ Digital Marketing สร้างมูลค่าเพิ่ม

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

ประชาสัมพันธ์

แขวงทางหลวงแพร่ “เปิดใช้” ไฟสัญญาณจราจรทางหลวง 101 ตอน แยกปากจั๊วะ-แยกเจริญราษฎร์ ณ แยกทาง ต.เวียงทอง อ.สูงเม่น

14 ชั่วโมง ago
12
ประชาสัมพันธ์

จังหวัดหนองบัวลำภู จัดโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ73พรรษาถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ก่อนวันเข้าพรรษาท่ามกลางเสียงตอบรับอนุโมทนาบุญ

14 ชั่วโมง ago
7
ประชาสัมพันธ์

จ.นครปฐม เข้าร่วมเปิดงาน Kick Off โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในพระราชูปถัมภ์ฯ พื้นที่ภาคกลาง ผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับกระทรวงทรวงมหาดไทย.

14 ชั่วโมง ago
3
ประชาสัมพันธ์

เวียตเจ็ทไทยแลนด์ เปิดตัวแคมเปญ “Fun & Fly เที่ยวเมืองไทย สนุกได้ทั้งปี” ปลุกกระแสท่องเที่ยวไทยเริ่มที่เชียงราย

15 ชั่วโมง ago
6
Next Post

เกษตรจังหวัดนครพนม ถ่ายทอดความรู้ และส่งเสริมการประชาสัม พันธ์สินค้าเกษตร สู่ Digital Marketing สร้างมูลค่าเพิ่ม

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

แขวงทางหลวงแพร่ “เปิดใช้” ไฟสัญญาณจราจรทางหลวง 101 ตอน แยกปากจั๊วะ-แยกเจริญราษฎร์ ณ แยกทาง ต.เวียงทอง อ.สูงเม่น

14 ชั่วโมง ago
12

จังหวัดหนองบัวลำภู จัดโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ73พรรษาถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ก่อนวันเข้าพรรษาท่ามกลางเสียงตอบรับอนุโมทนาบุญ

14 ชั่วโมง ago
7

จ.นครปฐม เข้าร่วมเปิดงาน Kick Off โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดในพระราชูปถัมภ์ฯ พื้นที่ภาคกลาง ผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับกระทรวงทรวงมหาดไทย.

14 ชั่วโมง ago
3

เวียตเจ็ทไทยแลนด์ เปิดตัวแคมเปญ “Fun & Fly เที่ยวเมืองไทย สนุกได้ทั้งปี” ปลุกกระแสท่องเที่ยวไทยเริ่มที่เชียงราย

15 ชั่วโมง ago
6

อุดรธานี – จิตอาสาร่วมดำนาปลูกข้าว “สิ่งไหนทำด้วยใจ สิ่งนั้นยิ่งใหญ่เสมอ”

18 ชั่วโมง ago
13

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : [email protected]
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com