วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ที่ห้องบรรยาย ชั้น 5 อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการ มหา วิทยาลัยนครพนม นายสมยศ สีแสนซุย รักษาราชการแทนอธิการ บดีมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน” รณรงค์เสริมสร้างให้ความรู้ผู้นำนักศึกษาเป็นมหา วิทยาลัยปลอดบุหรี่ และปลอดยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2566
นายธนากร กิตติธรรม หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและสวัสดิการนักศึก ษา กองพัฒนานักศึกษา กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นการรณรงค์ขับเคลื่อนตามนโยบายของกระ ทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการสนับสนุนดำเนินงานให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิต ภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา ศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และสถาบันอุดม ศึกษาในสังกัดและกำกับทุกแห่ง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 โดยมีกรอบระยะการดำเนินงานร่วมกัน 5 ปี มหาวิทยาลัยนครพนม จึงได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2566 รวมถึงการสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษา พัฒนาศักยภาพในการควบคุมยาสูบในสถานศึกษา ป้องกันไม่ให้เกิดผู้เสพหน้าใหม่ ให้ผู้เสพได้เข้าถึงการบริการเลิกบุหรี่และส่งต่อการบำบัดรักษา รณรงค์คุ้มครองสุขภาพบุคลากรและนิสิต นักศึกษา ให้ปลอดภัยจากบุหรี่ ตลอดจนการจัดสิ่งแวด ล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน
ผศ.ชัยวัฒน์ อินไชยา หัวหน้ากลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีนครพนม วิทยากรในโครงการ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบเด็กและเยาวชนกลายเป็นผู้สูบบุหรี่มากขึ้น โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่มีความสะดวกต่อการพกพา บวกกับการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดและน่าสนใจในกลุ่มเด็กและเยาวชน ทำให้จำนวนของผู้สูบรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น แม้กฎหมายในประเทศจะห้ามนำเข้าและจำ หน่ายบุหรี่ไฟฟ้า แต่ก็ยังพบเห็นการจำหน่ายในรูปแบบอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก
จากสถิติตัวเลขของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในไทย ปี 2564 พบในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 8.1 % อายุมากกว่า 15 ปี ใช้บุหรี่ไฟฟ้า 3.2 % ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ด้านสำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุข ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (เลย บึงกาฬ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร และนครพนม) พบข้อมูลการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 12 % ด้วยบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน (Nicotine) มากกว่าบุหรี่มวน ทำ ให้มีการเสพติดได้ง่าย ประกอบกับมีสารในน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นโลหะหนักของสารก่อเกิดมะเร็ง จึงทำให้ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเกิดปัญหาสุขภาพเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะโรคปอดอักเสบ หน่วยงานด้านสุขภาพอย่างกระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งรณรงค์ออกให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเบื้องต้น เพื่อสร้างการรับรู้ ตระหนัก และการป้องกันจำนวนผู้เสพหน้าใหม่ที่อาจจะเพิ่มขึ้น ผศ.ชัยวัฒน์ กล่าว
นางสาวกัญญาณัฐ วัฒิสาร ประธานชุมชนนักศึกษาสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีนครพนม กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนและกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ร่วมกันออกรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนภายนอกหลายพื้นที่ รวมถึงการจัดค่ายอาสา เพื่อทำกิจกรรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งพาเล่นเกม สอดแทรกเนื้อหาต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษอันตรายของบุหรี่ทุกชนิด จัดอบรมสร้างความตระหนัก มุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมในแนว ทางปฏิบัติ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และกิจกรรมอบรมในครั้งนี้ก็ถือเป็นการมารับฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากวิทยากร เพื่อที่จะนำไปเสริมชุดข้อมูลให้ความรู้ในการออกค่ายครั้งต่อไปได้
ด้าน นายคณิน เสนจันตะ หนึ่งในกลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมกับกิจกรรม กล่าวว่า วันนี้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น โทษและพิษภัยของบุหรี่ไฟ ฟ้า แนวทางการเลิกสูบบุหรี่อย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือแม้กระทั่งการแนะนำและให้กำลังใจคนรอบข้างที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร เพราะตนมองว่า ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวน หรือบุหรี่ไฟฟ้า มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย แต่กลับสร้างผลเสียให้กับสุขภาพร่างกายมาก กว่า ซ้ำยังเป็นการทำร้ายคนรอบข้างในวิธีทางอ้อมโดยไม่รู้ตัว
ภายในกิจกรรมยังมีการอบรมในหัวข้อต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการให้บริการ การสำรวจ การทำฐานข้อ มูล” จากเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนตอบคำถามสำหรับนักศึกษา เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ กล ยุทธ์แนวทางการพัฒนา เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 100 คน.
Discussion about this post