
วันที่ 9 ส.ค.66 ที่ห้องประชุมอา คาร สว. โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน นายแพทย์พิทยา หล้าวงค์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ EMS Day ให้ผู้ปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากเทศบาลตำบล, องค์การบริหารส่วนตำบล, มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย, สมา คมกู้ภัย,โรงพยาบาล, โรงพยา บาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จำนวน 160 คน
ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้วิชา การด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยแก่เครือข่ายกู้ชีพทุกอำเภอ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้ประชา ชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นและเร่งด่วนได้อย่างทันท่วงทีและปลอดภัย ถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(หน่วยงานระดับประเทศ)ในฐานะที่เป็นหน่วยรับผิดชอบการบริหารจัด การ การประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและให้ความช่วยเหลือประชาชนจากภาวะฉุกเฉินต่างๆ ในระดับจังหวัดจะมีทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด รับนโยบายมาดำเนินการ ร่วมประ สานจัดการในพื้นที่จังหวัดตามระบบงาน และมีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดแต่ละจังหวัดทำหน้าที่เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ผ่านสายด่วน 1669 เพื่อสั่งการให้หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุ ออกเหตุรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ นำส่ง รพ.ที่ใกล้ที่สุด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุก เฉินจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้บุคลา กรการแพทย์ทุกระดับ ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะในการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ สามารถให้บริการผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน การทบทวนองค์ความรู้ด้านวิชาการ การจัดบูธนิทรรศการด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากทุกอำเภอ การนำเสนอนวัตกรรมหรือเรื่องเล่าด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากทุกอำเภอเรื่องเล่าจาก Sky doctor Maehonson นำเสนอผลงานเด่นของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
สำหรับแม่ฮ่องสอนพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารเข้าถึงบริการสาธารณสุขยากลำบาก โดยเฉพาะในอำเภอโซนสายใต้ ไม่ว่าเป็นอำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย อำเภอแม่ลาน้อย จึงได้มีการพัฒนาการเข้าถึง โดยการจัดระบบการปฏิบัติการทางอากาศ (ส่งผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์) รอง รับการลำลียงผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โดยบุคลากรทางแพทย์ของโรงพยาบาลต่างๆในจังหวัดผ่านการอบรมตามหลักสูตร พร้อมนี้ทางจังหวัดยังได้พัฒนาบุคลากรให้กับหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐาน (ของเทศบาลตำบล อบต. มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย, สมาคมกู้ภัย, รพ.สต.) หรือในบางปีหาแหล่งงบสนับสนุนครุภัณฑ์ “รถพยาบาล” ให้กับ อปท. ที่ไม่มีรถ ควบคู่กันไป เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ.
ฉลอง หมั่นสกุล / จ.แม่ฮ่องสอน
Discussion about this post