
วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ที่โรงแรมเซ็นทาราริเวอร์ไชด์ เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พล.ท.สุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 เป็น
ประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ
2566 มีพล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจภาค 5 นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมหัวหน้าส่วน
ราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า80 คน โดยใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงพล.ท.สุริยะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ว่า การประชุมดังกล่าว เพื่อสกัดกั้นยาเสพติดภาคเหนือ ทุกภาคีและเครือข่ายได้
ร่วมมือ ร่วมใจ จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ทำให้ยาเสพติดลดลง จับกุมเครือข่ายและขบวนการค้าได้มากขึ้น พร้อมให้ ป.ป.ส.และ ป.ป.ง. ดำเนินการยึดทรัพย์ พร้อมหาทางสกัดสารตั้งต้น หรือสารเคมีที่ลำเลียงผ่านประเทศ ไปสู่รัฐอิสระเพื่อนบ้าน โดย
ประสานความร่วมมือกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขึ้นบัญชีสารเคมีที่ใช้ผลืตยาเสพติด ว่าเป็นสารอันตรายไม่สามารลำเลียง หรือขนส่งออกนอกประเทศได้
นอกจากนี้ต้องควบคุมบริษัทขนส่งพัสดุภัณฑ์ หรือโลจิสติกส์ ให้ตรวจสอบพัสดุก่อนลำเลียงไปส่งลูกค้า ถือเป็นความรับผิดชอบผู้ประกอบการ ถ้าไม่ให้ความร่วมมือ ถือว่ามีความผิด จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ต้องปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเข้มงวด
ส่วนการบำบัดรักษาผู้เสพ ที่เคยใช้ยาเสพติด ต้องนำสู่ระบบเพื่อบำบัดรักษาและพัฒนาเป็นศูนย์บำบัดแบบครบวงจรให้ผู้เสพเลืกยาเสพติด มีทางรอด เพื่อประกอบอาชีพดูแลครอบครัว ถ้าเป็นพลทหาร ต้องเข้าสู่ระบบบำบัด ส่งเสริมพัฒนาไปสู่ทหารอาชีพด้วย ดังนั้นอยากให้เครือข่ายสนับสนุนตั้งศูนย์บำบัดมากขึ้น
ปัจจุบันมีผู้เสพยาเสพติดที่อยู่ในระบบกว่า 400,000 คน ถ้ามีผู้เสพยาวันละเม็ด กว่า 6 ล้านคน ต้องซื้อยาเสพ 100,000 ล้านบาท/ปี จำเป็นต้องถอดบทเรียนเพื่อนำไปสู่การยึดทรัพย์ ตามกฏหมายฟอกเงิน และจับกุมเจ้าของ หรือผู้ผลิตราย
ใหญ่ รวมทั้งทุนสีเทา ที่ใช้วิธีฟอกเงิน
จากยาเสพติด อาทิ สถานบันเทิง บ่อนการพนัน ที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายดังกล่าว พร้อมเข้มงวดกับบัญชีม้า ที่มีการเปิดบัญชี 10-20 บัญชี ที่เข้าข่ายการฟอกเงินดังกล่าว โดยเฉพาะแหล่งอบายมุข ที่เกี่ยวข้องยาเสพิดโดยตรง ซึ่งขบวนการค้าดังกล่าว ได้เปลี่ยนวิธีรูปแบบการ
ฟอกเงินจากเงินสด ไปเป็นเงินสกุลดิติทัลและทองคำมากขึ้น จำเป็นต้องติดตามเส้นทางการเงินดังกล่าว เพื่อขยายผลการยึดทรัพย์ตามลำดับ
พล.ท.สุริยะ กล่าวอีกว่า ช่วง 11 เดือน
ของปีงบประมาณ 2566 การสกัดกั้นยาเสพติดอยู่ในระดับที่น่าพอใจ กว่า 80 %โดยเฉพาะกองกำลังผาเมือง ที่สกัดกั้นอย่างได้ผล ที่จับกุมผู้ค้า และจำนวนยาเสพติดได้จำนวนมาก พร้อมร่วมมือกับเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว ร่วมมือลาดตระเวนลำน้ำโขง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางส่วนได้ทะลักเข้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือดังนั้นต้องประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือประชาชน ช่วยกันสอดส่องดูแลคน
ในครอบครัว และชุมชน เพื่อห่างไกล
ยาเสพติดด้วย
ส่วนผลงานและแผนปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติดในปี 2567 ได้ถอดบทเรียนและจัดทำแผนสกัดกั้นอย่างต่อเนื่องโดยนำเสนอนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) พิจารณาเห็นชอบ และสั่งการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศอ.ปส.ชน.) ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย
และพะเยา โดยมีผลการตรวจยึด/จับกุม จำนวน 451 ครั้ง ผู้ต้องหา 496 ราย ตรวจยึด ยาบ้า 91,263,986 เม็ด ไอซ์ 3,582.98 กก. เฮโรอีน 28.77 กก. ฝิ่นดิบ 270.87 กก. เคตามีน 363.25 กก. พร้อมให้ความสำคัญสกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิต และการลักลอบขนส่งยาเสพติดผ่านระบบ โลจิสติกส์ และระบบคมนาคมสื่อสารด้วย
ทางด้านการข่าวความมั่นคง ได้ระบุว่าแหล่งผลิตยาเสพติดหลัก ยังคงอยู่ในพื้นที่รัฐฉานเหนือ จำนวน 6 แห่ง โดยตั้งอยู่ในเขตปกครองพิเศษของ กลุ่มว้า โกกั้ง และกลุ่มพันธมิตรเมืองลา สามารถผลิตยาเสพติดได้ทั้ง ไอซ์ เฮโรอีน ยาบ้า และ เคตามีน ส่วนในพื้นที่รัฐฉานใต้ มีแหล่งผลิตยาเสพติด จำนวน 4 แห่ง ดำเนินการโดยกลุ่มว้า จีนฮ่อ มูเซอ และกลุ่ม
ไทใหญ่
/////////////
Discussion about this post