
วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุมขุนลุมประพาส ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน มอบหมายให้นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประจำศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2566 ครั้งที่ 2/2566โดยมีเรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ จากสถานการณ์ที่ผ่านมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดเหตุอุทกภัย น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม จำนวน 7 อำเภอ 22 ตำบล 131 หมู่บ้าน บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายบางส่วน และเสียหาย อย่างสิ้นเชิง จำนวน 13หลัง ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวน 22,909 ครัวเรือน 55,516 คน เสียชีวิต 1 ราย โดยมี 2 สถานการณ์ ที่เป็นเหตุการณ์รุนแรงมีผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 เกิดเหตุอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากบ้านแม่ต่อละ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย ซึ่งพื้นที่ประสบภัยเป็นพื้นที่ห่างไกล และ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 เกิดเหตุอุทกภัยน้ำไปไหลหลากบ้านห้วยผา หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยผา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งพื้นที่ประสบภัยในเขตพื้นที่ใกล้เมือง และเส้นทางคมนาคมสายหลัก
จากสถานการณ์ทั้ง 2 สถาน การณ์ มีลักษณะพื้นที่ที่เกิดเหตุแตกต่างกัน จึงเชิญคณะกรรม การประจำศูนย์บัญชาการเหตุการณ์วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2566 ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางการจัดการสาธารณภัย ในปี 2567
ทั้งนี้ที่ประชุมได้สรุปคาดการณ์ลักษณะอากาศ/สถานการณ์น้ำ โดยสถานีอุตุนิยมวิยาแม่ฮ่องสอน โครงการชลประทานแม่ฮ่องสอน และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค พร้อมทั้งพิจารณามาตรการเร่งด่วนรับมือน้ำท่วม สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนพิจารณาการถอดบทเรียนในปี ๒๕๖๖ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการในปี 2567 การจัดการในภาวะฉุกเฉินจากสาธารณภัยเข้าสู่ระยะฟื้นฟู โดยใช้กระบวนการ พื้นสภาพ (Rehabilitatiori) และซ่อมสร้าง (Reconstruction) ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อปรับสภาพระบบ สาธารณูปโภคการดำรงชีวิต และสภาวะวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมตามความเหมาะสม.
ฉลอง หมั่นสกุล จ.แม่ฮ่องสอน
Discussion about this post