เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.66 เวลา 09.30 น.ณ ห้องประชุม Auditorium สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร.อ.พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยนายชนะ สุพัฒสร บัณฑิตกิตติม ศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิท ยาลัยขอนแก่น และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด(มหาชน) เปิดงานประชุมเชิงวิชาการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่และการเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ โดยมีบุคลากรด้านสาธารณสุขจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
ภายในงานมีการบรรยาย เรื่อง “บริหารจัดการข้อมูลในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี(สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)” โดยนายชนะ สุพัฒสร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด(มหาชน) และการบรรยาย เรื่อง “ชุดตรวจสุขภาพอัจฉริยะ สำหรับชุมชน” โดย Touch Technologies คุณหนึ่ง คุณวัน และกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (อบจ.ขอนแก่น)
นายชนะ สุพัฒสร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า บริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด(มหาชน) มีหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบระบบบูรณาการข้อมูลเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ประกอบด้วย ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(Hospital Information System) และฐานข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบันทั้งหมด รวมทั้งระบบงานด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข รวมทั้งศึกษาข้อจำกัดในการบริหารจัดการและการนำเสนอข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาการด้านคุณภาพข้อมูล และยกระดับการเชื่อมโยงระบบงานให้รวดเร็วแม่นยำ รวบรวมเป็นคลังข้อมูลเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิ ภาพในการบริการประชาชน
ทั้งนี้ ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนด้วยกันคือ 1.ข้อมูลปฐมภูมิ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้า โดยยึดหลักการ PDPA รักษาข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ปัญหา เช่น พื้นที่ตรงไหนที่เกิดโรคระบาด ก็จะสามารถวิเคราะห์หรือเข้าไปป้องกันได้ทันท่วงที 2.ข้อมูลด้านการเบิกจ่ายงบประมาณสาธารณสุข ระบบจะมีกระบวนการคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ว่องไว โดยข้อมูลนี้จะเชื่อมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ และเอกชนด้วย และ 3.ข้อมูลบิ๊กดาต้าสำหรับ อบจ.ที่จากเดิมเป็นกระดาษ ต่อไปจะกลายเป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด สามารถสืบหาได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์การบริการสาธารณสุขที่ไม่ต้องวิ่งหาเอกสารหรือไปติดต่อหลายแห่ง เป็นการบูรณาการข้อมูลที่ส่งผลดีต่อประชาชนคนรับบริการและคนให้บริการ มีฐานข้อมูลที่แม่นยำชุดเดียวกันมาใช้ใน รพ.สต. เพื่อให้นายกอบจ. หรือหน่วยงานผู้บริหารระดับสูง ได้เห็นข้อมูลและวิเคราะห์เหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที สามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็วที่สุด สำหรับกระบวนการทั้งหมดจะเป็นเรื่องของดิจิทัลเทคโนโลยี โดยยึดระเบียบ PDPA และสอดคล้องกับกฎหมายไทยทุกฉบับ.
Discussion about this post