
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 27 ธันวาคม 2566 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดทดลองใช้บริการทาง หลวงพิเศษระหวางเมืองหมายเลข 81 (สายบาง ใหญ่ – กาญจนบุรี) ช่วงด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก – ด่านกาญจนบุรี ณ บริเวณด่านกาญจนบุรี โดยมี ร้อยโททศพล ไชยดกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายพนม โพธิ์แก้ว ส.ส.กาญจน บุรี เขต 5 นายชูศักดิ์ แม้นทิม ส.ส.กาญจน บุรี เขต 2นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบ ดีกรมทางหลวง พร้อมด้วย นายแพทย์ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ นายก อบจ.กาญจนบุรี นายธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงระหว่างเมือง ผู้บริหารกรมทางหลวง ส.อบจ. กาญจนบุรี และสื่อมวลชนร่วมด้วย
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระ ทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง ได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่- กาญจนบุรี เพื่อเติมเต็มโครงข่ายทาง หลวงพิเศษระหว่างเมือง เพิ่มความสะดวก รวด เร็ว และปลอดภัยให้กับประชาชนในการเดินทางและขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไปสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดกาญจนบุรี และภาคตะวันตกของประเทศ ส่งเสริมการค้า การลงทุน ท่องเที่ยว และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยบนเวทีโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “คมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน”
โดยวันนี้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 (สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี) พร้อมเปิดให้บริการในช่วงด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ตัดกับทาง หลวงหมายเลข 321 ที่ กม.6+200 จนถึง ด่านกาญจนบุรี ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตัดกับทางหลวง หมายเลข 324 ที่ กม.8+400 ระยะเวลา 7 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ 27 ธันวาคม 2566 – 3 มกราคม 2567 โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชนชาวกาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะสามารถเดินทางในช่วงปีใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นับเป็นของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงคมนาคมมอบให้แด่พี่น้องประชาชน และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีและภาคตะวันตกได้เป็นอย่างดี
หากเดินทางด้วยเส้นทางดังกล่าวจะใช้เวลาเพียง 30 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับ ทางหลวงแผ่นดินปกติ (ทล.4 และ ทล.323) ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที ทั้งนี้ บริเวณด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง จะมีการกั้นแนว Barrier ชั่วคราว ทั้ง 2 ทิศ ทาง เพื่อกั้นขอบเขตระหว่างพื้นที่ก่อสร้างภายในด่านฯ และพื้นที่ที่เปิดให้รถยนต์สัญจร รวมทั้งมีการจัดเจ้ารหน้าที่อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยด้วย
นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ปัจจุบันกรมทางหลวงอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยการก่อสร้างงานโยธามีความก้าวหน้า ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 โดยรวมประมาณร้อยละ 95.96 ส่วนงานติดตั้งระบบ เช่น ระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบบริหารจัดการและควบคุมการจราจร เป็นต้น จะดำเนินการในรูปแบบ PPP ซึ่งกรมทางหลวงได้ลงนามสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) โดยการร่วมลงทุนในครั้งนี้ แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง พร้อมติดตั้งงานระบบ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี กลุ่มกิจการร่วมค้า BGSR จะเป็นผู้ออกแบบและลงทุนก่อสร้างติดตั้งงานระบบและองค์ประ กอบที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย งานก่อสร้างด่านและติดตั้งระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow งานระบบควบคุมและบริหารจัดการจราจรอัจฉริยะ งานระบบโครงข่ายสื่อสารใยแก้วนำแสง และระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าบนสายทาง งานอาคารศูนย์ควบ
คุม และอาคารสำนักงานต่างๆ
โดยมีความก้าวหน้าเดือนพฤศจิกายน 2566 รวมร้อยละ 32.06 ระยะที่ 2 งานดำเนินงานบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางและบำรุงรักษาถนนและงานระบบทั้งหมด เป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่เปิดให้ประชาชน โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า BGSR จะทำหน้าที่จัดเก็บค่าผ่านทางและนำส่งรายได้ค่าผ่านทางทั้งหมดให้แก่กรมทางหลวง บริหารจัดการและควบคุมการจราจร ซึ่งรวมถึงงานกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ใช้ทางตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนซ่อมบำรุงรักษาถนนและงานระบบทั้ง หมดของโครงการเป็นเวลา 30 ปี โดยกลุ่มกิจ การร่วมค้า BGSR จะได้รับค่าตอบแทนสำหรับค่าก่อสร้างงานระบบ และค่าตอบแทนสำหรับการดำเนินงานและบำรุงรักษา ทั้งนี้ ในส่วนการให้เอกชนร่วมลงทุนและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) กรมทางหลวงอยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนฯ และเริ่มการคัดเลือกการดำเนินงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน
สำหรับรูปแบบโครงการเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองขนาด 4 ถึง 6 ช่องจราจร มีระยะทางรวม 96 กม. มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอนนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญ จนาภิเษก) ด้านตะวันตก อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี จุดสิ้นสุดอยู่บริเวณทางหลวงหมายเลข 324 (ถนนกาญจนบุรี – อ.พนมทวน) ผ่าน 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ราช บุรี และกาญจนบุรี โดยในแนวเส้นทางมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 8 แห่ง ได้แก่ ด่านบางใหญ่ ด่านนคร ชัยศรี ด่านศรีษะทอง ด่านนครปฐมฝั่งตะวันออก ด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก ด่านท่ามะกา ด่านท่า ม่วง และด่านกาญจนบุรี มีที่พักริมทางและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้ทาง 3 ตำแหน่ง 6 แห่ง แบ่งออกเป็น สถานบริการทาง หลวง จำนวน 2 ตำแหน่ง ที่ อ.นครชัยศรี และ อ.เมืองนครปฐม และสถานที่พักริมทาง จำนวน 1 ตำแหน่ง ที่ อ.ท่ามะกา
การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 บางใหญ่ – กาญจนบุรี และเปิดให้บริการ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 นี้จะช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจร ตั้งแต่ช่วงจังหวัดนครปฐม จนถึง จังหวัดกาญจนบุรี ได้ประมาณร้อยละ 20 หรือ 9,000 คันต่อวัน จากปริมาณจราจรบนถนนแสงชูโต ช่วงปกติมีการจราจรอยู่ที่ 35,000 คันต่อวัน และช่วงเทศกาลอยู่ที่ 45,000 คันต่อวัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกและช่วยลดระยะเวลาเดินทางให้แก่ประชาชนที่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดกาญจนบุรีได้ ถือเป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงคมนาคมมอบให้ประ ชาชนเพื่อความอุดมสุขของคนไทย.
ภูริตา สายแก้ว /กาญจนบุรี
Discussion about this post