
วันที่ 17 มกราคม 2567 ที่หอประชุม 80พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)เชียงใหม่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิจังหวัดเชียงใหม่ และเวทีสาธารณะขับเคลื่อนการอภิบาลระบบสุข
ภาพท้องถิ่นระดับจังหวัด มีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่นายพิชัย เลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊องนายก อบจ.เชียงใหม่ นพ.สุเทพ เพชรมากเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติพร้อมนายอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิก
สภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม.) และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งการลงนามดังกล่าว รวม16 หน่วยงาน ก่อนนายนิรัตน์ นำกล่าว
คำประกาศเจตนารมย์ความร่วมมือการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่น ภายใต้บริบทการถ่ายโอน รพ.สต.ให้แก่ อบจ.เชียงใหม่ ตามลำดับ
ทั้งนี้นายสุทธิพงษ์ ได้บรรยายหัวข้อการพัฒนาระบบสุขภาพระบบปฐมภูมิในระดับท้องถิ่น หมู่บ้านยั่งยืน การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรด้านสุขภาพ ถังขยะเปียกลดโลกร้อน สนามเด็กเล็กสร้างปัญญา และ
ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี เพื่อสร้างชุมชนเข็มแข็ง ภายใต้การดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความรัก สามัคคีและปรองดองเพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่นำไปสู่ปัญหาทางสังคม อาชญากรรม ยาเสพติดในชุมชนดังกล่าว
“กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น (สถ.) ดูแลเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิต กรมการปกครอง(ปค.) ดูแลเรื่องความสงบเรียบร้อย ยาเสพติด พร้อมส่งทีมบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อยกระดับความเข้มแข็งคณะกรรมการหมู่บ้าน ภายใต้คู่มือการพัฒนาภาพ ชีวิตคนทุกช่วงวัย (จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน)
ในระดับพื้นที่ โดยนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 7,117 โครงการ เป็นต้นแบบ หรือโมเดลการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ภายใต้หลักเศรษฐกิจเพียงพอ”นายสุทธิพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นซีอีโอจังหวัด นายอำเภอเป็นซีอีโอระะดับอำเภอ รพ.สต.และ อสม. เป็นซีอีโอระ
ดับท้องถิ่นและพื้นที่ เพื่อดูแลสุขภาพเชิงรุก และขับเคลื่อนนโยบายไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
นพ.สุเทพ กล่าวว่า ได้เอ็มโอยูกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านโดยร่วมทำธรรมนูญสุขภาพดี พร้อมสร้างเครือข่ายและพันธมิตร ซึ่งการทำเอ็มโอยูต้องไปสู่การปฏิบัติตามสัญญาไม่ใช่เป็นเพียงบันทึกลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ซึ่ง อบจ.เชียงใหม่ ได้พัฒนาระบบดังกล่าว จนเป็นที่ยอมรับและเป็น
โมเดลท้องถิ่นที่นำไปต่อยอด ขยายผลในอนาคตได้
นายพิชัย กล่าวว่า เชียงใหม่มีองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) 211 แห่ง รพ.สต.267 แห่ง ปี 66 รับถ่ายโอน รพ.สต. 62แห่ง นำร่องจัดตั้งหน่วยบริการทางแพทย์ประจำ รพ.สต. หรือ CUP 10 แห่ง เป็น
แห่งแรกของประเทศ เพื่อลดความแออัดการใช้บริการทางการแพทย์พื้นที่ห่างไกลโดยจ้างแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไปดูแลรักษาและให้คำปรึกษาสุขภาพอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้มีแผนจัดซื้อรถพยาบาล หรือรถกู้ชีพจำนวน 10 คัน ให้แก่ CUP รพ.สต.
เพื่อบริการผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย
////////////
Discussion about this post