
เมื่อวันที่ 20 กุมภพันธ์ 2567 เวลา 14.00 น.คณะเจ้าหน้าที่สนธิกำลัง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปทส.ภาค 5. สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ อำนวยการโดย นายสงคราม ขาวสะอาด ผอ.สจป.3 สาขาแพร่, นายชาตรี สัทธรรมนุวงศ์ ผอ.ส่วนป้องกันฯ โดยชุดปฏิบัติการพิเศษป่าไม้ สจป.3 สาขาแพร่ / หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นน.13 (น้ำสา)/จนท. ตชด.ร้อย ตชด.322 กก.ตชด.32 (พะเยา) จนท.
ตร.ร้อย ตชด.324 กก.ตชด.32 (น่าน)
/ จนท.ตร.สภ.เวียงสา และ จนท.ฝ่ายปกครองจังหวัดแพร่ ร่วมกันตรวจยึดไม้ของกลาง จุดที่ 1 ไม้กระยาเลยท่อน (ชิงชัน) จำนวน 32 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 2.87 ลบ.ม. คิดเป็นค่าเสียหายของรัฐเป็นเงินประมาณ 861,000 บาท
จุดที่ 2 ไม้กระยาเลยแปรรูป (ชิงชัน) จำนวน 7 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 1.143 ลบ.ม. คิดเป็นค่าเสียหายของรัฐเป็นเงินประมาณ 342,900 บาท
หลังจากที่ ได้ร่วมกันสนธิกำลังได้ร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้มีค่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขะนิง ท้องที่บ้านนาก้า จังหวัดน่าน ทราบว่า มีกลุ่มบุคคลลักลอบตัดไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขะนิง แล้วนำมาซุกซ่อนไว้ในบริเวณป่าท้ายหมู่บ้านนาก้า จึงได้เดินทางเข้าตรวจสอบบริเวณป่าท้ายหมู่บ้านนาก้า หมู่ที่ 1 ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าไปยังป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขะนิง เมื่อไปถึงยังสถานที่เกิดเหตุ พบเป็นพื้นที่ป่าติดกับลำห้วย จึงได้ร่วมกันตรวจสอบโดยรอบ พบกองไม้จำนวน 3 กอง เรียงอยู่ใกล้ๆกัน กองอยู่บริเวณข้างลำห้วย ถูกปิดคลุมด้วยใบกล้วย จึงได้ทำการเปิดใบกล้วยที่ปิดคลุมกองไม้ออก พบว่าไม้ทั้ง 3 กองเป็นไม้ชิงชันแปรรูป กองที่ 1 มีไม้ชิงชันแปรรูป จำนวน 10 แผ่น/เหลี่ยม กองที่ 2 มีไม้ชิงชันแปรรูป จำนวน 15 แผ่น/เหลี่ยม และกองที่ 3 มีไม้ชิงชันแปรรูป จำนวน 7 แผ่น/เหลี่ยม รวมไม้แปรรูปทั้ง 3 กองเป็นไม้ชิงชันแปรรูป จำนวน 32 แผ่น/เหลี่ยม จึงได้ทำการตรวจสอบบริเวณโดยรอบพื้นที่ ไม่พบผู้หนึ่งผู้ใดพอที่จะสอบถามได้ว่าใครเป็นเจ้าของไม้แปรรูปดังกล่าว หรือนำไม้แปรรูปดังกล่าวมาซุกซ่อนไว้ ไม้ดังกล่าวทั้ง 3 กอง มีลักษณะถูกตัดทอนและทำการแปรรูปด้วยเลื่อยโซ่ยนต์สังเกตได้จากที่หน้าตัดของไม้ทั้งสองด้าน มีร่องรอยของครองเลื่อยโซ่ยนต์ ตรวจสอบไม้ดังกล่าว มีลักษณะใหม่ ไม่เคยผ่านการเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือเคยผ่านการเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้มาก่อน และเมื่อตรวจสอบที่หน้าตัดของไม้ดังกล่าวไม่ปรากกฎรูปรอยดวงตราของพนักงานเจ้าหน้าที่ตีประทับไว้เพื่อเป็นการแสดงการอนุญาตแต่อย่างใด และไม่ปรากฏรูปรอยดวงตราของรัฐบาลขาย และไม่มีรูปรอยดวงตราของสวนป่าเอกชนแต่อย่างใด จุดที่พบว่าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ขะนิง
จุดที่ 2 บริเวณป่าท้ายหมู่บ้านนาก้า บ้านนาก้า หมู่ที่ 1 ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน บริเวณบ้านเลขที่ 100 ม.1 ต.ยาบหัวนาฯ พบว่าบ้านหลังดังกล่าวด้านหลังติดกับเนินเขา ไม่มีรั้วรอบขอบชิด ด้านหลังบ้านเป็นลานกว้าง บริเวณป่าหลังบ้านเห็นกองไม้กองซุกซ่อนอยู่ แต่ไม่พบผู้หนึ่งผู้ใดพอที่จะสอบถามได้ว่าไม้ที่กองอยู่ในป่าหลังบ้านเลขที่ 100 ม.1 ต.ยาบหัวนาฯ นั้น ใครเป็นเจ้าของหรือใครเป็นผู้นำมาซุกซ่อนไว้ เชื่อว่ามีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทําความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทําความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การ กระทําความผิดได้ซ่อน จึงได้ประสานนายพายัพ แสนคำ กำนันตำบลยาบหัวนา รักษาการแทนผู้ใหญ่บ้านนาก้า ม.1 ต.ยาบหัวนาฯ เพื่อให้ประสานเจ้าของบ้านเลขที่ 100 ม.1 ต.ยาบหัวนาฯ เพื่อขอทำการตรวจสอบไม้ที่ซุกซ่อนอยู่ภายในบริเวณป่าด้านหลังบ้านดังกล่าว จนทราบว่าบ้านหลังดังกล่าวมีนายสวิง ฟองแก้ว เป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่สามารถติดต่อกับนายสวิง ฟองแก้วได้ จึงได้ประสาน นายเอกพงษ์ คำแผ่น ซึ่งเป็นบุตรเขยของนายสวิง ฟองแก้ว ให้มาพบคณะเจ้าหน้าที่และได้นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ และยินดียินยอมให้คณะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมทั้งนำคณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ พบเป็นไม้แปรรูปซุกซ่อนอยู่บริเวณป่าด้านหลังของบ้าน คณะเจ้าหน้าที่จึงได้สอบถามนายเอกพงษ์ฯ ถึงการเป็นเจ้าของไม้และเอกสารการได้มาของไม้ดังกล่าว นายเอกพงษ์ฯ ได้ให้การกับคณะเจ้าหน้าที่ว่าไม้ดังกล่าวไม่ใช่ของตน และตนไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของ และใครนำมาซุกซ่อนไว้ จึงได้ทำการตรวจสอบไม้แปรรูปดังกล่าว มีลักษณะถูกทำการแปรรูปด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ สังเกตได้จากที่หน้าตัดของไม้ทั้งสองด้าน มีร่องรอยของครองเลื่อยโซ่ยนต์ ตรวจสอบไม้ดังกล่าว มีลักษณะใหม่ ไม่เคยผ่านการเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือเคยผ่านการเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้มาก่อน และเมื่อตรวจสอบที่หน้าตัดของไม้ดังกล่าวไม่ปรากกฎรูปรอยดวงตราของพนักงานเจ้าหน้าที่ตีประทับไว้เพื่อเป็นการแสดงการอนุญาตแต่อย่างใด และไม่ปรากฏรูปรอยดวงตราของรัฐบาลขาย และไม่มีรูปรอยดวงตราของสวนป่าเอกชนแต่อย่าง จึงได้ประสาน พ.ต.ต.เกียรติศักดิ์ พันธจักร พงส.สภ.
เวียงสา มาตรวจสอบที่เกิดเหตุ และได้ร่วมกันทำการขนย้ายไม้แปรรูปดังกล่าวมายังหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นน.13 (น้ำสา) เพื่อทำการตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง โดยใช้ตีประทับไว้ที่หน้าตัดของไม้ทุกแผ่น/เหลี่ยม เพื่อเป็นการแสดงการตรวจยึดเพื่อสืบสวนหาผู้กระทำในข้อหา
ว่ากระทำผิด ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
มาตรา 11 ฐาน “ผู้ใดทำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่ไม้หวงห้าม ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกระทรวงหรือในอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
มาตรา 48 ฐาน “ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้งโรงค้าไม้ แปรรูป มีไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม็ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้จีนแดง ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย แปรรูป ไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตรไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในอนุญาต ”ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พุทธศักราช 2507 มาตรา 4 (4) ฐาน “ทำไม้ ตัดฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ทอน ขุด หรือชักลากไม้ที่มีอยู่ในป่า หรือนำไม้ที่มีอยู่ในป่าออกจากป่าด้วยประการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
มาตรา 14 ฐาน “ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครอง ที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถางป่า ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ” เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
Discussion about this post