ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home เกษตร

ชาวสวนยางยะลาเฮ !! ยางปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง เผยช่วงนี้เข้าสู่หน้าแล้ง ยางผลัดใบ น้ำยางพาราออกน้อย

1 ปี ago
in เกษตร
Reading Time: 1 min read
2
A A
0
1
SHARES
5
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 67ภายหลังจากราคายางพาราได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วประเทศ ล่าสุดทางสำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ประกาศราคาซื้อขายยาง ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2567 ยางแผ่นดิบคุณ ภาพดี ราคา 85.36 บาท/กก. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 88.56 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย ราคา 56.50 บาท/กก. น้ำยางสด ราคา 78.50 บาท/กก.

โดยบรรยากาศหลังราคายางปรับราคาขึ้นในพื้นที่อำเภอเบตง นายสรรเสริญ จูทะมงคล ผู้ประกอบการรับซื้อยางพารา เปิดเผยว่า ช่วงนี้ยางพารายังผลัดใบอยู่ก็ไม่คึกคักเท่าไหร่ ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่มียางอ่อนก็ยังคงปิดหน้ายาง ส่วนเกษตรกรชาวสวนที่มีต้นยาง พาราแก่หรือมีอายุมากว่า 10 ปี ก็ยังคงตัดกันอยู่ แต่ไม่ได้ทำแผ่น ในอำเภอเบตงส่วนใหญ่เกษตร กรจะทำน้ำยางสดและทำเป็นขี้ยางก้อน สาเหตุที่เกษตรกรไม่ทำยางแผ่น เพราะไม่มีคนงานมาทำยางแผ่น ซึ่งคนงานเป็นตัวเลือก โดยราคาน้ำยางสดในพื้นที่อำเภอเบตง อยู่ที่ ราคา 78.50 บาท/กก. ส่วนขึ้ยางก้อนอยู่ที่ ราคา 57 – 58 บาท/กก. ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปิดราคายางพาราในแต่ละวันของบริษัทเอกชน

ด้านนายอุสมาน สาลัง ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาเบตง เปิดเผยภายหลังจากราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นถึง กก.ละ 90 บาท อำเภอเบตงนั้นเป็นที่ทราบกันว่าเป็นเมืองยาง พารา (Rubber Cities) มีสวนยางพาราอยู่ สามแสนกว่าไร่ ที่มีเอกสารสิทธิและที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ส่วนภาพรวมของอำเภอเบตงเวลานี้เป็นช่วงที่เกษตรกรหยุดทำการกรีดยาง เนื่องจากใบยางยังอ่อนอยู่ ส่วนเกษตรกรที่มียางแก่ก็กรีดอยู่ ส่วนเกษตรกรที่มีสวนยางพาราอยู่ 10 กว่าปีก็ยังคงหยุดตัดอยู่ เลยทำให้สถานการณ์ของยางพา ราเบตงยังคงมีปริมาณน้อยอยู่

ส่วนด้านราคายางพารานั้นกระเตื้องขึ้น จากที่ว่าราคา 40 กว่าบาท 50 กว่าบาท เวลานี้ราคาน้ำยางสดที่เบตงวันนี้อยู่ 70 กว่าบาทต่อกก. ส่วนยางแผ่นรนควันนั้นอยู่ที่ 90 กว่าบาทแล้ว ทำให้รายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราดีขึ้นมากซึ่งมีผลพลอยได้กับรัฐบาลที่มาช่วยดูแลและกำกับในเรื่องนี้ด้วย

ส่วนหน้าที่หลักของการยางพาราแห่งประเทศ ไทย เป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว ในทุกวันนี้สวนยางพาราของเกษตรกรจากที่ผ่ามาไม่มีคนงานมารับจ้างกรีดยาง ทำให้สวนยางพารารกร้าง ซึ่งทุกวันนี้เริ่มทยอยเปิดหน้ายางพารากันใหม่แล้วหลังราคายางพาราปรับขึ้น เนื่องจากส่วนแบ่งระหว่างคนงานกับเจ้าของสวน อยู่กันได้ ถึงในแต่ละเดือนสามารถกรีดยางพาราได้ 10 กว่าต่อเดือนก็ยังอยู่ได้ ถ้าราคายางพารายังคงที่อยู่แบบนี้ที่ราคา 90 – 95 บาท ต่อ กก.

ที่ผ่ามาสวนยางพาราแปลงใหญ่จะไม่มีคนงานเข้ามารับจ้างกรีดยาง สาเหตุมาจากโรคใบยาง พาราล่วงและราคายางพาราและเรื่องฝนตก ต่อเนื่อง ที่ผ่ามา 3-4ปีชาวสวนยางมีปัญหามากซึ่งขณะนี้ดีขึ้นมากหากราคาอยู่แบบนี้สามารถช่วยเกษตรกรชาวสวนยางพารา ได้ดีมาก แต่ก็ไม่ทราบว่าจะยืนราคาได้นานเท่าไหร่ก็ยินดีกับเกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งใน 4 ตำบลของอำเภอเบตง จะทำยางพาราขายเป็นน้ำยางและยางก้นถ้วยหรือขี้ยาง ส่วนยางแผ่นร่นควันนั้นส่วนมากจะจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ซึ่งมีการยาง พาราแห่งประเทศไทย สาขาเบตง ดูแลอยู่โดยมีสหกรณ์สุตัน สหกรณ์บ่อน้ำร้อน สหกรณ์ตาเนาะแมเราะ สหกรณ์ยะรม ก็ทำให้สมาชิกสหกรณ์มีรายได้เพิ่มขึ้น คือส่วนต่างจากการขายน้ำยางสดและให้สหกรณ์ผลิตทำให้เกิดส่วนต่าง 10 กว่าบาทต่อ กก. ถือว่ารายได้เพิ่มขึ้นของสมาชิก

ความจริงเรื่องแผ่นยางพาราที่ยาวที่สุดก็เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอเบตง ในความจริงเป็นจริงที่ต้องทำยางแผ่นยาวเนื่องจากสวนยางพาราของเจ้าของสวนมีพื้นที่ค่อนข้างไกล การขนส่งลำบากมาก เลยทำให้เจ้าของสวนยางพาราต้องทำแผ่นยางพาราที่ยาวประมาณ 4 – 5 เมตร ซึ่งที่อื่นไม่มีทำยางแผ่นยาวขนาดนี้ สาเหตุที่ต้องทำแผ่นยางพารายาว มาจากการขนส่งลำบากหากทำแผ่นยางพาราเหมือนทั่วไปคือแผ่นเล็กมันไม่คุ้มเพราะสวนยางพารา ส่วนมากจะอยู่บนภูเขาสูง

อีกประเด็นก็คือเจ้าของสวนยางพาราแปลงใหญ่ส่วนมากจะได้น้ำยางพารามา 10 กว่าแกลลอนน้ำหนัก กว่า 100 กก.หากทำยางแผ่นเล็ก 1 กก. ทำให้เสียเวลาและไม่คุ้มในการขนส่งในวันหนึ่งก็ทำไม่เสร็จหากทำยางพาราเป็นแผ่น เกษตรกรจึงได้ประยุกต์โดยทำให้น้ำยางใน 1 แกลลอนจะทำยางพาราได้ 1 – 2 แผ่นเท่านั้นแต่ยาง 1 แผ่นมีน้ำหนักอยู่ 7 – 8 กก.ต่อแผ่น ซึ่งในวันนี้ยังมีทำกันอยู่ แต่มีน้อยแล้ว หลังจากมีถนนหนทางที่ทาง อบต.แต่ละพื้นที่พัฒนาขึ้นทำให้สะดวกในการขนส่งผลผลิตออกจากสวนยางพารา ทำให้ชาวสวนยางพาราเปลี่ยนจากการทำแผ่นยาง พารามาขายน้ำยางสดกันแทนในปัจจุบัน

ส่วนกรณีที่ชาวสวนยางพาราได้โค่นยางพาราหันมาปลูกทุเรียนแทนนั้น นายอุสมาน สาลัง ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาเบตง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางการยางฯได้ส่งเสริมพืชเชิงเดี่ยวแต่ในปัจจุบันทางการยางฯได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางปลูกพืชแบบไม่ยืนต้น คือที่อำเภอเบตงส่วนมากจะเปลี่ยนแปลงสาเหตุจากราคายางพาราตกต่ำ เลยมาเปลี่ยนเป็นสวนทุเรียน ซึ่งตอนนี้ที่มาขอทุนกับการยางแห่งประ เทศไทย สาขาเบตง ในปีงบประมาณ 2567ทะลุเป้าจากที่อนุมัติมา 1,000 ไร่ แต่ในปีนี้มีเกษตร กรชาวสวนยางยื่นของทุนกว่า 4,000 กว่าไร่เลยเป็นปัญหาในเรื่อง น้ำ ที่จะรดน้ำต้นทุเรียนได้เกิดปัญหาแล้ว คือน้ำไม่เพียงพอโดยเฉพาะในช่วงนี้เป็นหน้าแล้งด้วย

ซึ่งการปลูกทุเรียน ต้องใช้น้ำไม่เหมือนการปลูกยางพารา นี่คือปัญหาในปัจจุบันของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่หันมาปลูกทุเรียน ส่วนทางการยางฯก็ได้ส่งเสริมเพราะเป็นรายได้เสริมจากอาชีพสวนยางพารา เพราะในทุกวันนี้คนปลูกยางพารา 10 ไร่กับคนปลูกทุเรียน 10 ไร่ซึ่งมีรายได้ต่างกันมากเลย แต่การปลูกทุเรียนมีต้นทุนที่สูงมากเลยทีเดียว แต่มันเห็นภาพที่ทุเรียน กก. ละ 100 กว่าบาท ส่วนยาง พาราที่ผ่านมา กก.ละ 30 บาท 3 กก. 100 บาท ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ต้องเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงก็คิดว่าดี เพราะมันคือรายได้ของเกษตรกรที่จะสามารถปลูกพืชยั่งยืน คือพืชร่วมยางพารา มีการผสมผสานคือมียางพารา มีสวนผลไม้ เพราะถ้าหากราคายางพาราตกต่ำก็สามารถไปขายผลไม้ ซึ่งเป็นตัวเลือกของเกษตร กรชาวสวนยาง พารา โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกทุเรียน มีพื้นที่ สี่หมื่นกว่าไร่แล้วและในอนาคตคาดว่าอาจจะมีเพิ่มขึ้นเพราะเจ้าของสวนแต่ละเจ้ามีสวนแปลงใหญ่ทั้งนั้น ซึ่งต่อไปพื้นที่ปลูกทุเรียนของอำเภอเบตง จะเป็นพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า ที่อื่นเพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจด้วย ดินก็ดี อากาศก็ดี ซึ่งเป็นตัวเลือกในการปลูกทุเรียนในอำเภอเบตง ของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในวันนี้.

ภาพ/ข่าว เจษฎา สิริโยทัย จ.ยะลา

Previous Post

เอฟซีกรี๊ด !! “ขุนเดช มหาไชย” ศิลปินเพลงจิตเวช ขึ้นแท่นเป็นนักร้องเต็มตัวแล้ว !!

Next Post

ชาวบ้านโวย !! จัดงานฝังลูกนิมิตวัดดัง จ.ระยองไม่โปร่งใส ค้านจัดงาน ทั้งที่เจ้าอาวาสมรณะยังไม่ทำบุญ 100 วันเลย เจอพิรุธเพียบ วอนสำนักพุทธศาสนาตรวจสอบ !!

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

เกษตร

“ประมวล ” เชิญ 2 อธิบดีประชุมด่วน กำหนดมาตรการแก้ปัญหาราคามังคุดภาคใต้

2 วัน ago
8
เกษตร

ยโสธรลุ้น โคขุนหนองแหน สุดยอดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับประเทศ

3 วัน ago
9
เกษตร

กาญจนบุรี – ดังกระห่ำต้นแรกของโลก!! เปิดประมูล “ทุเรียนลอยน้ำ” 1 ใน 2 ลูก จากแพมาลัย ปิดประมูลโดยสมาคมทุเรียนกาญจนบุรี มูลค่า 300,000 บาท

4 วัน ago
58
เกษตร

กาญจนบุรี – กำลังฮือฮาหญิงแกร่งคนนนทบุรี หนีน้ำท่วมจากบ้านเกิด มาทำไร่ทุเรียนไร้หนามอยู่ทองผาภูมิ!! แนวคิดจากทุเรียนทั่วไป โดยมีการปรับทุเรียนสายพันธุ์ก้านยาว และหมอนทอง มาเป็นทุเรียนไร้หนามไร้หนามนานกว่า 5 ปี ให้แปลกจากทุเรียนทั่วไป และได้ผลดีเป็นที่พอใจ

5 วัน ago
14
Next Post

ชาวบ้านโวย !! จัดงานฝังลูกนิมิตวัดดัง จ.ระยองไม่โปร่งใส ค้านจัดงาน ทั้งที่เจ้าอาวาสมรณะยังไม่ทำบุญ 100 วันเลย เจอพิรุธเพียบ วอนสำนักพุทธศาสนาตรวจสอบ !!

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

ชัยนาท ท่านเจ้าคุณโอนจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษาเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่10

6 ชั่วโมง ago
9

ปราจีนบุรี คณะผู้ใจบุญถวายเทียนพรรษา9วัด

7 ชั่วโมง ago
5

ขนส่งเชียงราย ประมูลหมายเลขทะเบียนรถเลขสวย หมวด ขง “ข้าว ขวัญ เงินทอง กองล้น” ขง 9999 ประมูลไป 675,000 บาท

7 ชั่วโมง ago
4

“อัสนี จารุชาต” ผอ.ชลประทานแพร่ ติดตามการทำงานการลอกรื้อสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลำห้วยแม่พวก ต.เด่นชัยฯ

9 ชั่วโมง ago
11

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดแพร่ จัดปฐมนิเทศชี้แจ้งเงื่อนไขและติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนนิกส์ติดตามตัว

13 ชั่วโมง ago
6

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : [email protected]
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com