
วันที่ 20พ.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางอารีย์ บำรุงราษฎร์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับ นางสุนี เทียมทัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ นายเอนก ไชยวุฒิ ผู้ช่วยผู้อำนวยการน พร้อมด้วย นายปรีชา ใสสุข ผู้จัด การ ธ.ก.ส.สาขาสองพี่น้อง นายนันทวัฒน์ นิลสนธิ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางปลาม้า นายพัลลภ อ่อนศรี พนักงานพัฒนาลูกค้า สำนักงาน ธ.ก.ส. สุพรรณบุรี ได้จัดอบรมโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ ประจำปี 2567 มีเกษตรกรลูกหนี้รายย่อย ธ.ก.ส.สาขาบางปลาม้า เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย ตามนโยบายรัฐบาล เข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าจำนวน 337 คน โดยมี นายสามารถ เอี่ยมวงษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ธ.ก.ส. เป็นประ ธานในพิธีเปิดการอบรม ณ เสรีภาพการเกษตร ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นางอารีย์ เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.จังหวัดสุพรรณบุรี มีเกษตรกรลูกหนี้รายย่อย มีสิทธิเข้าร่วมมาตร การพักชำระหนี้ ตามนโยบายรัฐบาล จำนวน 22,145 ราย มีผู้แสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการจำนวน 16,965 ราย นอกจากจะได้รับการพักชำระต้น และพักชำระดอกเบี้ย ตลอดระยะเวลา 3 ปี ยังจะได้รับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ โดยมีจำนวนเกษตรกรลูกหนี้รายย่อย กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ารับการอบรมฟื้นฟูทั้งประเทศ ปีละ 300,000 ราย ในส่วนของ ธ.ก.ส. จังหวัดสุพรรณบุรี มีมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ต้องอบรมฟื้นฟู ปี 2567 นี้จำนวน 3,579 ราย ครอบคลุมลูกค้าทั้ง 13 สาขาใน 10 อำเภอ โดยมีกำหนดจัดการอบรมฟื้นฟูทั้งสิ้น 28 รุ่น โดยกำหนดการอบรมฟื้นฟู จนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 กระจายไปในพื้นที่แต่ละอำเภอ
สำหรับโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพเดิม และสร้างอาชีพเสริมของเกษตรกร ลดต้น ทุนการผลิต ลดความสูญเสีย ลดความเสี่ยง เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต เพิ่มมาตรฐานผลผลิต และผลิตภัณฑ์ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อเพิ่มทักษะของเกษตรกรให้สามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรม ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ในการประกอบอาชีพ ให้มีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน และรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้กรอบพัฒนา “3 ลด 3 เพิ่ม 3 สร้าง ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยบูรณาการความร่วมมือกับส่วนงานราชการ โดยมีกระบวนทัศน์ในการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิม เสริมอาชีพใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีทำ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ เน้นการให้ความรู้ทางการเงิน การวางแผนการผลิตก่อนการผลิต และการฝึกอาชีพ นำไปสู่การส่งเสริมการประ กอบอาชีพระยะสั้น การพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน การเพิ่มคนภาพการผลิตกิจกรรมการฝึกอบรมจะประกอบด้วยการให้ความรู้ทางการเงิน การวางแผนทางการเงินภัยทางการเงิน การเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพเดิม การประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ การฝึกอาชีพ และการฝึกปฏิบัติจริง.
Discussion about this post