เมื่อวันที่ 24 พ.ค.67 ที่โรงแรมปลาวาฬ ถนนอดุลยทาน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ว่าที่ผู้สมัคร นายก อบจ. นครพนม กล่าวว่า ทีมงานมีครบทุกตำแหน่งแล้ว จะแถลงหลังจากได้รับคัดเลือกแล้ว เหตุผลของการอยากเป็นนายก อบจ.นครพนม คือ เป็นรัฐบาลท้องถิ่น ถ้าได้รับเลือกในการใช้ภาษีอากร ภาษี VAT ในแต่ละปี สองล้านล้านบาท งบประมาณแผ่นดิน สามล้านล้าน พี่น้องประชาชนต้องเสียภาษี เงินเหล่านี้เป็นเงินที่มาใช้จ่ายรัฐบาลท้องถิ่น อบจ. อบต. เทศบาล อบจ. นครพนม เฉลี่ยปีละ ห้าร้อยล้าน เพื่อใช้บริหารฝ่ายต่าง ๆ 40 เปอร์เซ็นต์ สองร้อยล้าน เหลืออีกสามร้อย ล้านเป็นของประชาชน ดูแลหมู่บ้าน หนึ่งพันหนึ่งร้อยยี่สิบหกหมู่บ้าน 266,000 บาท /หมู่บ้าน หลายที่ บริจาค หนึ่งล้านบาท หักไว้ สองแสนบาท คือเงินภาษีของประชาชน ถ้าได้รับเลือกจะใช้เงินจำนวนนี้จะได้ใช้อย่างบริสุทธิ์

ถ้าได้รับเลือกให้ สจ.ดูแลเงินภาษี จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เช่น ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ได้รับ เจ็ดร้อยบาท อาจจะเพิ่มให้อีก ถ้าผู้เลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำโขง ปลาตาย คนเลี้ยงปลาต้องมีค่าใช้จ่าย อาจจะเอาเงินภาษีเหล่านี้ไปบรรเทาทุกข์ของผู้เลี้ยงปลา นโยบายของนายก อบจ.มีอำนาจ อาจจะตั้งโรงพยาบาล รวม รพ.สต.มา เจ้าหน้าที่เป็นลูกจ้าง บรรจุเป็นข้าราชการ ทำโรงเรียนกีฬา โรงจำนำ ทำทุกอย่างได้ ถ้ามีการสร้างร้านสะดวกซื้อ โดยติดต่อร้านซุปเปอร์มาเก็ตในจังหวัด มีส่วนแบ่งให้เอกชน ค้าขายได้ มีกำไร จากการที่ไม่ลงทุนอะไร โดยให้เอกชนลง ทุน การซื้อขายสินค้าโดยไม่ผ่านคนกลาง ซื้อไฟฟ้ามาขาย บางคนบอกว่าผิดกฎหมาย กฎหมายแก้ได้
อบจ.มีสมาคม อบจ. สมาคม อบต. สมัชชาเทศ บาลต่าง ๆ เป็นกรรมการเอง มีอำนาจในการพูดคุยทั่วประเทศ ร่างกฎหมายในการเลือก ผู้ว่าราชการจังหวัด ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วม พรรคการเมืองอยู่ในสภา ก็ต้องทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ มีส่วนประกอบบังคับโดยประชา ชน เป็นสิ่งที่ปรารถของตน ถ้าได้รับเลือกจะเป็นตัวอย่างให้ นายก อบจ.ทั่วประเทศ มีอำนาจเพื่อช่วยเหลือประชาชน ช่วยรัฐบาลกลางได้ด้วย
การเลือกตั้ง นายก อบจ. หมดวาระวันที่ 20 ธ.ค. 67 ประกาศเลือกตั้ง 2 ก.พ. 68 เลือกตั้ง มี.ค.68 มีการตั้งคณะทำงานเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ประชุมหัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน มีเบี้ยเลี้ยงตามกฎหมายกำหนด บางคนไม่เข้าใจ บอกว่ามีเทศบาลช่วย ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล หรือ อบจ. การบริหารจัดการจะต้องควบคุมด้วยประชาชน ถ้าเป็นการโกหก ชีวิตตนคงจะสั้นลง เพราะว่า โกหกประชาชน เหลือเวลา 6 เดือน ได้เดินทางไปแล้ว ประมาณ แปดร้อยหมู่บ้าน ค่อย ๆ ทำไป ทำไปเรื่อย ๆ กระแสตอบรับก็ดี หลังจากที่เล่าให้ประชาชนฟัง หลายคนถามเรื่องพรรคการเมือง กฎหมายไม่ได้กำหนด นายก อบจ.เข้าสังกัดพรรคการเมือง เจ้าของคือประชาชน ไม่ใช่พรรค การเมือง ต้องทำดีต่อประชาชน นโยบายแต่ละพรรคไม่เหมือนกัน พรรคการเมืองมีสองแบบ เป็นเจ้าของประชาชน หรือ ประชาชนเป็นเจ้า ของ อบจ.ของตน คือ ประชาชนเป็นเจ้าของ ส่วน ส.อบจ.ต้องมีสังกัดพรรค
เรื่องคู่แข่งแนวทางการต่อสู้ ต้องต่อสู้กับตัวเอง ต่อสู้กับประชาชน การเลือกตั้งเป็นสงครามแห่งความรัก ให้ประชาชนรักเรา คนรักร้อยคน ได้แต้มร้อยแต้ม รักทั้งหมู่บ้าน ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ประชาชน.
Discussion about this post