วันนี้ (1 ต.ค. 67) ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงเพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 18 ตุลาคม 2347 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2394 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2394 ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ได้ทรงพระราชกรณียกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรในรัชสมัยของพระองค์หลายด้าน เช่น ด้วยการปกครอง ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการจัดตั้งตำรวจนครบาลขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง พร้อมกับทรงจัดตั้งศาลยุติธรรม และโปรดแก้ไขกฎหมาย จำนวน 500 ฉบับ เพื่อให้ทันสมัย และเป็นสากลมากขึ้น ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ทรงเข้าใจในความต้องการของประชาชน ว่าต้องการเข้าเฝ้า เพื่อชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดและเปิดเผย พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกเลิกการบังคับให้ประชาชน ปิดประตูหน้าต่างสองข้างทางที่เสด็จพระราชดำเนินผ่าน และให้ประชาชนเข้าเฝ้าได้อย่างทั่วถึง ด้านวรรณกรรม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากมาย บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ตำนานเรื่องพระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์ เป็นต้น และทรงริเริ่มให้มีกาค้นคว้าศิลาจาคึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย ด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธสาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ ขึ้นเป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่ความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผน ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตก ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตำกอย่างกว้างขวางมีการทำสัญญากับต่างประเทสกถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย “ผ่อนสั้น ผ่อนยาว” มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นประองค์แรกในสมัยรันโกสินทร์ อันทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ และสุดท้ายด้านวิทยาศาสตร์ พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงล่วงหน้า 2 ปี ได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2525 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และต่อมาทรงได้รับยอย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน และทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2411
สมพงษ์ ปานรุ่ง สระบุรี
Discussion about this post