เสนอพื้นที่ รพ.สต.สมัครใจ ใน 8 อำเภอไม่น้อยกว่า 10 แห่ง เปิดอบรมประชาชนเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน –ความดัน ลดฮาการตามแนวทางจัดการโรค NCDs ของตำบลป่าแดงที่ปรับพฤติกรรมลดการป่วยได้ร้อยละ 93

ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2568 การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของตำบลป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ โดยนำกลุ่มเป้าหมายที่มีค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ “กลุ่มเสี่ยง”คือค่าน้ำตาลในเลือด 100 – 140 mg% จำนวน 60 คน จากหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 เป็นกิจกรรมอบรมช่วงสุดท้ายจากหลักสูตรอบรม 5 เดือนต่อเนื่อง ถือเป็นการปิดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีเป้าหมายการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมาก่อนเริ่มอบรมมีการตรวจเช็คค่าน้ำตาลในเลือด ซึ่งทุกคนมีค่าน้ำตาลเกินกว่าปกติเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน นำมาอบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการบริโภคอาหารใน 24 ชั่วโมงต้องปฏิบัติตัวอย่างไร การออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสมเช่น การเดิน การขี่จักรยาน ฯลฯ เมื่อให้ความรู้แล้วต้องนำไปปฏิบัติ โดยมีแกนนำที่มาจาก อาสาสมัครและ อสม.ที่มีความรู้การปฏิบัติตน หมู่บ้านละ 5 คนคอยเป็นพี่เลี้ยง พร้อมมีการรายงานการปฏิบัติผ่านกลุ่มไลน์
หลังเดือนที่ 3 และเดือนที่ 5 จะมีการเจาะตรวจดูค่าน้ำตาลในเลือด เก็บเป็นสถิติรายคนพบว่า มีผลเลือดออกมาในทางที่ดีค่าน้ำตาลลดลง ซึ่งจะมีผลตามมาอีกคือ น้ำหนักลด และ ค่าความดันสู่ระดับปกติ ส่งผลต่อสุขภาพในเชิงบวก โครงการดังกล่าวประเมินการทำงานในรอบ 5 เดือนประสบความสำเร็จถึงร้อยละ 95 ในจำนวนผู้เข้าอบรม 60 คน มีค่าน้ำตาลในเลือกที่ลดลงเหลือต่ำกว่า 100 ออกจากกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้มีสุขภาพปกติถึง 22 คน
นางพันธ์ทิพย์ สำราญชลารัตน์ อดีตพบาบาลวิชาชีพชำนาญการ ระบุว่า ความสำเร็จดังกล่าวอยู่ที่กลไกการทำงาน ทั้งกรรมการบริหารจำนวน 11 คนที่มาจากอาสาสมัครในชุมชน แกนนำประจำหมู่บ้านที่มีความรู้ และการปรับพฤติกรรมแบบง่ายๆ คือให้ ผู้เข้ารับการอบรม กลับไปรับประทานอาหารแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม เน้นการรับประทานผักพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี ลดการซื้อหารหารสมัยใหม่ที่มีสารปรุงแต่งมารับประทาน และยังมีการแลกเปลี่ยนตำรับยาต้มที่มาจากสมุนไพรในป่าชุมชนและปลูกเองในบริเวณบ้าน เช่น ยาต้มใบมะกรูด ตำรับยาต้มลดน้ำตาลในเลือดจากต้นอ้อยดำ ใบเตย และ ไม้ฝาง เป็นต้น สิ่งที่สำคัญของโครงการคือการปรับตัวของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีการควบคุมให้กำลังใจนานถึง 5 เดือนติดต่อกันทำให้เกิดความเคยชินและปฏิบัติต่อเนื่องได้
นางพันธ์ทิพย์ กล่าวด้วยว่า การทำงานดังกล่าวเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์คล้ายงานวิจัยย่อย ถือเป็นทางออกในการแก้ปัญหาโรค NCDs ในจังหวัดแพร่ ล่าสุดนายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ให้ความสนใจกรอปกับเป็นนโยบายของทางรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขการป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ให้ลดลง โดยทางอบจ.แพร่ มีแผนนำร่องใน 10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 10 แห่งใน 8 อำเภอใช้หลักสูตรการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้านป่าแดงเป็นต้นแบบ ซึ่งขณะนี้มีการประชุมผ่านกองสาธารณสุข อบจ.แพร่มาแล้ว 1 ครั้ง อยู่ระหว่างการเลือก รพ.สต.ที่สมัครใจในอีก 1 เดือนข้างหน้า ซึ่ง อบจ.แพร่มีงบประมาณพร้อมดำเนินการ
โครงการปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน-ความดัน ชาวบ้านป่าแดง เกิดขึ้นได้จากแผนการทำงานพัฒนาภูมิปัญญาด้านสุขภาพ จังหวัดแพร่ จากเครือข่ายหมอพื้นบ้านจังหวัดแพร่ ร่วมกับมูลนิธิสุขภาพไทย ทำงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และพัฒนาหมอพื้นบ้าน มานานกว่า 20ปี ซึ่งเป็นที่มาของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชาวบ้านป่าแดง ซึ่งได้รับความร่วมมือ จากนายวิทยา กันกา นายก อบต.ป่าแดง นายชาตรี คำเขื่อนผอ.รพ.สต.ป่าแดง จิตอาสาเบาหวาน อสม.ป่าแดง โดยมีการสนับสนุนเงินทุนจาก สสส..
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
061-595-5297
Discussion about this post