
เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2568 คุณศรานันท์ คูโคเวค ประธานคณะจิตอาสา นายประทวน สุวรรณ์ รองประธานคณะจิตอาสา พร้อมเครือข่ายคณะจิตอาสาหลายพื้นที่ โดยได้รับเกียรติจาก นายพุทธาสิทธิ์ จันทร์เต็ม ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี ร่วมกิจกรรมปักกล้าดำนาแปลงนาสาธิต 15 ไร่ ณ แปลงนาสาธิต 15 ไร่แบบผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
โดยนางสาวฐิติรัตน์ บุญพูน ผู้ตรวจการคณะทำงานจิตอาสาประจำจังหวัดอุดรธานี 2 กล่าว โครงการแปลงนาสาธิต 15 ไร่ แบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้มีการทำนาสำหรับทำการเกษตรเป็นจำนวนมากทำให้เหมาะสมกับการทำเกษตรเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ และปลอดสารพิษ จึงใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอมมะลินั้นเป็นข้าวที่ดีที่สุดของประเทศไทย และมีราคาสูงกว่าข้าวชนิดอื่นมาก
โดยความต้องการข้าวหอมมะลิยังมีความต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างไม่จำกัด แต่ผลผลิตที่ออกมาบางครั้งคุณภาพไม่ตรงกับความการของตลาดและมีต้นทุนการผลิตสูงมากในปัจจุบันทำให้เป็นเหตุผล การทำเกษตรแบบผสมผสานตามปรัชญาเกษตรพอเพียงจะทำให้เกษตรกรได้เรียนรู้และพัฒนาใน การทำการเกษตรให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่ให้แก่เกษตรกรและเพื่อพัฒนา เกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้นเพื่อประกอบอาชีพและสามารถเลี้ยงครอบครัวได้
ต่อมา นางสุภาพร เหลาภา ประธานคณะทำงานจิตอาสาจังหวัดอุดรธานี 2 ได้กล่าวว่าวัตถุประสงค์การดำเนินการแปลงนา 15 ไร่แบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ของคณะทำงานจิตอาสาจังหวัดอุดรธานี 2
มีดังนี้ 1 เพื่อเป็นศูนย์รวมการสร้างงานสร้างอาชีพให้ทุกคนมีรายได้
2 เพื่อเป็นการแสดงความรักความสามัคคีในการทำงานร่วมกันของคณะทำงานจิตอาสา
3 เป็นการสืบสานวัฒนธรรมการทำนาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา
4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรกรรมแบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่กับผู้สนใจ
นายประทวน สุวรรณ์ รองประธานจิตอาสา กล่าวว่า โครงการจิตอาสา ปีแรกผลผลิตที่ได้ เราจะขายทั้งหมด เนื่องจากเราจะยังไม่มีต้นทุนมากพอ ปีต่อไปก็เอาต้นทุนการผลิตของปีนี้ขยายกำลังเพิ่มไปสู่อำเภอเพื่อจะให้ได้ควบคุมทั้งทุกอำเภอ เมื่อผลผลิตเสร็จแล้วได้ 100% จะแบ่งออกเป็น บ้าน วัด และโรงเรียนเราจะแบ่งผลจากการขายได้ร้อยหนึ่ง ไปบ้าน 30 ไปโรงเรียน 30% ไปวัด 30% ในอีก10% เอาไว้ดูแลคณะจังหวัด เผื่อตกทุกข์ได้ยาก หรือป่วยไข้ อันนี้คือโครงการที่1 โครงการที่2 เรา ทำเป็นโค่กหนองนาโมเดล โดยปรับพื้นที่ของเจ้าของที่นา ให้เป็นพื้นที่ที่ดีและปลอดสารพิษเมื่อถึงเวลานั้นเราจะนำข้าว ที่เราได้เอาไปช่วยเหลือในโครงการต่างๆของ ภาครัฐ อาทิเช่น พัฒนาชุมชนหรือของส่วนรวมจังหวัดที่เค้าขอความอนุเคราะห์มา แต่ถ้าเค้าไม่ขอความอนุเคราะห์มา เราก็จะเตรียมของพวกนี้เอาไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ประมาณนี้
การคัดเลือก สมาชิก 1 คือ เอาเฉพาะท่านที่มีอุดมการและขอเข้าร่วมภายใน5 ปี แต่เราก็จะมีค่าเช่านาไร่ละไม่เกิน 1,000 บาท เพราะว่าเราจะทำข้าวไปสู่ชุมชนเขา ส่วนโค่กหนองนาโมเดลเราจะมีการปรับพื้นที่ และให้มีการเลี้ยงทุกอย่างเหมือนโครงการของพ่อ ปลูกอะไรก็กินอันนั้นอันนั้น ต่อไปเมื่อขยายเมื่อเติบโตขึ้น เราก็จะมีการเปิดให้น้องน้องเข้ามาร่วมกิจกรรม อาทิเช่นตอนนี้ก็จะมีโรงเรียน กศน. โรงเรียนเทคโน เทคนิค ทุกจังหวัดโซนอีสานเข้ามาช่วยเหมือนโครงการพี่ช่วยน้อง พี่มาดำนาทำนาเอาข้าวไปดูแลน้อง ตัวที่จะช่วยชาวนาให้เข้มแข็ง คือโครงการที่ 3 โครงการปันสุข แต่กว่าจะไปถึงโครงการที่ 3 คือเราต้องหานาทำเพื่อให้ได้ผลผลิตและต้นทุน เพื่อเสนอของบประมาณ ในผู้ที่เขาช่วยเหลือมา ตอนนี้มีทั้งหมด 25 จังหวัดที่ทำนา ประกอบภาคตะวันออก จังหวัดนั้นคือสระแก้ว ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่อง โครงการนี้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 แต่ทางเรารวบรวมจิตอาสาได้แล้ว 3 ปี จากที่ได้เริ่มทำมาปีแรกจะไม่ค่อยได้ผลผลิต เนื่องจากว่าบางพื้นที่เกิดน้ำท่วม และบางพื้นที่เกิดภัยแล้ง เลยไม่ได้ ปีที่แล้วได้ผลผลิตภาพรวมประมาณ 60% ของรายได้ ปีนี้คิดว่าผลผลิตน่าจะได้ประมาณ 85% โดยประมาณ ตอนนี้ทุกจังหวัด มีผลผลิตภาพรวมที่ไม่เหมือนกัน บางจังหวัดที่นาเป็นที่เช่าไม่ใช่ที่นาสมาชิกเราก็จะมาปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากไม่ได้ แต่ อันไหนที่เป็นแปลงนาสมาชิก ของสมาชิกโดยตรง เราจะสามารถปรับปรุงพื้นที่นา ให้มันเหมาะสมกับพื้นที่และทำเป็นโค่กหนองนาได้
ส่วนโครงการปันสุข เป็นสเต็ปที่ 3 โครงการปันสุขคือการเช่าที่นาของสมาชิก ทำเป็นโค่กหนองนาโมเดลโดยเราหาต้นทุนมาปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับที่นาแปลงนั้น ในที่นาก็จะมีการขุดสระเลี้ยงปลา เลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ ออกแบบเป็นโค่กหนองนา พอเสร็จปีแรกที่เราเลี้ยง ในปีต่อไป สามารถทำปิ่นโตปันสุขได้ เนื่องจากว่าผลผลิตเราออกแล้วได้แล้ว มีทั้งไก่ มีทั้งเป็ด มีทั้งหมู มีทั้งข้าว ปิ่นโตปันสุขเราก็จะแจกในสมาชิกในหมู่บ้าน คือเอาผลผลิตที่มีมาทำกับข้าว เพื่อย่างเข้าสู่ปิ่นโตปันสุข เอาไปให้กับชาวบ้านสมมุติมี 100 หลังคาเรือน เราก็ทำ 100 ปิ่นโต เพื่อให้เพียงพอต่อชาวบ้าน คนที่จะทำเรื่องนี้ก็จะเป็นสมาชิกของจิตอาสาประจำแต่ละพื้นที่ เป็นคนทำเพื่อดูแลชุมชน ผู้ที่อ่อนแอ ซึ่งเราจะทำเพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ เป็นการดูแลกันในชุมชน ส่วนโครงการของผู้ป่วยติดเตียง คือทางจิตอาสามีการเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงโดยการมอบสิ่งของโดยทางภาครัฐสามารถขอจากตัวแทนจิตอาสา ประจำพื้นที่นั้นนั้นได้เลย ส่วนอีกจุดหนึ่งก็จะให้ อสม . ที่ไม่ได้เป็นตัวจริงเข้าไปช่วยดูสมาชิกที่ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยพิการประจำชุมชนนั้นนั้น ส่วนโมเดลที่นำร่องโครงการ สามารถไปดูโครงการได้เลยอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว สามารถเข้าไปดูงานและศึกษาได้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยโครงการนี้เข้าปีที่สองแล้วแต่เราได้รวมจิตอาสาได้ประมาณสามปีเพื่อได้ดำเนินการทำโครงการนี้
ภาพ/ข่าว ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล