
วันที่ 11 กันยายน 2564 นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เผยศึกษาดูงานที่ชลประทานลำพูน ตามโครงการสื่อมวลชนสัญจร ว่า ชลประทานที่ 1 ดูแลพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ภาพรวมการบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนงาน ส่งน้ำไปพื้นที่เกษตรเพื่อเพาะปลูกข้าว ลำไย พืชสวนและพืชไร่
แต่ปีนี้มีร่องมรสุมพัดผ่าน้อย ทำให้น้ำไหลลงเข้าสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่น้อย แต่บริหารจัดการและจัดสรรน้ำ เพื่อการเกษตร ประปา ประมงและรักษาสิ่งแวดล้อมลำน้ำปิง และลำน้ำกวงให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
“ช่วง 4-5 ปี ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ลดลง โดยเฉพาะเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ที่จัดสรรน้ำให้เชียงใหม่ และลำพูน มีปริมาณกักเก็บเพียง30 % หากปริมาณน้ำน้อยกว่า 18 % อาจงดทำการเกษตรทั้งหมดแต่มีโครงการจ้างงานเกษตรกร วันละ 378 บาท หรือ 7,000-8,000บาท/เดือน เพื่อขุดลอกคูคลองในฤดูแล้ง เป็นการชดเชยรายได้แทน” นาย
สุดชาย กล่าว
ส่วนการแพร่ระบาดโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เกษตรกรยังคงทำการเกษตรตามปกติ แต่กรมชลประทานมีนโยบายให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ป้องกันตัวเอง หรือทำงานที่บ้านแทน พร้อมใช้เครื่องมือสื่อสาร หรือโซเซียลมีเดียประสานเครือข่ายและกลุ่มผู้ใช้น้ำลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำกวง โดยมีอาสาสมัครชลประทาน
เป็นตัวขับเคลื่อน และพร้อมเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว หรือเปิดเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะท่องเที่ยวในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 อำเภอ นำร่องเปิดท่องเที่ยวเชียงใหม่ก่อน ภายใต้การจำกัดนักท่องเที่ยว และคัดกรองอย่างเข้มงวดด้วย

ด้านนายวุฒิชัย รักษาสุข ผู้อำนวยการชลประทานลำพูน กล่าวว่า มีลุ่มน้ำย่อย 7 พื้นที่ คือลุ่มน้ำแม่กวง ลุ่มน้ำแม่ทา ลุ่มน้ำแม่ลี้ ลุ่มน้ำแม่หาด ลุ่มน้ำแม่อาว ลุ่มน้ำแม่ปิง ส่วนที่ 2 และลุ่มน้ำแม่ปิงส่วนที่ 3มีพื้นที่เพาะปลูก 2,816,178 ไร่ พื้นที่การเกษตรรวม 687,123 ไร่แบ่งเป็น พื้นที่ปลูกลำไย 270,245 ไร่ ปลูกข้าว 140,718 ไร่ อยู่ในเขต ชลประทาน 157,718 ไร่ เฉพาะโครงการส่งน้ำแม่กวง มีพื้นที่
ดูแล 51,878 ไร่ ซึ่งโครงการอุโมงค์ผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่แตง มายังขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ก่อนผันน้ำไหลลงสู่เขื่อนแม่กวงอุดมธารามีความคืบหน้า กว่า 60 % คาดแล้วเสร็จปี 2568 หากแล้วเสร็จสามารถเพิ่มปริมาณน้ำ ปีละ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ลำพูนมีพื้นที่รับน้ำเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภคมากขึ้น
“ช่วงการระบาดโควิด 2 ปีที่ผ่านมา ได้ปล่อยน้ำสู่พื้นที่การเกษตรรวม 470,000 ไร่ คิดเป็น 97 % ของพื้นที่ทั้งหมด เหลือเพียง 3 %ที่ไม่ได้ทำการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรได้รับผลกระทบจากโควิด
บางส่วน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชดเชยเกษตรกรที่ปลูกลำไย ที่ อ.เมือง อ.ป่าซาง อ.ลี้ ไร่ละ 2,000 บาท รวมกว่า 100ล้านบาทแล้ว” นายวุฒิชัย กล่าว
ส่วนแผนการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ 13 กลุ่ม ไม่เป็นไปตามเป้าหมายจัดตั้งได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่ดูแล ดังนั้นอยากให้มีการขยายพื้นที่รับน้ำ หรือแก้มลิงนอกเขต
ชลประทานมากขึ้น เพื่อดูแลเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำอย่างเท่าเทียม และทั่วถึงด้วย
/////////////////////////////
ทีมข่าว Talknews online รายงาน
Discussion about this post