ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home ที่นี้มีปัญหา

ทีมนักวิชาการ มช.ลงพื้นที่ผันน้ำยวม แนะรัฐทบทวน EIA-ชะลอโครงการก่อน ทีมเยาวชนสำรวจแม่น้ำ-ระบบนิเวศ เผยร่วมปกป้องธรรมชาติ

4 ปี ago
in ที่นี้มีปัญหา
Reading Time: 1 min read
2
A A
0
1
SHARES
6
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Regional Center for Social Science and Sustainable Development : RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ถึงการลงพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล หรือที่รู้จักกันในชื่อโครงการผันน้ำยวม ว่าได้เดินทางพร้อมคณะไปที่บ้านแม่งูด อำเภอฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นปากอุโมงค์ผันน้ำมาลงอ่างเขื่อนภูมพล โดยสิ่งที่พบคือชาวบ้านบอกว่าถูกหลอกโดยมีคนที่อ้างว่าเป็นสื่อมวลชนมาถ่ายทำความคิดเห็นของชาวบ้าน และชาวบ้านต่างบอกว่าไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้เนื่องจากไม่มีส่วนร่วมใดๆ แต่เมื่อนำไปเสนอข่าวกลับบอกว่าชาวบ้านเห็นด้วย

ดร.ชยันต์กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหน่วยงานรัฐเข้ามาสอบถามชาวบ้านแต่ชาวบ้านไม่เข้าใจเพราะไม่มีใครได้รับข้อมูลหรือเห็นรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA นอกจากชาวบ้านแม่งูดที่ไม่รู้ข้อมูลแล้ว ยังมีชาวบ้านรอบๆพื้นที่อีกหลายหมู่บ้านก็ยังไม่รู้เรื่องเลย แต่ชาวบ้านมีความเด็ดเดี่ยวที่จะร่วมกันคัดค้านโครงการผันน้ำครั้งนี้ สาเหตุที่พวกเขาไม่เห็นด้วยนอกจากการไม่มีส่วนร่วมแล้ว โครงการนี้ยังซ้ำเติมพวกเขาอีกครั้งเพราะชาวบ้านเคยถูกอพยพจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อ 2507 มาแล้ว จนกลายเป็นนิคมฯในพื้นที่ป่าสงวน ทุกวันนี้พวกเขาได้ลงหลักปักฐานจนมีรายได้จากสวนลำใยซึ่งได้ผลผลิตดีและยังเลี้ยงวัวโดยปล่อยให้หากินในป่า นอกจากนี้ยังมีรายได้จากของป่า ซึ่งหากถูกขุดเจาะอุโมงค์และกลายเป็นกองดินถมป่า

“น้ำในอ่างเก็บน้ำที่จะเพิ่มขึ้น ชาวบ้านเชื่อว่าต้องท่วมบ้านและสวนของพวกเขาที่อยู่ขอบอ่าง เหมือนครั้งหนึ่งที่เกิดน้ำท่วมใหญ่นับสิบวันทำให้ต้นลำใยเสียหายและช่วงเวลาก่อสร้างโครงการที่มีการสร้างถนนและขุดเจาะอุโมงค์ย่อมทำให้เกิดมลภาวะ ที่แน่ๆคือความเป็นอยู่ที่สบายอย่างเพียงพอ ก็จะเปลี่ยนไปอีกครั้ง เขาจึงได้ยื่นหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านโครงการนี้แล้ว แต่ไม่ได้รับคำตอบใดๆ”ดร.ชยันต์ กล่าว

หัวหน้าศูนย์ RCSD กล่าวว่า คณะได้ลงพื้นที่หมู่บ้านแม่เงา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นโครงการโดยจะมีการกั้นลำน้ำยวมเพื่อสร้างเขื่อนและอ่าง นอกจากนี้ยังมีสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ โดยสถานการณ์ของชาวบ้านไม่มีต่างประจากชาวบ้านแม่งูด โดยชาวบ้านมีความตื่นตัวมากทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นกลาง เยาวชนและกลุ่มผู้หญิง ซึ่งพวกเขาชี้ให้เห็นการทำงานของมหาลัยวิทยาลัยที่เข้ามาเก็บข้อมูล EIA ที่ส่งนักศึกษาเข้ามาแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทั้งๆที่เป็นเรื่องใหญ่ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างเขื่อนและสถานีสูบน้ำ รวมทั้งการขุดเจาะอุโมงค์ที่ต้องมีกองดินขนาดใหญ่

“เมื่อมีการสร้างเขื่อนและอ่างปริมาณน้ำจะเอ่อท้นขึ้นมาเป็นปัญหาที่สำคัญของชาวบ้าน เขาเชื่อว่าปลาขนาดใหญ่หรือปลาเล็กที่เคยอพยพมาจากแม่น้ำสาละวิน ก็จะเข้ามาไม่ได้อีก รวมถึงหอยน้ำและสัตว์น้ำอย่างอื่น รวมถึงพืชผักริมน้ำที่ชาวบ้านพึ่งพาก็จะหายไป ชาวบ้านที่นี่ไม่ได้ไร่หมุนเวียนหรือการเลี้ยงวัว พวกเขามีวิถีชีวิตโดยคนเหล่านี้เคยเป็นแรงงานในเหมืองแร่ริมน้ำยวม หลายคนไม่สามารถอ่านหนังสือไทยได้ เพราะฉะนั้นการที่ทีมจัดทำ EIA เข้ามาเขาจึงไม่เข้าใจข้อมูลที่มีแต่ภาษาไทย และใน EIA เขียนว่ามี 4 ครอบครัวที่จะได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะอุโมงค์ แต่จริงๆแล้วมีมากกว่านั้น”ดร.ชยันต์ กล่าว

ดร.ชยันต์กล่าวว่า เคยมีบทเรียนกรณีปากมูน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งคณะกรรมการเขื่อนโลกเสนอให้ทำการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน โดยให้ตั้งกรรมการขึ้นมาจากทั้งสองซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยศึกษาทั้งด้านปลา เศรษกิจและสังคม แล้วมานำเสนอให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับ แต่สุดท้ายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ไม่ยอมรับรายงานฉบับนี้จึงเกิดการเดินขบวนประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ และชาวบ้านได้ร่วมกันทำ EIA ของตัวเอง กลายเป็นงานวิจัยไทบ้านนำเสนอต่อเวทีสาธารณะ จนทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถโต้เถียงข้อมูลของชาวบ้านได้ ตอนนั้นรัฐบาลไม่ยอมทำตามมติ แต่ชาวบ้านก็ได้เสนอข้อเท็จจริงเป็นรูปธรรมซึ่งเป็นบทเรียนน่าสนใจ รัฐบาลควรให้ชาวบ้านเลือก ตอนหลังเขาจึงยอมเปิดประตูเขื่อนเพื่อให้ปลาเข้ามาตามฤดูกาล

“ที่สำคัญมันเป็นประเด็นที่สังคมได้รับรู้มากขึ้น การทำโครงการขนาดใหญ่ถ้าขาดการมีส่วนร่วมที่น่าเชื่อถือ รัฐบาลควรให้ความสำคัญเรื่องนี้ อย่างเรื่องรายได้ของชาวบ้านแม่งูดที่ต้องสูญเสียไปนั้นมีเท่าไร หรือชาวบ้านน้ำเงาที่แม่น้ำเงาและยวมไหลไปรวมกับสาละวินเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากของทั้ง 3 แม่น้ำ เมื่อมีการสร้างเขื่อนแล้วจะเป็นย่างไร พื้นที่บริเวณนี้ชาวบ้านเขารู้ละเอียด เราจะเข้าไปช่วยชาวบ้านในการเก็บข้อมูล ทำงานวิจัยร่วมกัน ต้นเดือนพฤศจิกายนเราเข้าไปบ้านแม่งูดอีกครั้งเพื่อวางแผน ดังนั้นรัฐบาลควรชะลอโครงการนี้เพื่อศึกษาผลกระทบให้รอบด้านก่อน“ดร.ชยันต์ กล่าว

ทางด้านเครือข่ายเยาวชนและผู้นำชาวบ้าน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 20 คน ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อสำรวจระบบนิเวศแม่น้ำยวม-เงา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยได้ลงเรือที่จุดบรรจบแม่น้ำเงา ล่องตามแม่น้ำยวมราว 10 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านท่าเรือที่จะจมใต้อ่างเก็บน้ำ ไปถึงแก่งผาแดง ใกล้กับจุดสร้างเขื่อนแม่น้ำยวม ก่อนที่แม่น้ำยวมจะไหลลงสู่แม่น้ำเมย บนพรมแดนไทยพม่า

นายสันติภาพ เลิศพิเชียรพิบูลย์ ตัวแทนเยาวชนบ้านแม่เงา กล่าวว่าคนรุ่นใหม่ได้รู้ว่าพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ละลำห้วยมีความสำคัญ เช่นห้วยกุ้ง ที่มีกุ้งอาศัยอยู่ในถ้ำในลำห้วยซึ่งไหลลงแม่น้ำยวม และเยาวชนได้หารือว่าจะสืบสานการปกป้องธรรมชาติร่วมกันได้อย่างไร

“เราเรียนรู้ว่าชาวบ้านลุ่มน้ำยวม-เงา ได้ร่วมกันปกป้องแม่น้ำยวม-เงา มาตลอด 30 ปี ตั้งแต่เด็กๆ เราก็รู้ว่าพ่อแม่ลุกขึ้นปกป้องธรรมชาติ วันนี้ได้ล่องเรือร่วมกันกับคนรุ่นก่อน ได้เรียนรู้ประสบการณ์การต่อสู้ตั้งแต่มีโครงการเขื่อนแม่ลามาหลวง เยาวชนจะต้องร่วมกันสู้ต่อไป และจากนี้จะวางแผนเพื่อศึกษาระบบนิเวศเพื่อให้ได้ทราบทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำ คือ ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งขวา และป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยาง” นายสันติภาพ กล่าว

Previous Post

สุรินทร์ – กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง แจ้งเมืองช้างรับมือน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูล ขณะที่มวลน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องชาวนาหวั่นนาข้าวจมบาดาล !!

Next Post

จังหวัดสตูล ประกอบพิธีวางพวงมาลาและพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ร.9

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

การเมืองท้องถิ่น

ปทุมธานี เพจดังโพสต์รูปทรุดตัวยาวกว่า 100 เมตรชาวบ้านหวั่นหากถนนสไลด์ลงคลองอาจถึงชีวิต

8 ชั่วโมง ago
18
ที่นี้มีปัญหา

“พี่ต่ายครับผมมีเรื่องขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับพนักงานสอบสวนครับ สน.ฯ…”

3 วัน ago
3
ที่นี้มีปัญหา

ปราจีนบุรี ตรวจสอบลักลอบทิ้งสิ่งปฎิกูลที่ไม่ใช้แล้ว

3 วัน ago
11
ที่นี้มีปัญหา

สาวใหญ่ประจวบอึ้งสั่งซื้อเครื่องโกนขนผ่านออนไลน์ได้ของแถมไม่พึงประสงค์**

5 วัน ago
7
Next Post

จังหวัดสตูล ประกอบพิธีวางพวงมาลาและพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ร.9

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

จังหวัดลพบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี จัดฟุตบอลต้านยาเสพติดชิงเงินรางวัลเกือบ 2 แสนบาท

7 ชั่วโมง ago
7

บึงกาฬ – ททท.อุดรธานี เปิดเส้นทางท่องเที่ยว คาราวาน “พืชสวนโลก สบายดี อุดร หนองคาย บึงกาฬ”

7 ชั่วโมง ago
6

นครพนม สร้างรายได้จากดอกไม้ สส.อลงกต หนุนอาชีพ “หรีดดอกไม้สด” ที่ธาตุพนม

8 ชั่วโมง ago
34

“มาดามหยก” นำทีมต้อนรับคณะเยาวชนไทยในสหรัฐฯ เรียนรู้อัตลักษณ์ รากเหง้าความเป็นไทยที่เชียงใหม่ แนะเป็นคนรุ่นใหม่ทันสมัยที่ทันต่อโลก

12 ชั่วโมง ago
15

อำนาจเจริญในหลวง-พระราชินี ทรงเปิดป้ายชื่ออุโบสถกลางน้ำ “ทศมราชบพิตรปุณฑริกาคารสีมา” และถวายพระพุทธนวราชบพิตร วัดป่านาโสกฮัง

12 ชั่วโมง ago
69

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : [email protected]
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com