ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home เรื่องทั่วไป

ศิลปินไทย-จีน ร่วมสร้างสรรค์ศิลปะแม่น้ำโขง วอนเห็นใจคนท้ายน้ำ แนะผู้มีอำนาจประเทศท้ายน้ำรวมตัวกันต่อรอง ชี้น้ำโขงไม่ได้เป็นของใครแต่เป็นของโลก

4 ปี ago
in เรื่องทั่วไป
Reading Time: 1 min read
0
A A
0
0
SHARES
1
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย

ที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กลุ่มศิลปินไทย-จีน นำโดย นายวสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปินและนักเคลื่อนไหว ได้ร่วมกันแสดงผลงานภายหลังจากลงพื้นที่แม่น้ำโขง-แม่น้ำอิงและชุมชนเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในแม่น้ำโขงจากการสร้างเขื่อน โดยมีการสร้างสรรค์ผลงาน ในของตัวเอง และจะนำผลงานบางส่วนไปจัดแสดงที่หอศิลป์กวางเจา

นายวสันต์ สิทธิเขตต์ กล่าวว่า คนเองได้มาทำงานศิลปะเมื่อกว่า 10 ปีก่อน แต่ครั้งนี้เห็นขยะมากขึ้น ขณะที่เรือประมงหายไปมาก โดยเมื่อลงพื้นที่ชุมชนหาปลาที่บ้านปากอิงได้เห็นชาวบ้านดึงตาข่ายกลับมาโดยไม่ได้ปลาสักตัวซึ่งสะท้อนสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นงานศิลปะที่ตนทำจึงพูดถึงปลาที่กำลังสูญพันธุ์จากการกระทำของมนุษย์ และความสัมพันธ์ทั้งหมดเปลี่ยนแปลง ทั้งที่เรามีตัวอย่างเรื่องกรณีสร้างเขื่อนปากมูนซึ่งเป็นความพ่ายแพ้เพราะปัจจุบันแทบไม่มีปลา เราจึงอยากสื่อสารให้คนรับรู้ว่าแม่น้ำไม่ใช่ของใคร แต่เป็นของโลก ถ้าไม่มีน้ำคนก็อยู่ไม่ได้ อยากให้ช่วยกันดูแล อยากให้คนมีอำนาจรับรู้ว่าสำคัญมาก เพราะทุกวันนี้น้ำกลายเป็นสิ่งมีค่ามาก ประเทศมหาอำนาจจึงอยากเก็บน้ำให้ได้มากสุด แต่ไม่คิดว่าอยู่ร่วมโลกเดียวกัน เราอยากให้แม่น้ำโขงเป็นสายน้ำแห่งสันติภาพไม่ต้องแย่งชิงน้ำกัน ผู้ที่มีอำนาจควรสำรวจว่าชุมชนเคยอยู่กันอย่างไร และถ้าจะอยู่ต่อควรหาทางออกให้ชาวบ้านอยู่กับธรรมชาติอย่างไร คนมีอำนาจควรคุยกับประเทศข้างบนเพื่อจัดการให้มีดุลยภาพ ไม่เช่นนั้นคนอยู่ไม่ได้

“เราอยู่สายน้ำเดียวกันจากยูนานถึงปากน้ำโขงที่เวียดนาม อยากให้ทุกประเทศได้ใช้แม่น้ำร่วมกัน งานศิลปะจึงพยายามเชื่อมโยงให้คนเข้าใจ แต่ศิลปินจีนอาจพูดไม่ได้มากนักโดยเฉพาะเรื่องเขื่อน เช่นเดียวกับคนลาว คนกัมพูชาก็พูดไม่ได้ เพราะกระทบนโยบาย แต่ตราบใดที่จีนเห็นแก่ตัว ทั้ง 5 ประเทศก็อยู่ด้วยกันลำบาก ดังนั้นประเทศท้ายน้ำควรรวมตัวกันต่อรอง เพราะหากแม่น้ำแห้งเหือด แหล่งปลูกข้าวในเวียดนาม หรือโตนเลสาบก็ย่อมได้รับผลกระทบหนักซึ่งชาวบ้านก็อยู่ไม่ได้ อยากให้รัฐบาลจีนตระหนัก ควรปล่อยน้ำจากแม่น้ำโขงให้ไหลเป็นอิสระและใช้น้ำร่วมกัน ซึ่งจีนก็จะได้เป็นพี่ใหญ่ที่ดีไม่ใช่อันตพาล” นายวสันต์ กล่าว

นายชุมพล อภิสุข หนึ่งในศิลปินที่มาสร้างสรรผลงาน กล่าวว่า ตนกำลังตั้งคำถามกับการพัฒนาฝั่งโขง โดยเฉพาะเรื่องการถมหินหรือการก่อสร้างโครงสร้างแข็งริมแม่น้ำโขง ว่าเป็นความจำเป็นหรือไม่และมีส่วนช่วยเพิ่มผลกระทบหรือไม่ แต่ที่ประทับใจในการลงพื้นที่ครั้งนี้คือชุมชนและผู้คนโดยเฉพาะลุ่มน้ำอิง เห็นชัดว่าชาวบ้านมีความตะหนักรู้สูงและร่วมมือกันรักษาป่าชุมน้ำไว้ได้ดี โดยชาวบ้านบอกว่าแม้สายไปหน่อยแต่ยังดีกว่าไม่มีเหลือเลย เหลือเพียงผืนป่าชุ่มน้ำซึ่งมีความหวังว่าจะขยายพื้นที่ไปได้อีก ขณะที่แม่น้ำโขงนั้นแทบสิ้นหวังเพราะกลายเป็นเพียงทางเดินของน้ำ คงเรียกร้องเอาความอุดมสมบูรณ์คืนไม่ได้ง่ายๆ แม้จีนจะยกเลิกเขื่อนแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะพลิกฟื้นกลับคืนมาได้โดยง่าย กลายเป็นประเทศที่อยู่เหนือน้ำ ใช้น้ำเป็นยุทธปัจจัยและเครื่องมือในการครอบครองเพราะมีพลังมากกว่าการรุกโดยกองทัพหรือทางทหาร ที่ผ่านมาได้ถามชาวประมงเขาบอกว่าต้องไปทำมาหากินอย่างอื่น ทั้งๆที่สมัยก่อนการหาปลาเป็นรายได้หลัก แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วจึงต้องไปรับจ้าง หากกระแสน้ำยังเป็นเช่นนี้คือไม่เป็นไปตามฤดูกาล พืชหรือสัตว์ใต้น้ำก็คงหมดไป เพราะพื้นที่เพาะพันธุ์ปลาแทบไม่มีแล้ว รวมถึงมีขยะมากมาย

การสร้างศิลปะในครั้งนี้ขึ้นอยู่กับศิลปินในความรู้สึกที่เขาประทับใจคืออะไร เช่น แม่น้ำ สายลม แสงแดด หรือที่นั่งเรือไปเห็นขยะลอยมามากมายก็ได้ความรู้สึกอีกแบบซึ่งทำให้เป็นกังวลและสงสารแม่น้ำ แต่ส่วนใหญ่ศิลปินให้ความสนใจเรื่องความเป็นมนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติหรือวิถีชีวิตของแม่น้ำที่หายไป เป็นภาวะที่เจ็บปวด ซึ่งการที่ศิลปินได้ลงพื้นที่ในระยะเวลาสั้นๆได้แค่สัมผัสอย่างเดียว แต่ความทุกข์และสุขเราได้รู้จักเพียงผิวเผิน อย่างไรก็ตามศิลปินก็อยากชักจูงให้คนสนใจพื้นที่ ที่ผ่านมารัฐบาลจีนไม่ค่อยได้รับฟังเพราะคิดเพียงสร้างโครงการให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเขาคงไม่อยากเห็นอะไรที่ไปขัดขวาง ขณะที่คนทำงานศิลปะครั้งนี้ก็ทำงานได้แค่ระดับหนึ่งเพื่อทำให้แม่น้ำล้านช้างกับโขงเชื่อมต่อกัน ส่วนจะขอความเห็นใจหรือความเป็นธรรมต่อจีนได้หรือไม่นั้น ยังเป็นเรื่องที่ลำบากเพราะโครงสร้างรัฐจีนไม่ได้เอื้อต่อความเป็นมนุษย์ เราสัมผัสได้เพียงสามารถยับยั้งหรือยืดเวลาออกไป แต่ในเวลเดียวกันเขาก็บริหารจัดการน้ำเรียบร้อยจนแม่น้ำโขงกลายเป็นท่อส่งน้ำไปแล้ว เช่นเดียวกับรัฐบาลส่วนใหญ่เชื่อว่าสามารถพัฒนาลุ่มน้ำโขงให้สองฝั่งมีเศรษฐกิจที่ดีรวมถึงคนจีนที่เข้ามาทำมาหากินโดยเขาคิดว่าคงเป็นเรื่องที่ดี

“แนวคิดหนึ่งคือเราพยายามทำให้เห็นว่าแม่น้ำนี้ไม่ใช่ของใครแต่เป็นของโลก ไม่ว่าแม่น้ำนั้นจะอยู่ในประเทศหรือไหลผ่านชายแดน เพราะเราต้องการให้คนเข้าใจถึงธรรมชาติ เรามีความหวังว่าเขาจะฟัง แม้จะยาก”นายชุมพล กล่าว

ด้าน นายเรียน จินะราช อดีตพรานปลาบึกและผู้อาวุโสชุมชนริมแม่น้ำโขง กล่าวว่า เมื่อก่อนแม่น้ำโขงมีปลาชุกชุมมากขนาดไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรมากก็จับปลาดได้ทีละเยอะ โดยในช่วงหน้าแล้งซึ่งร้อนและไม่รู้ไปไหนก็ลงหาปลา โดยเฉพาะปลาบึกที่มีอยู่เรื่อยๆ อพยพมาจากที่อื่นโดยออกจากถ้ำและเราได้ทำพิธีขอปลาบึกตัวที่เจริญวัยเต็มที่ โดยปลาบึกออกมาในช่วงสงกรานต์ทุกๆปี โดยปู่ย่าตายายได้คิดค้นวิธีจับปลาบึก ตอนแรกใช้ฉมวกแทง แต่แทงไม่เข้าเพราะปลาบึกมีหนังหนาและลื่น จึงคิดทำแหแต่ไม่รู้เอาเส้นด้ายขนาดใหญ่มาจากไหน จึงใช้ต้นป่านมาทำเป็นเส้นและถักเป็นแห แต่ปัญหาคือต้องเป็นแหที่มีขนาดใหญ่และตากว้างซึ่งต้องใช้พลังมหาศาลเพราะปลาบึกตัวใหญ่จึงต้องดึงกันไปมา และปลาบึกก็ฉลาดขึ้น ในที่สุดเราต้องพัฒนาเป็นตาข่ายที่มีขนาดใหญ่ยาว 30 วาโดยทำจากปอเช่นกัน จนระยะหลังราวๆปี 3530 จึงเปลี่ยนเป็นไนล่อนซึ่งต้องซื้อที่หลวงพระบาง เพราะกรุงเทพฯไปลำบากกว่า

นายเรียนกล่าวว่า ในอดีตเชื่อว่าปลาบึกว่ายไปวางไข่ที่ทะเลสาบต้าหลี้ในจีน แต่พอมีเขื่อนกั้นปลาบึกจึงไม่รู้ไปวางไข่ที่ไหน โดยปลาบึกตัวเมียทุกตัวที่จับได้จะมีไข่ซึ่งแต่ละตัวมีไข่ 60-70 กิโลกรัม แต่การฟังเป็นตัวและเติบใหญ่มีน้อยเพราะมีศัตรูในธรรมชาติมาก และวิธีวางไข่คือการปล่อยไหลไปกับน้ำ โดยตั้งแต่เด็กจนถึงขณะนี้ตนไม่เคยเห็นปลาบึกตัวน้อยในแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่หนักกว่า 100 กิโลกรรมขึ้นไป

“ผมเชื่อว่าปลาบึกยังไม่หมดไปจากแม่น้ำโขง แต่ไม่ได้อพยพขึ้นมาเหมือนในอดีต กลายเป็นปลาประจำถิ่น ความเจริญของบ้านเมืองไปทำลายธรรมชาติ ทำอย่างไรให้การพัฒนาคิดถึงธรรมชาติด้วย สาเหตุหลักที่ปลาบึกหายไปคือการสร้างเขื่อนปิดกั้นเส้นทางน้ำ การเดินเรือเพื่อการพาณิชย์ ”นายเรียน กล่าว
///////////////////////////////////

Previous Post

สุดอาลัย ญาติมิตรร่วมงานสวดพระอภิธรรมศพคุณพ่อ ผจก.ภาค 3 กรุงเทพ ธนาคาไทยพาณิชย์

Next Post

ภาคภูมิใจ ทต.ทับมา รับรางวัลด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม ประจำปี 2564 ของสถาบันพระปกเกล้า

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

ประชาสัมพันธ์

งานเทศกาลผลไม้ ของดีเมืองเลย หนุนเกษตรกร ขยายตลาดผลักดันของดีเมืองเลย

5 ชั่วโมง ago
7
เรื่องทั่วไป

“ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จับมือ รพ.พระนครศรีอยุธยา เปิดศูนย์การแพทย์พิเศษ- ศูนย์ตรวจสุขภาพ ลดแออัดโรงพยาบาล เพิ่มช่องทางดูแลสุขภาพประชาชน”

24 ชั่วโมง ago
6
เรื่องทั่วไป

“ผู้ว่าเชียงราย พาเที่ยว เพื่อสุขภาพ” เดินหน้าเส้นทาง Wellness Trail 3 อำเภอ เชียงราย

6 วัน ago
802
เรื่องทั่วไป

บึงกาฬ – “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน เทศบาลตำบลป่งไฮ สืบสานประเพณีแห่เทียนพรรษา

1 สัปดาห์ ago
14
Next Post

ภาคภูมิใจ ทต.ทับมา รับรางวัลด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม ประจำปี 2564 ของสถาบันพระปกเกล้า

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

ติดตามโครงการไฟฟ้าพลังงานสะอาด

28 นาที ago
4

พังงา จิตอาสาพัฒนาเนื่องในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราชปรับปรุง

2 ชั่วโมง ago
3

“นายกเดี่ยว” ทต.เด่นชัยฯ ร่วมให้กำลังใจนร.และคณะครู ร.ร.อนุบาลทต.เด่นชัย ในการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการระดับภาคเหนือ ครั้งที่ 20

5 ชั่วโมง ago
4

งานเทศกาลผลไม้ ของดีเมืองเลย หนุนเกษตรกร ขยายตลาดผลักดันของดีเมืองเลย

5 ชั่วโมง ago
7

สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่าน ล่าสุด

6 ชั่วโมง ago
32

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : [email protected]
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com