
เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.64 ผู้สื่ย่าวราบงานว่า จากกรณีเรือประมงล่มในทะเล เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. ห่างฝั่ง 100 กม. สุดขอบทะเลอันดามัน ลูกเรือ 6 ชีวิต กอดเสาขอความช่วยเหลือ ทรภ.3 ส่ง ฮ.ค้นหา ประมงข้างเคียงช่วยเหลือ
โดยทาง นาวาเอก ณัฏฐ์ จรัสกุล หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมันคงท่าเรือจังหวัดระนอง เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 เวลา 12.30 น. ทัพเรือภาคที่ 3 ได้รับการประสานจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) ว่ามีเรือประมงกำลังจะจม บริเวณทิศตะวันตกของหมู่เกาะสุรินทร์ ขอความช่วยเหลือเป็นการด่วนจึงได้สั่งการให้ หมวดบินเฉพาะกิจ กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 (ฮ.ลล.4) S-76B ขึ้นบินทำการช่วยเหลือเป็นการด่วน
โดยได้ขึ้นบินไปยังบริเวณตำบลที่ดังกล่าว และได้พบเรือประมงล่มอยู่ลักษณะตะแคงตัวเรือแต่ยังจมไม่มิด พิกัดแลต 9 องศา 33.6 ลิปดาเหนือ ลอง 97 องศา 32.7 ลิปดาตะวันออก ทิศตะวันตกของทะเลอันดามัน ห่างฝั่งจังหวัดระนองกว่า 90 กม. พบลูกเรือประมาณ 6 คน กำลังยืนโบกมือขอความช่วยเหลือ ฮ.ลล.4 จึงได้ใช้วิทยุประสานกับ หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะสุรินทร์ (นรภ.ทร.เกาะสุรินทร์) เพื่อเข้าช่วยเหลือทางทะเล พร้อมกับบินโฮลตำบลที่เรือเป้า จนกระทั่งมีเรือประมงชื่ออีกลำที่ทำการประมงอยู่บริเวณนั้น เข้าช่วยเหลือลูกเรือทั้งหมดไว้โดยปลอดภัย

นาวาเอก ณัฏฐ์ จรัสกุล หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมันคงท่าเรือจังหวัดระนอง กล่าวต่อว่า การทำงานของกองทัพเรือภาค 3 โดย พลเรือโท สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการทัพเรือภาค3ซึ่งสั่งการมายัง ศรชล.จังหวัดระนอง ในการทำงานทุกครั้งให้ทำการร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทำงานมีประสิทธิ ภาพ หลาย ๆครั้งการทำงานอาจจะมีข้อติดขัด แต่นโยบายของผู้บังคับบัญชาเน้นเรื่องการช่วยเหลือชีวิตเป็นหลัก ครั้งนี้ต้องขอบคุณพี่น้องชาวประมงและอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยเป็นหูเป้นตาให้กับเจ้าหน้าที่ในหลายๆเรื่องในการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องทะเลไม่ว่าจะเป้นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ กองทัพเรือถือว่าความปลอดภัยในชีวิตต้องบมาก่อน ส่วนเรื่องอื่นคุยมาว่ากันตามกฎหมายหมาย.
Discussion about this post