
วันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนคร พนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม ชั้น 5 นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครและที่ปรึก ษา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะทำ งานตามโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามรอยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นประธานการประชุมคณะทำงานฯ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน Carbon Credit โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามรอยองค์หลวงปู่มั่น โดยมี นางสายพิรุณ น้อยศิริ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษา บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยตัวแทนในพื้นที่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ พัฒนา การจังหวัดนครพนม ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครพนม และพลังงานจังหวัดนคร พนม เข้าร่วมประชุมฯ
นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ และคณะฯ ลงพื้นที่ในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่นและท้องที่ของตำบลสามผง โดยมี พระอาจารย์สมหมาย ฐิตสีโล ที่ปรึกษาโครงการฯ ร่วมประชุมและให้แนวทางขับเคลื่อน ณ หอพระไตร วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และการขับเคลื่อนกิจกรรม Carbon Credit ในพื้นที่ พร้อมทั้งกำหนดแผนการดำเนินงานและออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ได้แก่ การขับเคลื่อนกิจกรรมตามแนวทางชุมชนท่องเที่ยว การพัฒนากิจกรรมด้านอาชีพเพื่อเสริมการท่องเที่ยว การทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะและสร้างการรับรู้เรื่องการอนุรักษ์ปลูกป่าในใจคนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว มีพื้นที่เป้าหมายในการเปิดกิจกรรม บริเวณหนองสามผงวาง แผนกิจกรรมออกแบบและหาพื้นที่สำหรับเปิดตัวกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานและคณะกรรมการหมู่บ้าน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดสถานที่ดำเนินการ และห้วงเวลาในการทำกิจกรรม

นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนมได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยทำงานเชิงบูรณาการ ร่วมกับส่วนราช การอำเภอศรีสงคราม คณะกรรมการชุมชนท่องเที่ยว และองค์กรปกครองส่วนถิ่น ในการสนับสนุนกิจกรรมการปลูกป่า โดยให้มีการปลูกไม้ 5 ระดับ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และมีการปลูกไม้สำหรับ “ย้อมสีผ้า” หรือ “ไม้มงคล” เพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมการส่งเสริมการทอผ้าตามโครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน และการอนุรักษ์การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ และการปลูกป่าเพื่อสร้างความั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน และที่สำคัญเกิดผลในรูปของการสร้าง Carbon Credit ในพื้นที่ต่อไป.
Discussion about this post