ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home การศึกษา

ม.นเรศวรฯ ค้นพบวิธีการผลิตเลซิตินเกรดอาหารจากรำข้าวเพิ่มมูลค่าทางการตลาด 

3 ปี ago
in การศึกษา
Reading Time: 1 min read
5
A A
0
3
SHARES
12
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ที่ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรคณะเกษตร ศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ กฤตสุนันท์กุล และนายชินกฤต ศรีนวล คณะวิจัยจากมหาวิทยา ลัยนเรศวร ได้แถลงข่าว ค้นพบกรรมวิธีการผลิตเลซิตินเกรดอาหารจากรำข้าวหรือถั่วเหลือง โดยใช้ผลิตผลพลอยได้ที่เรียกว่า “กัม” ที่มีปริมาณมากจากอุตสาหกรรมน้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันถั่วเหลืองเป็นวัตถุ ดิบหลัก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งเดิมทีจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ในราคาต่ำ จนได้รับการจดอนุสิทธิบัตรและพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและทรัพย์ สินทางปัญญาแก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดยอนุสิทธิบัตรเรื่อง “กรรมวิธีการผลิตเลซิตินเกรดอาหารจากรําข้าวหรือถั่วเหลือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เหรียญทอง สิงห์จานุสงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตร ศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เลซิติน (lecithin) คือ สารประกอบของไขมัน และฟอสฟอรัส หรือเรียกว่า ฟอสโฟลิปิด เลซิตินมีลักษณะทั้งที่เป็นของเหลว ข้น เหนียว และเป็นของแข็ง สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั้งในพืชและสัตว์ ซึ่งจะพบมากในไข่แดง (9%) ถั่วเหลือง (4%) รำข้าว (2%) เมล็ดเรพสีด (2%) เมล็ดฝ้าย (1.5%) เมล็ดทานตะวัน (1%) อย่างไรก็ตาม ร่าง กายมนุษย์สามารถผลิตเลซิตินขึ้นได้เองจากตับ โดยมีสารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจําเป็น วิตามินบี และสารอาหารสําคัญอื่น ๆ หากร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ เลซิตินยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ทุกชนิดและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะในสมองมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบมากถึง 30% ซึ่งเลซิตินจําเป็นต่อการควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ ให้ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เลซิติน ยังมีประโยชน์ในการช่วยลดคอเลส
เตอรอล และไตรกลีเซอร์ อีกทั้งเป็นสารประกอบโคลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้น สร้างสารสื่อประสาท ดูแลระบบการทำงานของสมองและประสาท ขณะที่ในด้านของอุตสาหกรรม ยังเป็น อิมัลซิไฟเออร์ ที่ทำให้น้ำและน้ำมัน สามารถรวมตัวกันได้ โดยไม่แยกชั้น และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และเครื่องสำอาง เป็นต้น

กรรมวิธีการผลิตเลซิตินเกรดอาหารจากรําข้าวหรือถั่วเหลือง มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้ นํากัมที่ได้จากอุตสาห กรรมน้ำมันรําข้าวหรือน้ำมันถั่วเหลืองมาแยกสิ่งปลอมปนออกด้วยตัวทําละลายเฮกเซน โดยใช้วิธีการปั่นเหวี่ยง จากนั้นนํากัมที่ได้มากําจัดน้ำมันออกด้วยตัวทําละลาย อะซิโตน โดยใช้วิธีการตกตะกอน จะได้กัมที่มีปริมาณน้ำมันน้อย นํากัมที่ผ่านกระบวนการกําจัดน้ำมันมาทําให้บริสุทธิ์ด้วย ตัวทําละลายเอทานอล โดยให้ความร้อนเพื่อให้กัมละลาย เขย่าให้เข้ากัน และนําไปปั่นเหวี่ยง จากนั้น แยกเอาเฉพาะส่วน ที่ละลายในเอทานอลไประเหยเอทานอลออก จะได้เลซิตินบริสุทธิ์ ซึ่งในปัจจุบัน เลซิตินเกรดอาหารมีจําหน่ายเชิงพาณิชย์ในราคา 600 – 4,000 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ และแหล่งที่มา ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีมูลค่าเพิ่มสูงมากถึง 30 – 200 เท่าของราคากัม (20 บาทต่อกิโลกรัม) ปัจจุบัน ยังไม่มีเลซิตินจากข้าวที่จําหน่ายเชิงพาณิชย์

ดังนั้น จึงเป็น อิมัลซิไฟเออร์ชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ และสามารถพัฒนากรรมวิธีการผลิตให้มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จนได้รับการจดอนุสิทธิบัตรโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” พร้อมส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างเกษตรมูล ค่าสูง และพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้ประ กอบการและประชาชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศชาติ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ 0 5596 2379.

Previous Post

ตลาดนัดพระเครื่องพระบูชาอำนาจเจริญคึกคักประชาชนและเชียนพระต่างออกหาบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่แสง 

Next Post

หนุ่มบึงกาฬจูงลูกขึ้นโรงพักเมือง
อุดรฯ แจ้งเมียรักชาวเขมรหายตัวไปนานนับเดือนเกรงจะได้รับอันตราย !!

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

การศึกษา

มมส “ส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่สุขภาพที่ดี” ตอบรับนโยบายมหาวิทยาลัยสุขภาพ

5 วัน ago
11
การศึกษา

โรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) นครปฐมเดินหน้าสู่ โรงเรียนระดับดีเด่น ดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์

6 วัน ago
4
การศึกษา

แม่ฮ่องสอนเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปรับทั้งระบบตั้งแต่ผู้บริหารและกระบวนการเรียน

2 สัปดาห์ ago
8
การศึกษา

ม.นครพนม ส่งท้าย Pride Month 2025 อย่างอบอุ่น สร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อความหลากหลายและเท่าเทียม

2 สัปดาห์ ago
5
Next Post

หนุ่มบึงกาฬจูงลูกขึ้นโรงพักเมือง
อุดรฯ แจ้งเมียรักชาวเขมรหายตัวไปนานนับเดือนเกรงจะได้รับอันตราย !!

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

เปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยลุ่มน้ำโขง ย้ำทุกหน่วยบูรณาการข้อมูลและทรัพยากรในประเทศและเชื่อมโยงกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เดินหน้าเชิงป้องกัน เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

8 ชั่วโมง ago
15

ความงดงามตระการตา “อัญมณีไทย” ผสานกับพลังแห่ง “วัฒนธรรมสร้างสรรค์”เพื่อเปล่งประกายในตลาดโลกอย่างสง่างาม TAEVIKA Jewelry x SPLASH – Soft Power Forum 2025 เมื่อวันที่ 9 ก.ค.68 เวลา 15.00น.พิธีเปิดงาน “อัญมณีเทวีบูรพา ” หรือ The gemstone from angle eastern soft power of Thailand

3 วัน ago
12

กาญจนบุรี – โครงการ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงาม แห่เทียนพรรษา และของดีอำเภอห้วยกระเจา ประจำปี พ.ศ.2568

3 วัน ago
6

กาญจนบุรี – ชาวทองผาภูมิจัดงานแห่เทียนพรรษา และแห่ผ้าครององค์พระภปร.กาญจนธรรมพิทักษ์ ประจำปี 2568 อย่างยิ่งใหญ่ หน่วยงานต่างๆประดับเทียนพรรษาอย่างสวยงาม

4 วัน ago
9

สำนักงานขนส่งจังหวัดมหาสารคามจับมือโรงเรียนมัธยมศึกษาจัดหลักสูตรโครงการต้นกล้าแห่งความปลอดภัย ขับขี่รถจักรยานยนต์ใส่ใจทุกการเดินทางนางสาว นัฐฒิณา คำสา เจ้าพนักงานขนส่งชำนาญงาน หัวหน้ากลุ่มงานจัดทำใบขับขี่

4 วัน ago
9

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : [email protected]
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com