
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ที่หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 (นพค.22) สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชา การทหารพัฒนา อ.นาแก จ.นครพนม พลเอก จีรัชญ์ บุญชญา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มอบหมายให้ พลโท นำพล คงพันธุ์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พลตรี ธีระยุทธ จินหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พ.อ.ชวลิต พบจันอัด เสนาธิการ สำนักงานพัฒนาภาค 2 พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม มอบนโยบายติดตามความก้าวหน้า เกี่ยวกับการดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมถึงศูนย์จิตอาสา ศูนย์ประชาสัมพันธ์โครงการเศรษฐ กิจพอเพียง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย และโครงการ 1 นพค. 1 ฟาร์ม 1 โรงเรียน 1 ชุมชน ตามนโยบายของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ภายใต้การดำเนินงานของ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 (นพค.22) สำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อ.นาแก จ.นครพนม โดยสร้างความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ ดำเนินโครงการ เกี่ยวกับการสนับสนุนส่งเสริมสร้างศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เน้นลดรายจ่าย สร้างรายได้ยั่งยืนให้กับชุมชน โดยมีการนำร่องจากศูนย์เรียนรู้ภายในหน่วย นพค.22 รวมถึงชุมชนต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ ให้ประชาชนได้มาศึกษาเรียนรู้ นำไปขยายผล ยกระดับการทำอาชีพการเกษตร เพิ่มรายได้ สู้วิกฤติโควิด ในครั้งนี้ มี พ.อ.สัณทัศน์ ชำนาญเวช ผู้บังคับการหน่วยพัฒนา การเคลื่อนที่ 22 มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก เชิดชู ชูเสน นายทหารปฏิบัติการประจำ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาช่วยราชการ นพค.22 และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง นำตรวจเยี่ยม รับฟังบรรยายสรุป พร้อมรับนโยบาย
ทางด้าน พลโท นำพล คงพันธุ์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้รับฟังบรรยายสรุป พร้อมมอบนโยบายให้ นพค. 22 มุ่งเน้นการส่งเสริมอาชีพตามแนวทางเกษตรพอเพียง ให้เข้าสู่ชุมชน โดยมี ศูนย์เรียนรู้ของ นพค.22 เป็นต้นแบบ พร้อมสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนต้นแบบ และชุมชนต้นแบบ ตามโครงการ 1 นพค. 1 ฟาร์ม 1 โรงเรียน 1 ชุมชน ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด พร้อมได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม ศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดล ของ นพค.22 ในเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ส่งเสริมอาชีพการเกษตรพอเพียงครบวงจร ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์การเกษตร โคเนื้อ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปลูกพืชผักการเกษตร ปลูกไม้ผล รวมถึงเป็นศูนย์เรียนรู้ฝึกวิชาชีพการเกษตร ยกระดับพื้นฐานการทำการเกษตร เน้นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้ประชาชน รวมถึงลูกหลานเยาวชน ได้มาศึกษาเยี่ยมชม นำไปเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ สู้ภัยโควิด นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่ โรงเรียน บ้านนาแกน้อย (กรป.กลางอุปถัมภ์) ต.บ้านแก้ง อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้น อนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แต่ยังมีปัญหาเรื่องขาด แคลนงบประมาณ ซึ่งให้มีการสนับ สนุนการพัฒนาให้เป็นโรงเรียนต้น แบบ ในการส่งเสริมการศึกษาและส่งเสริมอาชีพเกษตรพอเพียง สนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน รวมถึงส่งเสริมให้ลูกหลานเยาวชนนักเรียน ได้ศึกษาความรู้พื้นฐานการทำการเกษตร นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ขยายสู่ครัวเรือน ช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนบ้านแก้ง ต.บ้านแก้ง อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ที่ประสบความสำเร็จ ในการทำการเกษตรครบวงจร เพื่อจะยกระดับ ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ นำสู่ชุมชนเข้มแข็ง ทั้งนี้ การดำเนินโครงการ 1 นพค. 1 ฟาร์ม 1 โรงเรียน 1 ชุมชน จะเป็นต้นแบบพัฒนาต่อยอดขยายไปสู่ชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ จ.นครพนม ในอนาคต

ขณะเดียวกันทางด้าน หน่วยพัฒนา การเคลื่อนที่ 22 ได้เปิดตัวโครงการสร้างความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ หน่วยงานเกษตรจังหวัดนครพนม เกษตรอำเภอ และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทำแปลงสาธิต ในพื้นที่ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อ.นาแก จ.นครพนม เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรได้ศึกษา การปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ หอมนาคา ปลอดสารพิษ เพื่อส่งเสริมเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยการ เกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒน ธรรมลุ่มน้ำโขง เป็นการนำร่อง 4 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน คือ จ.นครพนม จ.อุดรธานี จ.ลำปาง และ จ.เชียงราย โดยมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ท้องถิ่น กข.6 กับ ข้าวจ้าวต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง คัดสายพันธุ์มาเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ หอมนาคา เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวเหนียวจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเกษตร กรลุ่มน้ำโขง ให้มีคุณภาพ และได้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ มากขึ้นเท่าตัว จากสายพันธุ์พื้นเมือง พร้อมส่งเสริมช่องทางการตลาด แปรรูป เพิ่มรายได้ให้กับเกษตร โดยได้นำร่องทำแปลงสาธิต ปลูกในพื้นที่ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อ.นาแก จ.นครพนม เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรได้ศึกษา การปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ หอมนาคา ปลอดสารพิษ และมีการขยายการเพาะปลูกไปสู่ชุมชน ต่างๆ ในพื้นที่ จ.นครพนม เพิ่มมูลค่า ยกระดับคุณภาพการผลิตข้าวเหนียว สร้างรายได้ สร้างอาชีพยั่งยืน แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ.
Discussion about this post