
นายรอมซี ดอฆอ ประธานโครง การ กล่าวว่า จากสภาพสังคมปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความทรงจำของผู้คนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสำคัญน้อยลงต่อการเริ่มต้นของปีฮิจเราะห์ศักราชที่สะท้อนถึงแนวคิด ปรัชญาในการปรับตัว เปลี่ยนแปลง และพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่นำพาความเป็นสมัยใหม่เข้าสู่การดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อหน่วยของสังคมตั้งแต่ระดับครอบ ครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
จากปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทางศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) เครือข่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมอิสลาม (JATI) ศูนย์วัฒนธรรมสลาตัน (BUMI) ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒน ธรรม (PICSEB) กรรมาธิการศาสนา และวัฒนธรรม สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(CAP) และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา จึงได้ประชุมแลกเปลี่ยนและร่วมกันตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญที่จะส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสังคม อนุรักษ์วัฒนธรรม และรักษาอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ จึงได้มีการจัดโครงการ “มหกรรมต้อนรับปีใหม่อิสลาม ครั้งที่ 3 ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1444” ระหว่างวันที่ 27-28 ส.ค 65 ณ บริเวณสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดยะลา เพื่อทำให้คนในสังคมเกิดความรักและตระหนักถึงคุณค่า วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต ยังคงสืบต่อในสังคมอย่างยั่งยืน
“ จะมีเดินขบวนพาเหรดจากมาเล เซีย อินโดนีเซีย การแข่งขันอาซูรอ การละเล่นท้องถิ่น และเปิดร้านขายของจากร้านค้าในชุมชน การแสดงนิทรรศการประวัติ ศาสตร์อิสลามและชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ส่วนกิจกรรมภาคเวที จะมีการบรรยายศาสนา การเสวนาประ
เด็นทางสังคมโดยนักวิชาการ การประกวดทางวิชาการ เช่น การแลกเปลี่ยนประเด็นศาสนา และการกล่าวปาฐกถาธรรม จากในประ เทศและต่างประเทศ” รอมซีกล่าว
ลุ่มเป้าหมายในงานประกอบด้วย องค์กรทางศาสนา มัสยิดโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้/ปาตานี จำนวน 3,000 คน และมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจและประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลารวมทั้งผู้สนใจทั่วไป จำนวน 2,000 คน รวมทั้งสิ้น 5,000 คน
นายอิสมาแอ ฮารี ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดยะลากล่าวว่า อยากเชิญชวนพี่น้องมุสลิม และมุสลิมะห์ทุกท่านโดยเฉพาะจากจังหวัดยะลา และพี่น้องมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมงานในครั้งนี้
“ผมอยากให้นำลูกหลานของเรามาร่วมงานกันเยอะๆ เพราะเราต้องการให้ลูกหลานเยาวชนรุนหลังได้รู้จักวิถีวัฒนธรรมของปู่ยาตายายของเราในอดีต หากเราไม่ร่วมมือกันกับเยาวชนในวันนี้ งานในครั้งนี้ก็จะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ และงานในครั้งนี้จะยิ่งใหญ่กว่าครั้งที่ผ่านๆ มา อย่างแน่นอน และหากงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ อินซาอัลลอฮเราจะจัดทุกๆ ปี เพื่ออนุรักษ์และปกป้องวัฒน ธรรมมลายูของเราให้คงอยู่สืบไป” ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดยะลา กล่าว .
Discussion about this post