
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมชมพูภูคา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดย รศ. ดร. สุนทร วิทยาคุณคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และทคโนโลยีการเกษตร เป็นประธานในพิธีลงนามความตกลง (MOU) ด้านการจัดการทำฟาร์มปศุสัตว์และประมงต้นแบบ ระหว่างมหาวิทยาลัยและบริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด โดยมี นายศิวพงศ์ เลื่อนราม ประธานกรรมการบริษัทไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด เป็นผู้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ มีรองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร วิทยาคุณ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวถึงบทบาทความพร้อมในการร่วมมือ และข้อคาดหวังจากการดำเนินโครงการความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์การทำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อการพัฒนาจัดการเรียนการสอนนักศึกษาเพื่อส่งสริมและบ่มเพาะธุรกิจปศุสัตว์และประมง แก่นักศึกษา การพัฒนาเกษตรกร ทางบริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องแปลงขยะเศษอาหารและเศษวัชพืชให้เป็นดินอินทรีย์ BIOAXEL ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงภาคอื่นๆของประเทศไทยในเรื่องการขาดแคลนปุยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อาหารสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน อีกทั้งปัญหาการจัดการขยะเศษอาหารและวัชพืช เช่น ผักตบชวาที่มีปริมาณมากและการจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เป็นไปอย่างยากลำบาก ใช้ระยะเวลานานและต้นทุนสูง

นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงได้จับมือกับ บริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด ในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการพัฒนาปุ้ยอินทรีย์และอาหารสัตว์จากผักตบชวา และจัดสร้างฟาร์มปศุสัตว์และประมงต้นแบบ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เชิงอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์และประมง ที่มีการวิจัยเป็นฐานต่อยอดสู่การผลิต การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมช่วยในการผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์และประมง ตลอดจนผู้สนใจในอาชีพการทำปศุสัตว์และประมง ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ มีรายได้เพียงพอ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ส่งผลกระทบต่อชุมชนให้มีความมั่นคงทางอาหาร เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน นำไปสู่การลดการใช้พื้นที่ทำการเกษตรเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว ขยายผลสู่การออกแบบมาตรการส่งสริมการลงทุๆนและการพัฒนาเศษฐกิจชีวภาพสีเขียวบนฐานนวัตกรรม (BCG model) และขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมสู่อุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์และประมง และเพื่อลดรายจ่าย สร้างงรายได้ให้เกษตรกร ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ของประเทศต่อไป
Discussion about this post