
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 น. ที่ ช่วงหน้าวัดหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย ประชาซนบ้านหนองบัว และลูกหลานไทยลื้อเมืองล้าทุกคน ได้มาสโมสรสันนิบาโดยพร้อมเพียงกัน เพื่อแสดง
ออกถึงการน้อมรำลึกถึงบรรพชนคนไทยสื้อเมืองล้า ที่ได้ส่วงลับไป นับแต่สมเด็จ เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งพระองค์มีเชื้อสายไทยลื้อเมืองล้า ข้างฝ่ายหระมารดา ได้ยกกองทัพจากนครน่านไปช่วยระงับเหตุการณ์ความวุ่นวายระหว่าง เจ้าหม่อมน้อยกับเจ้ามหาวังในเมืองเชียงรุ่ง ในปี พ.ศ ‘2348 จากเหตุการณ์ครั้งนั้น มีชาวไทยลื้อบางกลุ่มได้อพยพโยก ย้ายถิ่นฐานมาตั้งบ้านเมือง ริมหนองน้ำ ชื่อว่า “หนองบัว”แขวงเมืองไชยพรม
ถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าสุมนเทวราช หรือ เจ้าหลวงช้างเผือก ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงรุ้ง และได้นำพาผู้คนจากเมืองล้าเมืองพง เมืองเชียงแข็ง เข้ามาอยู่เมืองน่านอีกครั้ง การอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคนไทยลื้อเมืองล้าครั้งที่สองนี้ นับเป็นครั้งใหญ่และได้มาตั้งถิ่นฐานสมทบกับกลุ่มคนที่ย้ายมาครั้งแรก โดยมีเจ้าราชบุตรอซิตวงศ์ เจ้าคำมูล แสนสิทธิ หมื่นภิมาลย์ หลวงอาชญาแก้วยอด หลวงยาสมุทร เป็นผู้นำ พร้อมกับสร้างวัดหนองบัวขึ้น และย้ายหมู่บ้านเดิม ที่ริมหนองบัวมาตั้งอยู่ที่ปัจจุบันนี้
ด้วยความวิริยะ ความอุตสาหะ ความเสียสละ ความสามัคคีของบรรพ ชนคนบ้านหนองบัวและคนลื้อเมืองล้าได้สร้างบ้านแปงเมือง บ้านหนองบัวและมีส่วนในการพัฒนาเมืองน่านแห่งนี้ไดัอยู่ร่มเย็นเป็นสุขสืบมา นับขวบปี ถึง ปี พ.ศ 2565 นี้เป็นระยะเวลา 217 ปี ทางพระครูวาปีปทุมพิทักษ์ เจ้าอาวาสวัดหนองบัว มีดำริจัดงานรำลึกถึงบรรพชน จึงพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำ คณะครัทธาวัดหนองบัว จัดงานน้อมรำลึก 217 ปี ใต้ร่มปารมีเตวดาโหลงเมิงล้า ขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงบรรพกษัตริย์คนลื้อคนน่าน บรรพชนคนลื้อเมืองล้า บ้านหนองบัว
วัดหนองบัว เป็นวัดเก่าแก่ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามด้วยเอกลักษณ์ซึ่งต่างจากวัดอื่น ๆ , ภาพหล่านี้เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของชาวไทยลื้อเมืองน่าน มีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์
@@@@@@@@@@@
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน
Discussion about this post