
วันที่ 10 เมษายน ณ ห้องประชุม โรงแรม เอ็ม บูทิค บ้านป่างิ้ว ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) โดยนางจุฑามาส ราชประสิทธิ์ ผู้จัดการโครงการ และนางปิยะวรรณแก้วศรี กระบวนกร ได้จัดประชุมนำเสนอผลงานโครงการกิจการทางกายองคนชาติติพันธุ์ 10 ชาติติพันธุ์จากอดีตสู่ปัจจุบันและวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเยาวชนชุมชนพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดเชียงรายเพื่อสุขภาพภาวะ จังหวัดเชียงราย โดยมีชาวบ้านกลุ่มชาติพันธ์ุ และเครือข่าย ประกอบด้วยครูจากโรงเรียน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย อสม. ผู้นำชุมชน จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมประชุม และร่วมแสดงกิจกรรมทางกายตามอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ การฟ้อนเจิง ไทลื้อ การรำนกกิงกะหร่า ไทยใหญ๋ การรำพัด จีนยูนนนาน ฟ้อนเล็บ ชุมชนโป่งฮึ้ง และการเต้นของชาวลีซู บ้านเฮโก ชาวอาข่า จากชุมชนดอยแสนใจ
นางจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ ผู้จัดทำโครงการเด็กดอยกายดี กล่าวว่า กิจกรรมการแสดง ที่นำเสนอถือเป็นสาระสำคัญและหัวใจของกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ที่เราทั้งนี้หลังจากเราได้ทำกิจกรรมเด็กดอยกินดี โครงการเพื่อให้เด็กดอยได้กินอาหารที่มีประโยชน์ ผ่านไป 4 ปี ในปีที่ 5 จึงได้เริ่มโครงการ “เด็กดอยกายดี” โครงการต่อเนื่องกันในเรื่องสุขภาวะ เป็นการพัฒนากิจกรรมอัตลักษณ์ การเต้น การฟ้อน การรำ อันเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกายของชาติพันธ์ที่หลากหลาย จึงเป็นหัวใจในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรม “กายดี” ให้ส่งต่อให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้ทั้งเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย และคงอัตลักษณ์ของชาติพันธ์ได้ให้อยู่ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมชุมชน และไปจึงถึงการพัฒนาเป็นอาชีพ
ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ครั้งที่ 1 : ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการองค์ความรู้เพื่อฟื้นฟูกิจกรรมทางกาย” จะต้องประกอบด้วยการ Active ทั้ง 3 ส่วน คือ Active people , Active Environment และ Active Society การเตือนตัวเองให้มีการออกกำลังกาย มีสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ระบบสาธาธณสุขส่งเสริม แต่ปัจจุบันเรามีปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อม อากาศเป็นพิษจากหมอกควันอาจต้องปรับตัวเป็นกิจกรรมในอาคารแทน
โครงการได้ทำงานในพื้นที่ อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน และอำเภอเมือง และยินดีจะร่วมงานและร่วมมือกับทุกโรงเรียน ทางโครงการทำทั้งชายแดนไทย-ลาว และชายแดนไทย – พม่า เป็นการทำงานร่วมกับ สถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โรงพยาบาล รพสต. ชุมชน และมีโครงการจะขยายไปกับ พัฒนาชุมชนและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดเชียงราย (พมจ.เชียงราย) และ อาสาสมัครพิทักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) เป็นการทำงานภายใต้กลไกบูรณาการร่วมกันทั้งหมดในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและวัฒนธรรมของคนชาติพันธุ์ และคนพื้นเมือง
“เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ กิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย บูรณาการกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ให้พัฒนาไปอยู่ในอาชีพ ในชีวิตประจำวัน”เป็นสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น” นางจุฑามาสกล่าว

ปิยวรรณ แก้วศรี กระบวนกร กล่าวว่า ภายใต้โครงการเด็กดอยกายดี ได้เก็บข้อมูลและจัดหาหนังสือ เนื้อหาหนังสือ 2 เล่ม คือ “เรื่องราวกิจกรรมทางกายของคนชาติพันธุ์ 10 ชาติพันธุ์ จากอดีต สู่ปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต” และ “กิจกรรมทางกาย สไตล์ใคร (สไตล์มัน) ที่ได้เก็บข้อมูลจากคนชาติพันธุ์ กลุ่ม อ.ส.ม. ผู้นำชุมชน นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา สาธารณสุขอำเภอ และจังหวัด พูดคุยแลกเปลี่ย สมาคมกีฬาจังหวัดเชียงราย เพื่อรวบรวมกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกายอันเป็นอัตลักษณ์ ของคน 10 ชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาย ไทย-พม่า ให้ได้เห็นการเคลื่อนไหวทางกายที่ลดลง ทั้งด้านการประกอบอาชีพ การทำงานบ้าน และกิจกรรมนอกเวลา
“เมื่อสอบถามอาชีพที่เยาวชนใฝ่ฝัน พบว่าเยาวชนบนดอย ต้องการจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ อาชีพในฝัน YouTuber ทำคอนเท้นท์ หลายคนมีช่อง YouTube แล้ว ปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่เริ่มเป็น Gamer และต้องการพัฒนาเป็น Steamer เปิดขายไอเทมเกม ด้วยความนิยมของ อีสปอร์ต กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ ที่คนรุ่นใหม่นิยม ไม่เว้นเยาวชนคนรุ่นใหม่บนดอย ความต้องการเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวน้อย และเนือยนิ่ง” น.ส.ปิยวรรณ กล่าว
กระบวนกร กล่าวว่า ภายใต้แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยใหม่ ๆ ในอนาคตจึงควรช่วยฟื้นกิจกรรมทางกายของคนทุกเพศทุกวัย ในการรณรงค์สร้างการรับรู้กิจกรรมทางกาย การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายจัดว่ามีการส่งเสริมกิจกรรมโดยเฉพาะการวิ่ง ที่มีกว่า 41 ครั้ง และมีสัดส่วนการใช้งบประมาณสร้างกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับสูง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการออกกำลังกาย การวิ่งการปั่นจักรยาน ดังนั้นทางมูลนิธิและผู้จัดการโครงการเห็นว่าหากนำอัตลักษณ์ชาติพันธุ์มาพัฒนาร่วมในการส่งกิจกรรมทางกายน่าเป็นเรื่องที่ควรส่งเสริม ที่จะคงวัฒนธรรมและพัฒนากิจกรรมทางกายไปตามยุคสมัย
Discussion about this post