
วันที่ 11 สิงหาคม 2566 นายคเชน เจียกขจร นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เผยการเตรียมพร้อมรับอุทกภัย ในช่วงฤดูฝน ที่มีมรสุมพัดผ่านว่า ได้ขุดลอกลำเหมือง ห้วยแก้ว และห้วยช่างเคี่ยน ตั้งแต่เมษายน ที่ผ่านมา และเริ่มขุดลอกช่วงสิงหาคม อีกครั้ง เพื่อระบายน้ำ
ป่าที่ไหลหลากจากเชิงดอยสุเทพ เขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พร้อมขุดลอกทางระบายน้ำทุกชุมชน รวมระยะทางกว่า10 กิโลเมตร เพื่อระบายน้ำลงสู่คลองชลประทาน พร้อมเปลี่ยนฝาท่อ และตะแกรงเหล็กที่ชำรุด เพื่อความปลอดภัยสัญจรใน
ช่วงฤดูฝน
ส่วนประตูระบายน้ำที่ไหลลงสู่คลองชลประทาน ได้ขุดลอก และจัดเก็บขยะ วัชพืช ที่ลอยสะสมและกีดขวางทางไหลน้ำแล้ว ซึ่งประตูดังกล่าว ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 2 เครื่อง ปริมาณน้ำไหล 4
ลูกบาศก์เมตร/วินาที พร้อมจัดทำแผนจัดซื้อเพิ่มอีก 1 เครื่อง รวมเป็น 3 เครื่องเพื่อระบายน้ำที่อาจท่วมขังชุมชน ที่อยู่ในฝั่งช่างเคี่ยนเร็วขึ้น ส่วนชุมชนฝั่งเจ็ดยอดไม่ค่อยมีปัญหามากนัก
“เมื่อ 2 ปีแล้ว เกิดน้ำท่วมขังชุมชนฝั่งช่างเคี่ยน ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร เนื่องจากปริมาณฝนมาก และน้ำชลประทานล้นเอ่อคลอง ทำให้ระบายน้ำได้ช้าต้องใช่เวลาระบายน้ำ 1 วันกว่าเข้าสู่ภาวะปกติ
จึงให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานีระบายน้ำตลอด24 ชั่วโมง หากปริมาณฝนตกหนักบนดอยสุเทพ ให้เปิดประตูระบายน้ำ ไม่ต้องรอให้น้ำท่วมชุมชนก่อน หลังถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว” นายคเชน กล่าว
นอกจากนี้ได้ประสานฝ่ายปกครอง ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียง แจ้งเตือนภัยล่วงหน้ากรณีน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มทับเส้นทางสัญจร ถ้าปริมาณฝนเกิน 100 มิลลิเมตร เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถาน
การณ์อย่างใกล้ชิด ที่สำคัญขอความร่วมมือชุมชนที่อยู่ริมสองฝั่งลำห้วย ลำเหมืองจัดเก็บเฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว และวัสดุอุปกรณ์ไว้บนที่สูง เพื่อป้องกันน้ำป่าซัดทรัพย์สิน ไหลลงไปตามสายน้ำดังกล่าว จนทำให้ประตูระบายน้ำอุดตันและไหลได้ช้าลง
ทั้งนี้ได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขอุทกภัย ต.ช่างเผือก เพื่อแจ้งเหตุและบูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหาดังกล่าวด้วย
////////
Discussion about this post