ที่ อบต.โนนขมิ้น ต.โนนขมิ้น อ.เมืองหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู นายอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดกิจกรรมโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราช ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้านการเกษตร ประมงและส่งเสริมอาชีพด้านอื่นๆ เพื่อสนองพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 10
โดยมีนายศศิน พัฒนภิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมที่มีการบูรณการให้บริการแก่เกษตร กรในพื้นที่ ทั้งด้านบริการคลินิกแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ การสร้างการรับรู้เรื่องการป้องกันและการรับมือปัญหาภัยแล้ง การให้คำแนะนำเรื่องการปลูกพืชฤดูแล้ง/พืชใช้น้ำน้อย การทำการเกษตรปลอดการเผา เพื่อลดปัญหาหมอกควัน ให้ความรู้ธนาคารน้ำใต้ดิน นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการด้านวัตกรรมเครื่อง ยนต์ทางการเกษตร ปรับปรุงสมุดทะเบียนเกษตรกร การตรวจวิเคราะห์ดิน การมอบพันธุ์ผัก การมอบพันธุ์ปลา และตลาดเกษตรกร โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำเภอเมืองหนองบัวลำภู นายก อบต.โนนขมิ้น และเกษตรกรเข้าร่วมงาน จำนวนกว่า 250 คน

นายอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าวันนี้มีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ภายในงานนี้ก็มีการให้บริการคลินิกเกษตรของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งในแต่ละหน่วยงานก็ได้ให้ความรู้พร้อมกับการฝึกปฏิบัติการสาธิตให้กับเกษตรกรได้นำความรู้และก็นำไปขยายผลในพื้นที่ โดยเฉพาะนวัตกรรมการเลี้ยงปลากินพืชแบบลดต้นทุน สูตร 6 4 เอี่ยว (แหนแดง/ร่ำข้าวและอาหารสำเร็จรูป)คลุกเคล้าให้เป็นก้อนผสมด้วยกากน้ำตาดและกล้วยสุกในสัดส่วน 6 4 เอี่ยว และ นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินของ อบต.ป่าไม้งาม
นอกจากนั้น ยังมีแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเกษตร จากภาคเอกชน เช่นเครื่องจักรกลการเกษตรมาร่วมฝึกปฏิบัติและก็สาธิตให้กับเกษตรกรได้รับทราบในเรื่องของการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร มาใช้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้อย ที่ในอดีตมีการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยกันมาก เพราะฉะนั้นก็จำเป็นจะต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้ในการกำจัดวัชพืชโดยให้มีการปลูกในระยะที่ห่างมากขึ้น เช่นเดิมเคยปลูกอ้อยในระยะแถวประมาณ 1 เมตรก็ขยายให้ได้ประมาณ 1.5 -2 เมตรเพื่อที่จะนำเอารถแทรกเตอร์ขนาดเล็กไปใช้ในการกำจัดวัชพืชไปใช้ในการใส่ปุ๋ยแล้วก็ 3 ใบอ้อยก่อนที่จะตัดส่งโรงงานก็จะเป็นการลดปัญหา pm2.53 ไปด้วยนะครับวันนี้ก็เชื่อว่าเกษตรกรจะนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปขยายผลในพื้นที่ต่อไป
ทางด้าน นางสาวทัศนีย์ สุนนท์ชัย หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าวันนี้สำนักงานประมงจังหวัดหนองบัว ลำภู ได้นำเอานวัตกรรมเกี่ยวกับเรื่องของการเลี้ยงปลาแบบลดต้นทุน โดยใช้สูตร 6 4 เอี่ยว ซึ่งเป็นสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงปลากินพืช ได้แก่ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สก ปลานิล และปลาอื่นๆปัจจุบันพบว่าจำเป็นต้องใช้อาหารปลาซึ่งเป็นอาหารสำเร็จรูปแล้วก็มีราคาแพง
สำนักงานประมงจังหวัดหนองบัว ลำภู จึงได้นำเอาเทคโนโลยีในเรื่องของการเลี้ยงปลาโดยใช้สูตรอาหารลดต้นทุน ซึ่งเรามองเห็นว่าวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติหาได้ง่ายๆในท้องถิ่น ก็คือแหนแดงซึ่งเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งที่มีโปรตีนสูง คือมีโปรตีนอยู่ที่ 20-40% มาเป็นส่วนผสมในสูตรอาหารปลา โดยใช้แหนแดง มาเป็นส่วนผสม 6 ส่วนแล้วก็ใช้รำข้าว 4 ส่วนแล้วก็ที่ขาดไม่ได้ก็คืออาหารเม็ดสำเร็จรูป เราจะใช้โปรตีนสูง 32% ซึ่งอาหารผสมส่วนสูตรนี้จะมีโปรตีนสุดท้ายอยู่ที่ 20% ขึ้นไปเหมาะกับการเลี้ยงปลากินพืช
วิธีการในการทำอาหารสูตรนี้ก็คือ เอาแหนแดง รำข้าว และเม็ดอาหารสำเร็จรูปมาชั่งหรือตวงสูตรอาหารตามตามสูตร แล้วก็ผสมกันแล้วก็ใช้กากน้ำตาลมาช่วยในเรื่องของกลิ่นแล้วก็ใช้กล้วยน้ำว้ากล้วยสุก แทนสารเหนียวเพื่อที่จะนำผสมปั้นเป็นก้อน เสร็จแล้วเวลาเรานำไปให้อาหารปลาก็จะใช้สวิงเป็นภาชนะวิธีการนี้ปลาที่เราเลี้ยงปลากินพืชส่วนใหญ่ ก็จะเลี้ยงประมาณ 10 เดือนขึ้นไปก็จะได้ปลาขนาด 3 ตัวกิโลเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงปลากินพืช สำหรับสูตร 6 4 เอี่ยวโดย 6 ส่วนแรกก็คือพืชน้ำหรือว่าเราใช้เป็นแหนแดง 4 ส่วนต่อมาก็คือรำข้าว แล้วก็อีก 1 ส่วนเป็นส่วนผสมของอาหารเม็ดสําเร็จรูป ก็จะเป็นสูตรอาหารลดต้นทุนในการเลี้ยงปลากินพืชของเกษตรกรแบบชาวบ้านง่ายๆราคาประหยัด และได้ผลอย่างดี
ในขณะที่ นายเลิศชัย สีหาวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าไม้งาม กล่าวว่าวันนี้ได้นำเอานวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งเราประยุกต์มาใช้กำจัดน้ำเสียในครัวเรือนหรือน้ำขังในชุมชน ซึ่งขั้นตอนกระบวนการที่ทำไม่ยาก สำหรับขั้นตอนกระบวนการก็ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ลึกประมาณ 1-2 เมตร เสร็จแล้วก็จะนำวัสดุที่มี อาทิเศษอิฐที่ชุมชนทุบบ้านที่จะก่อสร้างบ้านใหม่นำอิฐมาใส่ จากนั้นก็เอาก้อนหินขนาดเล็กเรียงต่อเป็นชั้น ต่อมาก็จะเป็นหินขนาดกลางแล้วก็หินขนาดใหญ่ก็แล้วแต่ จะใส่ลงไป หรือจะใส่ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ทั้งหมดเลยก็ได้ไม่มีปัญหา
ในชั้นของดินตามทฤษฎี มันก็จะมีชั้นดินอ่อน ต่อไปก็จะเป็นชั้นดินเหนียวล่าสุดก็จะเป็นหินอุ้มน้ำ พอมันซึมลงไปมันก็จะเกี่ยวกับเก็บอยู่ที่หินอุ้มน้ำ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วจะเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งซึ่งประ โยชน์ของมันก็จะทำให้ดินชุ่มชื้นกักเก็บน้ำได้แล้วก็จะเป็นการกำจัดน้ำเสียในครัวเรือนที่เราล้างถ้วยล้างจานน้ำอาบอะไรต่างๆมันก็จะไม่ได้ไปสร้างความรำคาญให้กับครัวเรือนอื่น รวมถึงเป็นการกำจัดยุงของชุมชนได้อีกด้วย
บ้านโคกศรีเจริญ หมู่ที่ 11 ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมืองหนองบัว ลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ทำประสบผลสำเร็จมาแล้ว และขยายผลไปยังหมู่บ้านข้างเคียง ล่าสุดเป็นหมู่บ้านชุมชนปลอดขยะถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราชนะเลิศระดับประเทศซึ่งได้รับรางวัลมาแล้วผลที่ได้รับก็คือ 1 ไม่มีน้ำท่วมขังในในชุมชน 2 กำจัดน้ำเสียในครัวเรือนและตัวที่ 3 เป็นการกำจัดพวกยุงลายพวกลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะไปสู่คนทำให้เกิดเชื้อโรคได้
ท้ายนี้ก็ขอประชาสัมพันธ์แนะนำว่าชุมชนไหนตำบลไหนไม่ว่าจะในจังหวัดหนองบัวลำภูหรือหน่วยงานไหนทั้งในและต่างจังหวัด ถ้าจะมาดูงาน ทั้งเรื่องขยะหรือนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดิน ก็เข้าไปดูในชุมชนบ้านโคกศรีเจริญได้ทุกวันเวลา นายก อบต.ป่าไม้งามกล่าวเชิญชวน.
Discussion about this post