
วันที่ 13 เม.ย.67 นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราช การจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายวิชัย เลิศภัทรนันท์ แรงงานจังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่จากกรมทางหลวง และคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฎิบัติงาน และออกตรวจเยี่ยมจุดตรวจหลัก จุดบริการ และด่านชุมชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ในพื้นที่ อำเภอเขื่องใน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเหล่าเสือโก้ก และอำเภอดอนมดแดง พร้อมมอบอาหาร และน้ำดื่ม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนให้มีความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่ง ครัด ไม่ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด ไม่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ไม่ขับรถย้อนศร และไม่แซงในที่คับขัน สวมหมวกนิรภัย ไม่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ปลอด ภัย ขับรถอย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับ และ ไม่ขับขี่รถขณะเมาสุรา เดินทางไปสู่ที่หมายอย่างปลอดภัย โอกาสนี้ รองผู้ว่าราช การจังหวัดฯ ยังได้กล่าวขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำจุดตรวจทุกท่าน และขอให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งต่อไป
ทั้งนี้จังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ภายใต้แผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ. 2567 จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2567 ชื่อรณรงค์ใช้ชื่อว่า “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” โดยกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต และจำนวนผู้บาดเจ็บ (adnit) ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ลดลงไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง (ปี 64,65,66) จำนวนการเกิดอุบัติเหตุเฉลี่ย 5 ครั้ง ผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 2 ราย และผู้บาดเจ็บเฉลี่ย 3 ราย
โดยในปี 2567 จังหวัดอุบลราช ธานี มีตัวชี้วัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ จำนวนการเกิดอุบัติเหตุไม่เกิน 4 ครั้ง ผู้เสียชีวิตไม่เกิน 1 ราย และผู้บาดเจ็บ (admit) ไม่เกิน 1 ราย และกำหนดมาตรการช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 แบบเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในลักษณะ “ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Approach)” เพื่อควบ คุมและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งด้านคน ถนน ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด และให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางทุกมิติ ประกอบด้วย มาตรการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย และด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ.
Discussion about this post