วันที่ 5 สค.67 ที่ห้องประชุม อบต.ทุ่งโพธิ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี นายกฤช ศิลปชัย รองประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 7
พร้อมด้วย นายสมนึก จงมีวศิน ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการและคณะ ได้มาศึกษาดูงานการดำเนินการร้องทุกข์จากชาวบ้านหมู่ที่ 6 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ร้องเรียนร้องทุกข์ กรณีบริษัท เอสเตอร์ คอเรน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 17 มีค.63 ร้องเรียนครั้งที่ 1 โดยนายสัมพันธ์ มั่นจิตร ร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณีการก่อสร้างลานยางและบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่ติดกับบ้านเรือนของราษฎร ซึ่งมีผู้ได้รับความเสียหาย นายสัมพันธ์ มั่นจิตร นางวิภาดา พรมเนตร นางบุญมี มั่นจิตร นายกันตพงศ์ โสกำปัง ได้ร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรม อบต.อุตสาหกรรมจังหวัด ทาง อบต. ทุ่งโพธิ์ แจ้งผลการร้องเรียนว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายตาม พรบ.โรงงานพ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มจำนวนที่ 2 พ.ศ.2562 ตามหนังสือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรีแจ้งเรื่องการก่อสร้างลานรับซื้อยางพารา ตรวจสอบพบว่า มีคนงานก่อสร้างลานรับซื้อยางพารา ไม่มีการติดตั้งเครื่องจักรสำหรับใช้ในการประกอบกิจการรับซื้อน้ำยางดิบและขี้ยาง จึงไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พรบ.โรงงาน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงานฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 โดยผู้ร้องพร้อมพวกได้ร้องเรียนถึง 9 ครั้ง

ครั้งที่ 9 ร้องเรียนเมื่อวันที่ 10 สค.65 นายกันพงษ์ กับพวก ร้องเรียนขอความเป็นธรรม สถานประกอบกิจการรับซื้อยางพาราและโกดังเก็บขี้ยางพาราทำให้มีกลิ่นเหม็นและน้ำเสียจึงทำให้ได้รับความเดือดร้อน ฟ้องร้องนายชูชาติ บำรุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีหน้าที่กำกับดูแล บำบัดทุกข์บำรุงสุข สภาพแวดล้อมและสาธารณประโยชน์ แก่ราษฎรในท้องถิ่น ตามอำนาจหน้าที่ และตามกฎหมาย ฟ้องร้องนายณรงค์ศักดิ์ ถนัดเดินข่าว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แก่บริษัท วันที่ 29 มิย.67 เจ้าหน้าที่ อบต.ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา อบต.ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการรับซื้อยางพารา
วันที่ 12 กค.67 แจ้งคำสั่งศาลปกครองระยอง ศาลยกฟ้องและจำหน่ายคดีออกสาระบบในเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แก่บริษัทฯ เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ ยังไม่ได้อนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายดังกล่าว วันที่ 30 สค.66 อบต.ทุ่งโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 สมาชิกสภา อบต.หมู่ที่ 6 ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบกิจการลานรับซื้อยางพารา
วันที่ 2 กค.67 ยื่นคำชี้แจงต่อศาลปกครองระยอง นายก.อบต.ทุ่งโพธิ์ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการทุกขั้นตอน ในเรื่องการก่อสร้างอาคารหรือสร้างโรงเรือนประกอบกิจการ ซึ่งเป็นการอนุญาตก่อสร้างอาคารดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร เป็นไปตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นายก อบต.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้งในการลงพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องความเดือดร้อนหรือเหตุรำคาญร่วมกับทางเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรีกำนันตำบลทุ่งโพธิ์ ผู้นำชุมชน ได้มีการจดบันทึกการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงบริษัท เอสเตอร์ คอเรน อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด ซึ่งการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว มีระบบการป้องกัน ระบบควบคุมกลิ่นที่ดี โดยมีรั้วกำแพง โรงเรือนหรือโกดังปิดสำหรับเก็บก้อนยางพารา และมีบ่อไบโอแก๊สสามารถเก็บกลิ่นได้อย่างดี คณะเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เห็นว่าบริษัทดังกล่าว มีการดำเนินการที่ดีพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ จึงได้จดบันทึกการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐาน
นายกฤช ศิลปชัย รองประธานคณะกรรมการกล่าวว่า จากการลงพื้นที่ในวันนี้จะนำเรื่องหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้รับผิดชอบหลัก ถ้าจะบูรณาการต้องบูรณาการร่วมกัน จากการลงพื้นที่พบว่ามีกลิ่นยางพารา และพบว่าบ่อบำบัดน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการของบริษัทในระดับต้นๆ ต้องทำให้ดีกว่านี้ดูด้วยตาเปล่าก็รู้แล้วว่าน้ำเน่าเสียมีกลิ่นเหม็น และไม่มีคูกั้นบ่อบำบัดไม่แข็งแรงซึ่งเป็นคันดินตื้นๆ ได้กำชับ ทสจ.ให้ตรวจวัดค่าน้ำ ต้องวัดค่าน้ำเสีย ต้องให้ทำบาอบำบัดน้ำเสียใหม่ ถ้าจะประกอบกิจการนี้ต่อไป ต้องดำเนินการเพื่อลดปัญหากลิ่นน้ำเน่าเสีย
นายสัมพันธ์ มั่นจิตร ผู้ร้องกล่าวว่า ที่ผ่านมาตนเองกับเพื่อนบ้านได้กลิ่นเหม็นเน่าจากยางพาราจริง บางครั้งเหม็นจนปวดหัวหลายปีที่ผ่านมาก็ต้องทนอยู่ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นให้กับชาวบ้านด้วย ป้าสมควร ขอสงวนนามสกุล ชาวบ้านกล่าวว่า บ้านติดกับโรงงานจริง ถามว่าได้กลิ่นเหม็นจากขี้ยางพาราหรือไม่ มันก็มีเหม็นบ้างเป็นระยะๆทุกวันนี้อาจจะชินแล้วหรือไม่เหม็นหรือเหม็นแยกแยะไม่ออก
ด้านนายสุนทร ขอสงวนนามสกุล ผู้จัดการบริษัทฯ กล่าวว่า อยากให้มองว่าเป็นกลิ่นยางพาราที่เป็นกรดมากกว่า ซึ่งเป็นกลิ่นยางตามธรรมชาติ ขบวนการเกิดจากกรด น้ำกรดที่ใช้ผสมในการให้น้ำยางเป็นก้อนที่ทำให้เกิดกลิ่น บวกกับกลิ่นน้ำยางเป็นกลิ่นจากธรรมชาติ
Discussion about this post