วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนคพรนม รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนครพนม วันนี้มีรายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 7 ราย เป็นการติดเชื้อในจังหวัด 2 ราย ติดเชื้อนอกพื้นที่ 5 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม 4 ราย โรงพยาบาลนาแก 2 ราย โรงพยาบาลบ้านแพง 1 ราย รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสมระลอกใหม่ 5,081 ราย รักษาหายแล้ว 4,964 ราย หายป่วยกลับบ้านวันนี้ 4 ราย กำลังรักษาอยู่ 89 ราย เสียชีวิตสะสม 28 ราย โดยไม่พบผู้เสียชีวิตต่อเนื่องมา 7 วัน
ในส่วนของภาพรวมจำนวนเตียงสำหรับรองรับการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เตียงของรพ.ทั่วไป/ รพ.ชุมชน ทั้ง 12 อำเภอ ทั้งหมด 324 เตียง ใช้ไป 86 เตียง คงเหลือ 238 เตียง รวมจำนวนเตียงทั้งหมด 324 เตียง ใช้ไป 86 เตียง คงเหลือรองรับผู้ป่วย 238 เตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 น.) ด้านการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชาชนจังหวัดนครพนมที่ควรได้รับวัคซีน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับจังหวัด (70%) คือ 502,312 คน มีประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 292,744 คน คิดเป็น 51.35% ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแผนการฉีดวัคซีนฯ และให้ทุกหน่วยงานบูรณาการภารกิจรณรงค์เร่งรัดการฉีดวัคซีน ระหว่างวันที่ 17-30 พฤศจิกายน 2564 ในกลุ่มประชากรตามสิทธิ์การรักษาฯ โดยตั้งเป้าหมายการให้บริการฉีดวัคซีนให้ได้วันละ 7,670 คน ด้วยการจัดกิจกรรมสัปดาห์แห่งการฉีดวัคซีน จัดทีมฉีดวัคซีนเชิงรุก ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และขยายในกลุ่มแรงงานต่างด้าว การค้นหากลุ่มเป้าหมายนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเชิงรุกและนำมาฉีดวัคซีน การสื่อสารทำความเข้าใจให้ข้อมูลด้านวัคซีนให้ประชาชนรับทราบ รวมทั้งการจูงใจให้ประชาชนฉีดวัคซีนฯ ด้วยของรางวัลส่วนลดพิเศษทั้งค่าโดยสารสาธารณะ ร้านอาหา ห้างสรรพสินค้า
“จังหวัดนครพนม ขอเชิญประชาชนขาวจังหวัดนครพนมฉีดวัคซีน “สูตรวัคซีนไขว้” สูตร 1 เข็มที่ 1 ซิโนแวค ระยะห่าง 4 สัปดาห์ เข็มที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้า สูตร 2 เข็มที่ 1 แอสตร้าเซนเนก้า ระยะห่าง 6 สัปดาห์ เข็มที่ 2 ไฟเซอร์ และสูตร 3 เข็มที่ 1 ซิโนแวค ระยะห่าง 4 สัปดาห์ เข็มที่ 2 ไฟเซอร์ ทั้งนี้ ประชาชนชาวจังหวัดนครพนม สามารถขอรับบริการฉีดวัคซีน แบบ Walk-In ได้ ณ โรงพยาบาลทุกแห่ง และ รพ.สต.ที่แต่ละพื้นที่กำหนด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวัคซีนโควิดแต่ละอำเภอ”
นอกจากนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครพนม ได้ร่วมกันพิจารณาการประเมินความพร้อมโรงเรียนในการเปิดเรียนแบบ On-Site และมีมติเห็นชอบให้เปิดเรียนเพิ่ม จำนวน 88 แห่ง เป็นโรงเรียนในพื้นที่อำเภอเมืองนครพนม 16 แห่ง อำเภอเรณูนคร 10 แห่ง อำเภอนาแก 6 แห่ง อำเภอปลาปาก 9 แห่ง อำเภอนาทม 13 แห่ง อำเภอโพนสวรรค์ 6 แห่ง อำเภอธาตุพนม 6 แห่ง อำเภอศรีสงคราม 16 แห่ง และอำเภอนาหว้า 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 371 แห่ง จากโรงเรียนทั้งหมด 551 แห่ง (คิดเป็น 67.33%) ทั้งนี้ คณะกรรมการโรคติดต่อฯ ได้พิจารณาอนุมัติให้เปิดเรียนไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 169 แห่ง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 70 แห่ง และเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 76 แห่ง
Discussion about this post