เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานกระแสการต่อต้าน พระครูสุทธิญาณโสภณ (เล็ก สุทธิญาโณ) เจ้าคณะอำเภอสังคม จ.หนองคาย ผู้ซึ่งได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) ท่ามกลางความวุ่นวายเสียงคัดค้าน เนื่องจากชาวพุทธกาฬสินธุ์ และ คณะสงฆ์สายป่าทั้งจังหวัด ล่ารายชื่อถวายฎีกา ขึ้นป้ายต่อต้าน เพราะ ไม่เห็นด้วยต่อคำสั่งนี้ เพราะเชื่อว่าคำสั่งนี้สอดไส้ ไม่เหมาะสมต่อการปกครองทางสงฆ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในแผ่นดินสงฆ์อีสาน เพราะเป็นการตั้งข้ามห้วยจาก ระดับ เจ้าคณะอำเภอ มาเป็นผู้นำฝ่ายปกครองสงฆ์ระดับเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งยังข้ามภาคการปกครอง ผิดจารีตประเพณี ผิด พ.ร.บ.สงฆ์ และกฏมหาเถรสมาคม มีการคัดค้านรุนแรงต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 และยังรุนแรงมากขึ้นถึงทุกวันนี้ ทำให้ “พระเล็ก” ไม่มีวัดหรือสำนักสงฆ์ไว้ ปฏิบัติธรรม อีกทั้งพระสังฆาธิการสายป่า ก็ยื่นหนังสือล่าออกไปจนครบทุกวัด ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจของ เจ้าคณะภาค 9 (ธ) ที่ยังลังเลที่จะมีการลงนามให้ พระสังฆาธิการฯ ลาออกหรือไม่ จนเป็นเหตุให้เชื่อว่าวิกฤติศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ คำสั่งแต่งตั้งครั้งนี้ ยังจะทำให้เกิด สังฆเภท หรือสงฆ์แตกแยกในคณะสงฆ์ หลายฝ่ายยังวิวอนให้ “พระครูเล็ก” ลาออกจากตำแหน่งที่จะเป็นการเปิดทางให้ มหาเถรสมาคมและสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ใช้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้
แต่กลับมีรายงานว่าเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นกิจกรรมวันลอยกระทบ ทีมข่าวแจ้งว่าในช่วงบ่าย ทีมงานข่าวหลายสำนักฯ ได้ไปเฝ้ารอเพื่อทำข่าววันลอยกระทง ที่วัดป่าสักกาวัน ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ โดยได้ไปที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่ง ได้พบขบวนรถเกือบ 10 คัน ที่มีชายแต่งกายคล้ายทหารลงมาจากรถตู้สีขาว และปรากฏ พระรูปหนึ่งที่หน้าคล้ายกับ พระครูเล็ก เดินลงมาเข้าห้องน้ำภายในปั้มน้ำมันดังกล่าวฯ ทันทีที่ผู้สื่อข่าวเห็นหน้าชัดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายที่มีการนำเสนอข่าว ใบหน้าตรงกับ “พระเล็ก” ซึ่งจะเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ ทีมข่าวทั้งหมดจึงได้ติดตาม พบว่า คณะของ “พระครูเล็ก” ได้เดินทางขึ้นไปที่วัดป่าสักกาวัน ที่มีเป้าหมายจะเข้าไปกราบ พระเทพมงคลมุนี หรือเจ้าคุณหลวงปู่หา เจ้าอาวาสวัดป่าสักกาะวัน ไดโนเสาร์ อายุ 97 ปี
รายงานแจ้งว่า ทีมข่าวจึงได้เฝ้าติดตามปรากฏและลงไปเพื่อบันทึกเก็บภาพ โดยมีชาวฉกรรจ์ผมสั้นเหมือนทหาร ได้เข้ามาสอบถามว่าเป็นนักข่าวจริงหรือไม่และได้มีการพูดคุยสอบถามว่าใช้ พระครูเล็กหรือไม่ เมื่อทราบความจึงได้เฝ้าติดตามถ่ายภาพ แต่ การด์ที่ติดตามพยามห้ามไม่ให้สื่อทำข่าว และ พระครูเล็ก ก็ได้เดินเข้าไปเฝ้ารอที่หน้ากุฏิหลวงปู่หา จนเมื่อเวลา 15.30 น. หลวงปู่หาที่มีภาระกิจ ประเพณีลอบกระทง ได้ปรากฏตัวออกมาในสภาพนั่งรถเข็ญ ก็ได้อนุญาติให้ “พระครูเล็ก” เข้ามากราบ บรรยากาศการพูดคุย “พระครูเล็ก” ได้อธิบายถึงการเข้ามากราบ ว่าตนเองได้รับพระราชโองการจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ให้มาดำรงตำแหน่งบริหารคณะสงฆ์สายป่าที่กาฬสินธุ์ และไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้ ไม่ได้ร้องขอ ไม่ได้ดิ้นรน แต่ได้มาเอง จึงต้องการให้เจ้าคุณหลวงปู่หา เมตตา เพราะขณะนี้มีกระแสต่อต้าน ซึ่งบทสนทนาดังกล่าว เจ้าคุณหลวงปู่หา ไม่ได้ตอบอะไร แต่ตอบกลับถามไปว่า “ท่านคือใคร” เพราะเจ้าคณุหลวงปู่หาก็ไม่รู้จักพระเล็ก เมื่อหลวงปู่หาทราบว่าเป็นพระเล็ก ก็ตอบกลับไปว่า ผมไม่รู้เรื่องมากราบก็ดีแล้ว จากนั้นก็เป็นการจบบทสนทนา
“แต่ระหว่างที่สนทนา “พระครูเล็ก” ยังได้หันมาทำทีเหมือนเป็นการต่อว่า ผู้สื่อข่าวที่เก็บภาพ โดยบอกว่า ไม่ต้องการให้ถ่ายภาพ แต่ถ่ายแล้วก็ให้เขียนข่าวดีๆ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาสงฆ์แตกแยกเป็นการสร้างข่าวที่จะทำให้เกิดปัญหาสังฆเภทในหมู่สงฆ์”
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ “พระครูเล็ก” ปรากฏตัวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และ ไปพบกับทีมข่าวโดยบังเอิญ ซึ่งทีมข่าวพยามที่จะขอสัมภาษณ์ เกี่ยวกับปัญหาการขับไล่ “พระครูเล็ก” แต่พระครูเล็กปฏิเสธ ไม่ยอมพูดถึง โดยมีกลุ่มชายฉกรรจ์ห้อมล้อมตัว ที่พยามติดต่อเป็นหาทางเข้ามาบริหารจังหวัดกาฬสินธุ์ เพราะตาม กฏมหาเถรสมาคม รวมไปถึง พ.ร.บ.สงฆ์ฯ เกี่ยวกับการบริหารคณะสงฆ์ ซึ่งตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ถือเป็น เจ้าพนักงานของรัฐ หากไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ได้ภายใน 30 วัน ก็ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่จะมีความผิดด้วยเช่นกัน จึงทำให้มีการเคลื่อนไหวเข้ามาในพื้นที่แม้จะมีการต่อต้านตนเองก็ตาม
สำหรับการเคลื่อนไหวของชาวพุทธกาฬสินธุ์ ยิ่งมีการเฝ้ารอและตรวจสอบไปยังสำนักสงฆ์หรือวัดป่าหรือวัดร้าง เพื่อทราบความเคลื่อนไหวของพระครูเล็ก ว่าจะเข้าไปอยู่วัดใด หรือมีวัดใดเปิดรับพระครูเล็กบ้าง ที่หากวัดใดเปิดรับอนาคตก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงและคาดไม่ถึงในพื้นที่นั้นก็เป็นได้
Discussion about this post