ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • กีฬา
    • อาหาร-ท่องเที่ยว
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • กีฬา
    • อาหาร-ท่องเที่ยว
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home เกษตร

เกษตรจังหวัดนครพนม เตือนปลูกกะหล่ำเฝ้าระวังโรคราน้ำค้าง และหนอนชอนใบมะเขือเทศพร้อมแนะวิธีเกษตรกรรับมือหากพบเข้าทำลาย

by gumpon
5 เดือน ago
in เกษตร
Reading Time: 1 min read
8 0
0
เกษตรจังหวัดนครพนม เตือนปลูกกะหล่ำเฝ้าระวังโรคราน้ำค้าง และหนอนชอนใบมะเขือเทศพร้อมแนะวิธีเกษตรกรรับมือหากพบเข้าทำลาย
5
SHARES
20
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

วันที่ 20 ธ.ค.64 นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดนครพนม ในขณะนี้อากาศเริ่มเย็นๆ มีความชื้นสูงในตอนเช้า สำหรับช่วงนี้พร้อมทั้งมีอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม จึงแนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง ซึ่งเมื่อเข้าทำลายแล้วจะทำให้ผลผลิตกะหล่ำลดลง และเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica ชนิดพืชที่เกิดโรคได้แก่ กวางตุ้ง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า บร๊อคโคลี่ ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียว และผักกาดหัว เป็นต้น ซึ่งจะพบกลุ่มของเชื้อราเป็นผงสีขาวหรือสีเทาบนใบ ด้านหลังใบจะเกิดแผลสีเหลืองต่อมาเป็นสีน้ำตาล แผลค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขอบไม่แน่นอน ถ้าเป็นรุนแรง แผลจะมีจำนวนมาก ใบจะเหลืองและแห้งตาย ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อน แล้วลามระบาดไปยังใบที่สูงกว่า ในต้นอ่อนจะเริ่มมีแผลสีเหลืองที่ใบเลี้ยงและจะหลุดร่วงไป อาจจะทำให้ ต้นเติบโตช้า โทรมอ่อนแอและตายได้ ในผักที่ใบห่อเป็นหัว ใบที่ห่อจะเกิดเป็นแผลจุดสีดำเป็นแอ่งลงไป อาจมีขนาดเล็กถึงใหญ่ ในกะหล่ำดอกและบร๊อคโคลี่ เชื้ออาจเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้เกิดแผลสี น้ำตาลดำที่ผิวนอกสุด เป็นหย่อมๆ หรือทั่วทั้งดอก ถ้าเป็นโรครุนแรง ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝักอ่อน ก็มีแผลเช่นเดียวกับแผลที่เกิดบนใบ ฝักไม่สมบูรณ์

สำหรับการแพร่ระบาดสปอร์ของเชื้อราจะปลิวไปตามลมหรือติดไปกับสิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ แล้วตกลงบนใบพืชเข้าทำลายพืชทาง ปากใบ อยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ (ส่วนขยายพันธุ์)ผนังหนา (oospora) ซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืชหรืออาศัยกับ ต้นที่งอกเองนอกฤดู และติดไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์สภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 20 – 24 องศาเซลเซียส มีหมอกหรือน้ำค้างลงจัด
แนวทางในการการป้องกันและกำจัด ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส 20 – 30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิล หรือ เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ ก่อนปลูก ไม่ปลูกผักซ้ำที่เดิมเคยมีการระบาดของโรค โดยปลูกพืชหมุน เวียนอย่างต่ำ 3 – 4 ปี ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควรอย่าให้แน่นเกินไป หลังจากเก็บเกี่ยวควรทำลายเศษซากพืชหรือพืชที่งอกเองให้หมด เมื่อพบอาการบนใบควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น บาซิลัส ซับทิลิส, เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ, ไซบ็อกซามิล+แมนโคเซบ, ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ, โพรพิเนบ+ไซม็อกซามิล เป็นต้น โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ น้ำหนักลด เพราะต้องตัดใบเป็นโรคออกเสีย ทำให้ผลผลิตตกต่ำ กะหล่ำปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็นโรคไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกัน และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำเข้าทำลายในจังหวัดนครพนม เกษตรกรควรรีบแจ้งข้อมูลการระบาดหรือหากมีข้อสงสัย สามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

และนางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศ อาจะต้องเฝ้าระวังหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มีความร้ายแรงระดับโลก เนื่องจากสามารถทำลายและสร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิด หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ เป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะพืชวงศ์มะเขือ เช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริก ยาสูบ รวมทั้งวงศ์ถั่ว และกะหล่ำ โดยการกัดกินชอนไชใบ ลำต้น และผล ทำให้ผลผลิตลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จากสถานการณ์ระบาดอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในแหล่งปลูกมะเขือเทศหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้และทวีปยุโรป รวมทั้งเริ่มพบการระบาดของหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศในทวีปเอเชียแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นแมลงที่ต้านทานต่อสารกำจัดศัตรูพืชทำให้การป้องกันกำจัดยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดสูงตามไปด้วย

หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเปรู ต่อมาพบการระบาดและสร้างความเสียหายอย่างมากในแหล่งปลูกมะเขือเทศหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ รวมทั้งหลายพื้นที่ของทวีปยุโรป สำหรับในทวีปเอเชียมีรายงานพบการระบาดของหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และเนปาล ล่าสุดได้รับการยืนยันจากหน่วยงาน World Vegetable Center และ The Center for Agriculture and Bioscience International (CAB) พบการระบาดของหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศในบริเวณภาคเหนือของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาแล้ว

การป้องกันกำจัดผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศ แบบผสมผสาน ในขั้นตอนของการเตรียมดิน ให้ไถพรวนและตากดิน เพื่อกำจัดระยะดักแด้ที่อยู่ในดิน ทำความสะอาดโรงเรือนและวัสดุปลูก เพื่อกำจัดดักแด้ที่ติดอยู่ภายในวัสดุปลูก และเมื่อมีการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วให้เผาทำลาย ฝังกลบต้นพืช เพื่อกำจัดแมลงมี่ยังตกค้างอยู่ในต้นพืช ในระยะก่อนปลูกให้ใช้ต้นกล้าและวัสดุปลูกที่ปราศจากหนอนชอนใบมะเขือเทศ และหลังปลูกลงในแปลงไปแล้วหมั่นสำรวจแปลงปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกโดยสังเกตรอยทำลายบนต้นพืชหรือใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองหรือกับดักฟีโรโมน 3 – 4 กับดักต่อไร่ เมื่อพบตัวผีเสื้อบนกับดัก 3 – 4 ตัวต่อกับดักต่อสัปดาห์ให้ติดตั้งกับดักฟีโรโมน ดักจับตัวเต็มวัยเพศผู้ 6 – 8 กับดักต่อไร่ เพื่อลดประชากรผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศ แนะนำให้เกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์ โดยการพ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทรูริงเยน และเมื่อพบการแพร่ระบาดในระยะเริ่มต้นควรพ่นสารชีว-ภัณฑ์ในช่วงเย็น เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และหากพบว่ามีการระบาดที่รุนแรงให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และอีกวิธี คือ การปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยของหนอนชอนใบมะเขือเทศเพื่อตัดวงจรการระบาดเพิ่มขึ้น สำหรับในพื้นที่จังหวัดนครพนมมีหลายพื้นที่อำเภอที่มีการปลูกมะเขือเทศ เช่น อำเภอปลาปาก อำเภอธาตุพนม และอำเภอบ้านแพง เป็นต้น แม้จะยังไม่มีรายการพบการระบาดในพื้นที่ แต่ได้มีการเตรียมการในการสร้างการรับรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 12 อำเภอ เพื่อดำเนินการติดตามและลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมให้คำแนะนำกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเข้าทำลายของผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศในจังหวัดนครพนม และหากเกษตรกรมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศ สามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน.

Related

อ่านเพิ่มเติม
Previous Post

สกลนคร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบผ้าห่มกันหนาวพระราชทาน

Next Post

วิ่งเทรลทดสอบเส้นทาง เตรียมการแข่งขันวิ่งตามภูมิประเทศ Amazean Jungle trail

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

นครพนมคึกคัก ชาวบ้านแห่เข้าป่าเก็บเห็ดหลังฝนตกชุกช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เผยราคาเห็ดช่วงนี้สูงลิ่ว เห็ดเผาะ กก.ละ 1,000 บาท
ทุกมุมทั่วไทย

นครพนมคึกคัก ชาวบ้านแห่เข้าป่าเก็บเห็ดหลังฝนตกชุกช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เผยราคาเห็ดช่วงนี้สูงลิ่ว เห็ดเผาะ กก.ละ 1,000 บาท

2 วัน ago
23
สกลนคร ชาวสวนมะม่วงเเฮปปี้ ผู้ว่าฯอุ้มรับขายออนไลน์ช่วย ขายดีจนหมดสต็อก 
เกษตร

สกลนคร ชาวสวนมะม่วงเเฮปปี้ ผู้ว่าฯอุ้มรับขายออนไลน์ช่วย ขายดีจนหมดสต็อก 

4 วัน ago
116
ชาวไร่อ้อยไร่มันสำปะหลังถือฤกษ์ดีวันพืชมงคลปลูกต้นกล้าเพื่อความเจริญงอกงาม 
เกษตร

ชาวไร่อ้อยไร่มันสำปะหลังถือฤกษ์ดีวันพืชมงคลปลูกต้นกล้าเพื่อความเจริญงอกงาม 

5 วัน ago
7
ปราจีนบุรี หน่อไม้ไผ่ตงราคาตก 
เกษตร

ปราจีนบุรี หน่อไม้ไผ่ตงราคาตก 

5 วัน ago
15
Next Post
วิ่งเทรลทดสอบเส้นทาง เตรียมการแข่งขันวิ่งตามภูมิประเทศ Amazean Jungle trail

วิ่งเทรลทดสอบเส้นทาง เตรียมการแข่งขันวิ่งตามภูมิประเทศ Amazean Jungle trail

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

สุดปัง…ช อ้น ณ บางช้าง “75 ปี กีต้าร์มาเฟีย” (Rock Father)

2 วัน ago
20

คณะแพทย์ ม.ขอนแก่น จัดประชุมวิชาการ “การพัฒนาสุขภาพชุมชนแนวใหม่ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565” พัฒนาองค์ความรู้ 

2 วัน ago
28

อบต.แม่วิน ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันต้นไม้แห่งชาติ 

2 วัน ago
78

โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมกับ ชุมชนหนองน้ำเย็น มอบทุนการศึกษานักเรียน 

2 วัน ago
21

ชมรมวิทยุสมัครเล่นบ้านหมี่ลงพื้นที่มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยผู้ยากไร้ 

2 วัน ago
18

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : gumpon999@gmail.com
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • กีฬา
    • อาหาร-ท่องเที่ยว
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยเราในการนับจำนวนและที่มาของการเข้าชม เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพไซต์ของเราได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดได้รับความนิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และทราบว่าผู้เยี่ยมชมเข้าดูส่วนใดบ้าง ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้จัดเก็บไว้จะถูกรวมไว้ด้วยกัน จึงทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน เราจะไม่ทราบว่าคุณเข้าชมไซต์ของเราเมื่อใด

บันทึกการตั้งค่า