นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นักวิชาการพัฒนาชุมชน (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบล ราชธานี และสำนักงานประชาสัม พันธ์จังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและมอบแนวทางในการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” แปลงศูนย์เรียนรู้ระดับตำบล (Community Lab Model for quality of Life : CLM) นายอาชวิน สัญญารักษ์ บ้านหนองเต็ง หมู่ที่ 8 ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายวิทยา มุลน้อยสุ นายอำเภอน้ำยืน นางสาวนันท์นภัส สุวรรณา พัฒนาการอำเภอน้ำยืน นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม พร้อมคณะ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติกลุ่ม SAVEUBON และเจ้าของแปลง CLM ในพื้นที่อำเภอน้ำยืน ร่วมให้การต้อนรับและสนับสนุนการดำเนินงาน
โอกาสนี้ นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้เปิดเผยถึงแนวทางการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ของ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ได้มอบหมายให้ทุกอำเภอได้มีการประเมินแปลงโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึง โครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจัดเป็นระดับ A หรือดี B ปานกลาง และ C ต้องปรับปรุง ซึ่งอำเภอน้ำยืน นั้น มีแปลงโคก หนอง นา โมเดล ทั้งสิ้น 33 แปลง แยกเป็น CLM 6 แปลง และ HLM 27 แปลง จึงขอให้ทางอำเภอ ได้เร่งดำเนินการ เพื่อให้ทราบสถานะของแปลง และหาหนทางเสริมกำลังให้เข้มแข็ง ตลอดจนหาทางช่วยเหลือในแปลงที่ประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป
นอกจากนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ยังกล่าวถึงการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy Development Zones for Sustainable Development Goals (SEDZ for SDGs) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นภาคต่อเนื่องและขยายผล “โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งประชาชนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ของอำเภอน้ำยืนนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 19 ราย พื้นที่ 83 ไร่ โดยจะมีการออกแบบให้มีความเชื่อมโยงกัน ยกตัวอย่างเช่น การรวบรวมผลผลิตของคนในชุมชนและในแปลงต่างๆ มาแปรรูปและจำหน่ายผลผลิตตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า (บันได 9 ขั้น) ยกตัวอย่างเช่น กล้วยแสงแรก อ.เขม ราฐ หรือ จานใบไม้รักษ์โลก จากศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อ.เขื่องใน ที่วางแผนในการเชื่อมโยงผลผลิตและกิจกรรมจากโคก หนอง นา หรือเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ เพื่อส่งต่อไปยังผู้ประกอบการและส่งเสริมเรื่องการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประกาศความสำเร็จของจังหวัดอุบลราชธานี หรือการ Quick Win ตามนโยบายที่ท่านพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กรุณามอบแนวทางให้ให้ประสบผลสำเร็จได้โดยเร็ว และไม่ปล่อยให้ล้มเหลวหรือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังให้สมกับเป็น “มหานครแห่ง โคก หนอง นา” ที่ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการมากที่สุดในประเทศ ไทย กว่า 4 พันแปลง สุดท้ายนี้ ขอฝากเรื่องการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ โดยการทำคลิปออกประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้นำชุมชน เปิดเสียงตามสาย หรือหอกระจายข่าวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำเป็นต้นแบบหรือตัวอย่างด้วย
ขณะที่ นายอาชวิน สัญญารักษ์ เจ้าของแปลง CLM และผู้ใหญ่บ้านหนองเต็ง หมู่ที่ 8 ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อปี 2555 มีปณิธานแน่วแน่ที่จะพัฒนาชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน โดยเริ่มปลูกต้นไม้และกล้วยเป็นตัวอย่างให้กับชาวบ้านก่อน จากนั้น ได้เข้ารับการฝึกอบรมหลัก สูตรต่างๆ ของกรมการพัฒนาชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นชาวบ้านก็เริ่มทำตาม จนกระทั่งได้รับงบประมาณโครงการแปลง CLM “โคก หนอง นา โมเดล” จากกรมการพัฒนาชุมชน รวมถึงเป็นครูพาทำ ฝึกอบรมให้กับผู้อำนวยการกลุ่มงานและพัฒนาการอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ด้วย
สำหรับการทำการเกษตรของนายอาชวิน นั้น แต่เดิมในพื้นที่ 30 ไร่ จะปลูกมันสำปะหลังและสวนยางพารา ซึ่งสามารถสร้างผลผลิตคิดเป็นไร่ละ 800 บาท ยังไม่หักค่าแรง แต่เมื่อหันมาปลูกไม้ผลและเกษตรผสมผสาน เช่น ฝรั่ง ข้าวโพด กล้วย โกโก้ มันญี่ปุ่น ฟักทอง มะละกอ ฯลฯ จนประสบผลสำเร็จ ทุกวันนี้มีรายได้ สามารถส่งลูกเรียนจนจบและมีงานทำเป็นที่เรียบร้อย ในอนาคตวางแผนให้แปลงแห่งนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เนื่องจากมีจุดแข็งคือติดลำห้วยฝั่งแดง และมีเครือข่ายองค์ความรู้เรื่องธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนวัสดุและครุภัณฑ์จากโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” เช่น น้ำอ้อยอัดกระป๋อง สกัดน้ำมันหอมระเหย และกำลังคิดเรื่อง แบรนด์ “พอดี พองาม” เพื่อจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าสินค้า ก่อนขยายผลเครือข่ายไปยังแปลง HLM ในพื้นที่ต่อไป
ด้าน นายสมพงษ์ คำศรี ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ กลุ่ม SAVEUBON และตัวแทนภาคีเครือข่ายแปลง CLM ในพื้นที่อำเภอน้ำยืน ได้เปิดเผยว่า “การทำการเกษตรนั้น น้ำคือหัวใจและชีวิต ซึ่งก่อนี้ได้เริ่มทำธนาคารน้ำใต้ดิน มาก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” ในการนี้ จึงขอความร่วมมือจากทางภาครัฐได้โปรดพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar Cell ให้กับแปลง “โคก หนอง นา” ได้ใช้ประโยชน์ จะถือเป็นการต่อลมหายใจให้แก่แปลงที่ทุนทรัพย์น้อย หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางภาครัฐ นอกจากนั้น ยังได้มีการเสนอให้มีพื้นที่ในการจำหน่ายและสร้างรายได้ ซึ่งนายอำเภอน้ำยืน และส่วนราชการในพื้นที่อำเภอน้ำยืน ก็ได้ขานรับและสนับสนุนการจัดตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ หรืออาหารปลอดภัย จาก “โคก หนอง นา” ทุกวันจันทร์ บริเวณที่ว่าการอำเภอน้ำยืน อีกด้วย.
Discussion about this post