
พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วย พันเอกยุทธนา สายประเสริฐ ผู้บัง คับการกรมทหารราบที่ 151 และคณะ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามความคืบหน้าการเลี้ยงไก่ไข่ ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี พ.ศ. 2565 ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 ชุมชน ได้ แก่ 1.ชุมชนบ้านยูโย ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ และ 2. ชุมชนบ้านเกาะนาหนู ต.ไพร วัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยมี ร้อยตำรวจเอก วรภพ ส่งแสง รองผู้บังคับกองร้อย หน่วยเฉพาะกิจตำรวจนราธิ วาสที่ 932 , ผู้ใหญ่บ้าน , ฝ่ายปก ครอง ร่วมให้การต้อนรับ
โดยศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้การสนับ สนุนจัดหาพันธุ์ไก่ไข่ สายพันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด พันธุ์ไก่พื้นเมือง สายพันธุ์ชัยอารีย์ พร้อมทั้งอุปกรณ์การเลี้ยงไก่ และอาหารไก่ ตามความต้อง การของพี่น้องประชาชนในชุมชนที่ได้ทำการสำรวจ จำนวน 44 ชุมชน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตามแผนเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชาย แดนภาคใต้ ประจำปี 2564 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งกำหนดชุมชนล่อแหลมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 258 ชุมชน ซึ่งกิจ กรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไทยพุทธ และพี่น้องประชาชนไทยมุสลิม เป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพสามารถสร้างงาน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม

ทั้งนี้ พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผอ. ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า ศูนย์ประ สานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระ ราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา“ และ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังมิให้เกิดการละทิ้งถิ่นฐานของประชาชน สร้างแรงจูงใจ เพื่อให้ประชาชนกลับมายังถิ่นฐานเดิม ส่งเสริมการประ กอบอาชีพของชุมชนไทยพุทธชุมชนไทยมุสลิมให้สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ เป็นการสร้างพื้นที่สันติสุขที่ยั่งยืนด้วยพลังชุมชน ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ตลอดจนได้พบปะ ได้พบปะสร้างความสัมพันธ์กับพี่น้องในชุมชน พร้อมทั้งมอบความห่วงใย และมอบถุงยังชีพ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อไป.
Discussion about this post