เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 นายเฉลิมพล กิติกาญจน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เมื่อไม่นานนี้ ทางสมาคมศิษย์เก่าสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกับผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ ด้านสถาปัตยกรรมของไทย ได้แก่ นายชนะ สัมพลัง สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถา ปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอน แก่น และนายคุณเอก ตัณฑเกษม กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน จัดงานมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “รางวัลวิโรฒ ศรีสุโร” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 ให้กับคุณตาหนูมอญ หรือนายช่างหนูมอญ ประทุมวัน อายุ 92 ปี นายช่างแกะสลักสิมวัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา โดยมี รศ.ธิติ เฮงรัศมี ประธานกรรมการตัดสินรางวัล ในครั้งนี้
นายเฉลิมพล กิติกาญจน์ กล่าวอีกว่า การมอบรางวัลวิโรฒ ศรีสุโร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ศิลปะและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ให้แก่ศิลปิน นักออกแบบ ศิลปะพื้นบ้านและสถา ปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ทรงคุณค่า ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และเพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูเกียรติแก่ รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร สถาปนิก นักวิชาการและนักออกแบบ ผู้บุกเบิกการสร้างสรรค์และการอนุรักษ์ศิลปะและสถาปัตย กรรมพื้นถิ่นในภาคอีสาน จนเป็นที่ยอมรับและได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อมาจำนวนมาก
ในส่วนชีวประวัติของ รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโรนั้นเกิดที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และมีบ้านอยู่ที่ ร้านดินดำ ตำบลด่านเกวียน ถนนราชสีมา-โชค ชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชืสีมา ด้านการศึกษา จบสถาปัตย กรรมศาสตร์บัณฑิต (อุตสาหกรรม ศิลป์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Certificate : Wood Industrial Machinery ที่ประเทศญี่ปุ่น และปี 2534 สถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์)จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำงาน ปี 2532 โอนมาสังกัดคณะสถาปัตย กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้รับตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 และปี 2544 ได้ริเริ่มก่อตั้งคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นคณบดีคนแรกของคณะ
รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ได้สร้างสรรค์ ได้ศึกษาศิลปะพื้นบ้านในภาคอีสานมาตลอดเวลากว่า 30 ปี ได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน โดนเฉพาะผลงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น สิม (อุโบสถ) ซึ่งได้ถูกรื้อถอนทำลายอย่างมากมาย จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษารวบรวมและทำวิจัย จนเกิดเป็นรูปเล่มในหนังสือชื่อ “สิมอีสาน” ซึ่งได้รางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ก่อให้เกิดงานสถาปัตยกรรมประยุกต์เพื่อรับใช้สังคมปัจจุบัน อาทิ เช่น อุโบสถ วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา, สถาบันวิจัยศิลปวัฒน ธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหา วิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการประยุกต์รูปแบบสถาปัตย กรรมอีสานให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่สำคัญได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อมาจำนวนมากอีกด้วย.
Discussion about this post